บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์ ประเทศไทยประสบปัญหาการระบาดของโรคโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) มาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการจะต้อง admit เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังมีข้อมูลจำกัดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาในการพักในโรงพยาบาลกับพลวัตรของ viral load และอุบัติการณ์การติดเชื้อหรือการเปลี่ยนสถานะเซรุ่มของผู้สัมผัสใกล้ชิดร่วมบ้าน (incidence of sero-conversion of household close contacts) หลังจากที่ผู้ป่วยโควิด-19 ได้รับการอนุญาตให้กลับบ้านแล้ว ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ได้ต่อไป โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) บรรยายลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการรักษากับการมีไวรัสที่สามารถแพร่เชื้อได้ในสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจในผู้ป่วยโควิด-19 และ 2) บรรยายอุบัติการณ์ของการตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ SARS CoV-2 ในเซรุ่ม (incidence of sero-conversion) ในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยโควิด-19 ภายหลังผู้ป่วยได้รับการปล่อยกลับบ้าน ระเบียบวิธีวิจัย ในส่วนของวัตถุประสงค์ที่ 1 ผู้วิจัยทำการศึกษาแบบ retrospective cohort study ในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์และโรงพยาบาลสนามในช่วงต้นปี 2563 และได้ทำ nasopharyngeal swab tests อย่างน้อยสองครั้ง จัดเรียบเรียงข้อมูลเรื่องลักษณะของผู้ป่วยและผลการทดสอบ rRT-PCR จากระบบข้อมูลโรงพยาบาล (hospital information system) และส่งตัวอย่างที่เป็น leftover swab samples ไปที่ห้องปฏิบัติการกลางของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อทำ viral culture โดยที่ตัวอย่างแต่ละหลอดจะมี anonymized unique ID โดยเฉพาะ จากนั้นทำการ merge ผลการทำ culture เข้ากับ data set ส่วนที่เหลือ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี descriptive statistics ร่วมกับ regression analyses. ในส่วนของวัตถุประสงค์ที่ 2 ผู้วิจัยทำการศึกษาแบบ prospective cohort study ในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านใกล้ชิดของผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการปล่อยให้กลับบ้านจากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยนักวิจัยทำการติดต่อผู้ป่วยและขอรายละเอียดติดต่อผู้สัมผัสร่วมบ้าน จากนั้นจึงเชื้อเชิญผู้สัมผัสร่วมบ้านเข้าร่วมโครงการวิจัย หลังจากผู้สัมผัสร่วมบ้าน (อาสาสมัครในโครงการวิจัย) แสดงความยินยอมแล้ว ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์โดยย่อ และเก็บตัวอย่างเลือดในวันที่ผู้ป่วยโควิด-19 ได้รับการปล่อยกลับบ้าน หรือวันหลังจากที่ผู้ป่วยกลับบ้าน (Day 0) ในวันที่ 7 หลังจากได้รับการปล่อยกลับบ้าน (Day 7) และวันที่ 28 หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการปล่อยกลับบ้าน (Day 28) จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย descriptive statistics ผลการวิจัย ในส่วนของวัตถุประสงค์ที่ 1 มีผู้ป่วยอยู่ในชุดข้อมูลของสถานพยาบาล 20 คน โดยผู้ป่วย 16 คน มีลักษณะตามเกณฑ์การคัดเข้าและมีข้อมูลเพียงพอ (n=ผู้ป่วย 16 คน) มีระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาลมัธยฐาน 28 วัน และผู้ป่วยเกินครึ่งไม่มีตัวอย่าง nasopharyngeal swab ที่มีไวรัสเป็น (positive viral culture) เลย ส่วนในกลุ่มผู้ป่วยที่มีตัวอย่าง nasopharyngeal swab ที่มีผล positive อย่างน้อยหนึ่งครั้ง มีระยะเวลา มัธยฐานจากการ admit ถึงวันที่ตัวอย่างกลายเป็นลบอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ 10 วัน ในส่วนของค่า rRT-PCR ของผู้ป่วยในช่วงการรักษา มีความแปรปรวน (fluctuations) ค่อนข้างมาก แต่ค่า rRT-PCR cycle นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และคงที่เมื่อเวลาผ่านไป 15 วัน โดยลักษณะของความเปลี่ยนแปลงของ cycle time นั้นต่างกันไป ระหว่างผู้ป่วยที่มี viable virus และไม่มี viable virus ในตัวอย่าง nasopharyngeal swab ในส่วนของวัตถุประสงค์ที่ 2 คณะผู้วิจัยทำการเชื้อเชิญผู้สัมผัสร่วมบ้านมาเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น 51 คน (n=อาสาสมัคร 51 คน) อาสาสมัครเกินครึ่งหนึ่งเป็นผู้หญิง อายุมัธยฐาน 51 ปี และส่วนมากไม่เคยมีประวัติอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 ในครัวเรือน นับตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงวันสัมภาษณ์ และไม่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 รายอื่น ขณะนี้ยังรอผลการตรวจ serological testing อยู่ แต่ผลการตรวจ RT-PCR swab ในกลุ่มอาสาสมัคร (ไม่สามารถแสดงข้อมูลในงานวิจัยนี้ได้) ชี้ว่าไม่มีหลักฐานการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านในระหว่างเข้าร่วมโครงการวิจัย อภิปรายและสรุปผล ในส่วนของวัตถุประสงค์ที่ 1 คณะผู้วิจัยพบว่า ผู้ป่วยอาจอยู่โรงพยาบาลเกินความจำเป็นในช่วงที่รับการรักษา อย่างไรก็ดี ผลการวิจัยนี้ควรได้รับการนำไปใช้อย่างมีวิจารณญาณและระมัดระวัง โดยคำนึงถึงข้อจำกัดของงานวิจัย อาทิเช่น ข้อจำกัดด้าน generalizability และการขาด statistical power ในส่วนของวัตถุประสงค์ที่ 2 การที่ตรวจ RT-PCR แล้วไม่พบหลักฐานการติดเชื้อ (ซึ่งผลดังกล่าวไม่สามารถตีพิมพ์ได้) เป็นตัวเสนอแนะว่าไม่มีการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มอาสาสมัคร ดังนั้นจึงยังไม่มีหลักฐานว่าแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่ให้อยู่โรงพยาบาลอย่างน้อย 10 วัน นั้นไม่เพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในครัวเรือน อย่างไรก็ดี ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณพิจารณาถึงข้อจำกัดของการวิจัยว่าด้วย generalizability และผลของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในช่วงที่ทำการวิจัย ประกอบการตีความผลการวิจัยดังกล่าว
