dc.contributor.author | บัณฑิต ศรไพศาล | th_TH |
dc.contributor.author | Bundit Sornpaisarn | th_TH |
dc.contributor.author | วรานิษฐ์ ลำใย | th_TH |
dc.contributor.author | Waranist Lamyai | th_TH |
dc.contributor.author | เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Chet Ratchadapunnathikul | th_TH |
dc.contributor.author | ชัยสิริ อังกุระวรานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chaisiri Angkurawaranon | th_TH |
dc.contributor.author | นิศาชล เดชเกรียงไกรกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Nisachol Dejkriengkraikul | th_TH |
dc.contributor.author | Rehm, Jürgen | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-03-30T06:31:52Z | |
dc.date.available | 2022-03-30T06:31:52Z | |
dc.date.issued | 2565-03 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 16,1 (ม.ค. - มี.ค. 2565) : 34-53 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5540 | |
dc.description.abstract | ภูมิหลังและเหตุผล: ประเทศไทยมีระบบกัญชาทางการแพทย์เป็นครั้งแรกที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำถามเชิงนโยบายและวิจัยที่สำคัญเพื่อการติดตามและประเมินผลนโยบายกัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทยพร้อมข้อเสนอแนะเบื้องต้น ระเบียบวิธีศึกษา: ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ครอบคลุมการทบทวนองค์ความรู้ประสบการณ์กัญชาทางการแพทย์ในต่างประเทศและในประเทศไทย การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องจำนวน 18 ราย และสนทนากลุ่มกับผู้ให้บริการและผู้รับบริการจำนวน 9 ราย และการสังเกตการณ์ที่คลินิกกัญชาทางการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษา: ลักษณะที่สำคัญสามประการของระบบกัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทย คือ (1) ระบบกัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทยมีความซับซ้อนสูง คือมีสามระบบย่อย ได้แก่ แพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย และหมอพื้นบ้าน แต่ไม่เชื่อมโยงส่งต่อกันทำให้ไม่เอื้อต่อการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย ส่งผลให้มีการใช้กัญชาทางการแพทย์นอกระบบจำนวนมาก (2) นโยบายกัญชาทางการแพทย์เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยที่คุ้นเคยกับระบบแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษ จึงต้องการระบบการสร้างความรู้และการติดตามประเมินผลอย่างมากและเร่งด่วน และ (3) การขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์และนโยบายกัญชามีลักษณะซับซ้อน เข้าได้กับ “เศรษฐศาสตร์การเมือง” (political economy) ซึ่งหมายถึงการจัดสรรผลประโยชน์มีผลกระทบต่อการตัดสินใจทางนโยบาย ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีระบบอภิบาลที่ดีเพียงพอ จึงเกิดคำถามเชิงนโยบายและวิจัยที่สำคัญที่จะต้องตอบให้ได้หกประการ คือ (1) โครงสร้างขององคาพยพการทำงานทั้งระบบและแผนงานควรเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดการตัดสินใจทางนโยบายที่จะเกิดประโยชน์สุงสุดต่อสังคมไทย (2) จะพัฒนาระบบบริการกัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทยที่มีความซับซ้อนจากสามระบบย่อยอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ (3) ควรจะลงทุนกับการสร้างความรู้ การติดตามการปฏิบัติและการประเมินผลกระทบของนโยบายกัญชาทางการแพทย์หรือไม่/เพียงใด/อย่างไร (4) จะทำให้ประชาชนมีความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ได้อย่างไร (5) ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ต่างๆ ที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยมีประสิทธิผลและความคุ้มค่าหรือไม่/เพียงใด และ (6) ในอนาคตประเทศไทยควรมีนโยบายการใช้ประโยชน์จากกัญชาอย่างไร วิจารณ์และข้อยุติ: โดยสรุประบบกัญชาทางการแพทย์เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยที่คุ้นเคยกับระบบแพทย์แผนปัจจุบัน มีความซับซ้อนสูงในบริบทสังคมไทย แนวโน้มมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องจำนวนมาก รัฐและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันจัดและปฏิบัติระบบบริการกัญชาทางการแพทย์อย่างสร้างสรรค์ โดยเอาประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง และกำหนดนโยบายอย่างรอบคอบ พร้อมกับการคำนึงถึงผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | กัญชา | th_TH |
dc.subject | Cannabis | th_TH |
dc.subject | Marijuana | th_TH |
dc.subject | กัญชาทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | กัญชาทางการแพทย์--การใช้รักษา | th_TH |
dc.subject | Cannabis--Therapeutic Use | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.title | ประเด็นเชิงนโยบาย การวิจัยที่สำคัญเร่งด่วนและข้อเสนอแนะเบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Essential and Urgent Policy and Research and Initial Policy Recommendations regarding the Medical Cannabis Policy in Thailand | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Background and rationale: The Thai medical cannabis (or medical marijuana: MMJ) system was first established in February of 2019. This study aimed to identify the most essential and urgent policy and research and initial policy recommendations regarding the implementation and impacts of the MMJ policy in Thailand. Methodology: A narrative literature review and other qualitative methods; 18 in-depth interviews with key stakeholders, focus group discussions of nine service providers and patients, and a participant observation in the MMJ clinic at the Ministry of Public Health. Results: Our crucial findings showed that: (a) the Thai MMJ system is complex, consisting of three subsystems: modern medicine, Thai traditional medicine, and folk medicine. These subsystems are not harmonized, and have resulted in poor access to legal MMJ products. (b) MMJ is a new entity in Thailand, and a comprehensive monitoring and evaluation system is needed. (c) the MMJ movement in Thailand has “political economy” attribute, meaning that the policies may be driven by benefits beyond a medical rationale. These findings lead to six research questions. (1) What do the governance structure and plans regarding MMJ policy in Thailand look like? (2) How do we improve the complex MMJ system to best serve patients? (3) How much and how to invest in a knowledge-generation system, and a monitoring and evaluation system regarding the MMJ policy? (4) How do we build MMJ consumers’ health literacy? (5) What are the efficacy levels and cost-effectiveness of the Thai medical cannabis products? And (6) What should be the future MMJ policy in Thailand? Conclusion: The newly established and complicated Thai medical cannabis system is novel for Thai society. This system has potentials to produce both positive and negative consequences, with potentially enormous underlying economic benefits. Therefore, the government and all relevant sectors must collaboratively manage the medical cannabis system in a transparent, creative, and considerate way, to provide the best benefits for patients and the whole of Thai society, in both the short- and long-term. | th_TH |
dc.subject.keyword | Medical Cannabis | th_TH |
.custom.citation | บัณฑิต ศรไพศาล, Bundit Sornpaisarn, วรานิษฐ์ ลำใย, Waranist Lamyai, เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล, Chet Ratchadapunnathikul, ชัยสิริ อังกุระวรานนท์, Chaisiri Angkurawaranon, นิศาชล เดชเกรียงไกรกุล, Nisachol Dejkriengkraikul and Rehm, Jürgen. "ประเด็นเชิงนโยบาย การวิจัยที่สำคัญเร่งด่วนและข้อเสนอแนะเบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายกัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5540">http://hdl.handle.net/11228/5540</a>. | |
.custom.total_download | 2850 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 55 | |
.custom.downloaded_this_year | 928 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 121 | |