บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยาย (Descriptive qualitative research design) โดยใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้ CIPP Model เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประเมินโครงสร้างของระบบการจัดการ Acute Respiratory Infection (ARI) Clinics 2) ประเมินกระบวนการจัด Acute Respiratory Infection (ARI) Clinics 3) ประเมินผลลัพธ์การจัด Acute Respiratory Infection (ARI) Clinics และ 4) การสังเคราะห์องค์ความรู้ในการตรวจคัดกรองและรักษา COVID-19 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการ Acute Respiratory Infection (ARI) Clinics เก็บข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้คำถามกึ่งโครงสร้างและวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรทางการแพทย์ ผู้บริหารทางการพยาบาล ผู้ให้บริการที่ ARI Clinics รวมถึงผู้มารับบริการที่ ARI Clinics เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม 4 ฉบับ ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความวิตกกังวล แบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเองของผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาไวรัส-2019 และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย/ผู้รับบริการต่อบริการที่ได้รับจากคลินิกทางเดินหายใจ (ARI Clinics) แบบสอบถามทั้ง 2 ฉบับหลังนี้ได้รับการสร้างจากการทบทวนวรรณกรรมจากผู้วิจัยและคณะ ได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าความตรงของเนื้อหา (Content validity index) เท่ากับ 1 และ .93 ตามลำดับ และได้รับการทดสอบความเที่ยงจากผู้รับบริการในคลินิกทางเดินหายใจที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย ได้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค แอลฟา เท่ากับ .78 และ .84 ตามลำดับ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณในผู้รับบริการที่มารับบริการในคลินิกทางเดินหายใจ ช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2564 จำนวน 350 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย ผลการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า การประเมินผลการจัด ARI Clinics เพื่อการดำเนินงานตรวจรักษาและควบคุมโรคโควิด-19 โรงพยาบาลรามาธิบดี แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านโครงสร้าง พบว่า การจัดบริการ ARI Clinics ของโรงพยาบาลรามาธิบดี มีการออกแบบการดำเนินงานที่เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบาย มีแผนควบคุมป้องกันโรคอุบัติใหม่เดิมและเตรียมความพร้อมทุกปี จากบริบทขององค์กรในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการระบาดของโควิด-19 มีการนำกลยุทธ์ที่เน้นการทำงานเป็นทีมและสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในองค์กร การดำเนินการมาเป็นฐานการพัฒนาก่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาบริการที่มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ ARI Clinics ใช้เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยเหลือประชาชน บุคลากร และสังคม ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงพยาบาลทั้งในด้านวิชาการ ทรัพยากรต่างๆ และสวัสดิการช่วยเหลือ อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง มีกระบวนการพัฒนาศักยภาพที่เพียงพอ ด้านบุคลากรมีความเข้าใจหลักการและแนวปฏิบัติการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อ มีการจัดอัตรากำลังแบบหมุนเวียนที่ให้ทุกหน่วยงานมาทำงานร่วมกันจนสามารถแก้ไขปัญหาภาวะขาดแคลนบุคลากรได้ จุดเด่นของ ARI Clinics คือ การพัฒนาระบบ IT ทั้ง Application มือถือ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Rama Care มาช่วยลดความเสี่ยง ลดงาน ลดเวลา ลดคน ลดอุปกรณ์ 2) ด้านการประเมินกระบวนการ พบว่า มีการจัดหาข้อมูลต่างๆ และนำข้อมูลที่ update มาพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานใน ARI Clinics มีการนำโครงสร้างการบริหารจัดการของโรงพยาบาลเดิมมาจัดทำแผนผังบังคับบัญชาโครงสร้างการทำงาน กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ การจัดระบบบริการ ARI Clinics มีหน่วยควบคุมโรคติดเชื้อของโรงพยาบาลเป็นผู้นำในการวางแผนจัดระบบการทำงาน ประชุมปรึกษาปัญหาในการทำงานเป็นระยะ เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบุคคลากร มีการประชุมบุคลากรฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมอุปรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน มีการ Train การตรวจ swab ให้แก่พยาบาลให้คำแนะนำการใช้โปรแกรม Rama Care แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง อบรมให้ความรู้แม่บ้านถึงวิธีการเก็บขยะเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ และมีการ Update Flow การทำงานให้เป็นระยะ โดยมีขั้นตอนการให้บริการ (คัดกรอง-ตรวจรักษา-รายงานผล-ส่งต่อการรักษา-การติดตามผู้ป่วย) ARI Clinics ทั้งที่โรงพยาบาลรามาธิบดี (เขตพญาไท) และศูนย์การแพทย์จักรีนฤบดินทร์ (เขตบางพลี) มีหลักในการจัดขั้นตอนการให้บริการที่เหมือนกัน คือ 1) One Stop Service 2) Fast track 3) One way flow และ 4) Modular swab unit ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติและมาตรฐานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 3) ด้านการประเมินผลลัพธ์ แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้าน Output พบว่า ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง กันยายน 2564 มีผู้เข้ารับบริการ จำนวน 58,395 คน เป็นผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) จำนวน 54,207 คน (ร้อยละ 92.83) ในจำนวนนี้ได้รับการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR จำนวน 53,583 คน (ร้อยละ 98.85) และผู้ป่วยได้รับการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยการได้รับข้อความการดูแลตนเองทางโทรศัพท์ และ 2) ด้าน Outcome พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับบริการจาก ARI Clinics จำนวน 350 คน อายุเฉลี่ย 35.74 ปี (SD = 14.27) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.6 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 48.6 