บทคัดย่อ
Background and Objectives Thailand has experienced the COVID-19 pandemic since mid-January 2020. Symptomatic COVID-19 patients are admitted for hospital inpatient treatment. At present, there is limited information on the association between treatment time and dynamics of viral load, as well as incidence of sero-conversion of household close contacts of COVID-19 patients after the patients are discharged and return home. Such information may have implications for stakeholders in COVID-19 prevention and control. The objectives of this study were: 1) to describe the association between treatment period and presence of viable virus in respiratory fluids of COVID=19 patients, and; 2) to describe the incidence of sero-conversion among household contacts of discharged COVID-19 patients. Methods For Objective 1, we conducted a retrospective cohort study among COVID-19 patients at Songklanagarind Hospital and an affiliated field hospital who were admitted in early 2020 and received at least two nasopharyngeal swab tests. We extracted data regarding patient characteristics and rRT-PCR results in the hospital information system, and sent leftover swab samples to the Department of Medical Sciences' central laboratory for viral culture with anonymized unique ID designated for each sample. We then merged culture results data with the rest of the data set and performed data analyses using descriptive statistics and regression analyses. For Objective 2, we conducted a prospective cohort study among household close contacts of COVID-19 patients who were discharged from the study hospital. Investigators contacted the patients and asked for the contact details of their adult household members, then contacted the mentioned household members and invited them to participate in the study. After giving informed consent, investigators briefly interviewed the household contacts (study participants) and collected blood samples on the day of the discharge or day after the discharge (Day 0), at 7 days after discharge (Day 7), and at 28 days after discharge (Day 28). Data were analyzed using descriptive statistics. Results For objective 1, there were 20 patients in the data set, 16 of whom met the study inclusion criteria with adequate data available (n=16 patients). The median length of stay was approximately 28 days, and more than half of the patients did not have positive viral culture in any sample. Among patients with at least one sample with positive culture, while the median length of time from admission to the date when viral culture became consistently negative was 10 days. There were large fluctuations in the patients' rRT-PCR cycle time during the course of treatment, but the rRT-PCR cycle time gradually increased and became plateaued after the first 15 days. Pattern of changes in cycle time differed between patients with viable virus in swab samples and patients without viable virus in swab samples. Discussions and Conclusion For objective 1, we found indications that patients might have unnecessarily overstayed at the hospital during their treatment. However, the study findings should be used selectively and cautiously, with due considerations for the study limitations including limited generalizability and lack of statistical power. For Objective 2, the absence of evidence on infection based on RT-PCR test results (which cannot be published) suggested that there was no new COVID-19 infection among the study participants, and thus there was no evidence that the 10-days stay guidelines for treatment of COVID-19 patients had become inadequate for prevention of intra-household COVID-19 transmission. Caveats regarding the lack of generalizability and potential effect of vaccination should be considered in the interpretation of the study findings.