อาการที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่ ได้แก่ ใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ที่ได้รับการยืนยันโควิด-19 ร้อยละ 48.6 มีประวัติโรคประจำตัวเป็นภูมิแพ้ ร้อยละ 11.7 ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 8 มีค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลเท่ากับ 5.20 (SD = 2.63) จากคะแนนระหว่าง 0-10 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 44.9 มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการดูแลตนเองเท่ากับ 30.35 (SD = 4.78) จากคะแนนระหว่าง 9 - 36 อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 89.4 และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อบริการที่ได้รับจาก ARI Clinics เท่ากับ 68.95 (SD = 7.49) จากคะแนนระหว่าง 34 - 75 อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 96 ผลจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า การประเมินการจัดการ ARI Clinics ของโรงพยาบาลรามาธิบดี มีทั้งจุดเด่นหลายประการในการให้บริการกับผู้รับบริการใน ARI Clinics สามารถนำไปใช้เป็นโมเดลในพัฒนาการจัด ARI Clinics เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันการติดเชื้อทั้งผู้ให้และผู้รับบริการให้บริการอย่างรวดเร็วและให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง ผู้รับบริการมีความพึงพอใจและองค์กรมีความพร้อมในการรับการระบาดโรคระบบทางเดินหายใจหรือโรคอุบัติใหม่ในรอบถัดไป
บทคัดย่อ
This study was descriptive research using both qualitative and quantitative methods. The “CIPP Model” was used as a conceptual framework. The aims of the study were 1) to evaluate the structure of ARI Clinics; 2) to evaluate the process of setting up ARI Clinics; 3) to evaluate the outcomes of ARI Clinics; 4) to synthesize knowledge of COVID-19 screening and management to improve ARI Clinics’ services. Data for the qualitative method were collected by in-depth interviewing using semi-structured questions and document analysis. This study recruited physician executive directors, nurse administrators, health care providers who worked at the ARI clinics, and clients who attended ARI clinics. Samples selected. The persons with a high risk for coronavirus infection who attended the ARI clinics were recruited in a quantitative method. Data were collected by 4 questionnaires including questionnaires for personal information, anxiety numeric rating scale, self-care competency, and satisfaction with ARI clinic service. The content validity indexes of the self-care competency questionnaire and the satisfaction for the ARI clinic service questionnaire were 1 and .93, respectively. The reliability of two instruments was tested in 30 clients who were not included in the study. The Cronbach’s coefficients were .78 and .84, respectively. The study respondents included 350 clients who attended the ARI clinics between September and November 2021. Data were collected from August to November 2021. Content analysis was used for analyzing qualitative data. Descriptive statistics were used for quantitative data. Results of the qualitative part showed that the operation of Acute Respiratory Infection (ARI) Clinics for COVID-19 screening and management at Ramathibodi hospital could be described in three aspects as follow. 1)Structure of the ARI clinics showed that the services of ARI clinics at Ramathibodi hospital had an appropriate structure corresponding with organizational context and policy in COVID-19 prevention and control. Teamwork and employee engagement were encouraging and used to develop and improve the quality and the feasibility of the services. These mechanisms were used to help people, healthcare personnel, and society. The hospital administrators have supported academic information, resources, and welfare appropriately and continuously. The developmental process was adequate. Moreover, the staff understood the principle and guidelines of infection control. Shared resources by rotating medical staff from all related units. The advantages of the ARI clinics at Ramathibodi hospital were IT development including application and software called Rama Care to reduce workload and risk. 2)Evaluation of the process showed that adequately updated information was provided to increase knowledge and skills for staff working at the ARI clinics. The original administration structure was applied for setting the master plan, workflow, roles, and responsibilities in managing the ARI clinics. Health care service systems and working processes were operated by the infectious control department. All units had regular meetings to evaluate the ARI clinic's operation and improve the working process. The medical resources preparation and staff training were performed. Rama Care was introduced to related persons. The cleaning staff was also trained in infection control. The steps of service (screening-swab-report-refer-follow up) were followed. ARI clinics at Ramathibodi hospital and Ramathibodi Chakri Naruebodindra Medical Institute have the same working process including 1) One-Stop Service 2) Fast track 3) One-way flow and 4) Modular swab unit which followed the standard guidelines from the Department of Disease Control, Ministry of Public Health. 3) Evaluation of outcomes is divided into two parts. 1) Output: It was reported that 58,395 persons attended the ARI clinics between March and September 2021, 54,207 of them were patients under investigation (PUI) for COVID-19 (92.83%), and 53,583 suspected persons were performed RT-PCR tests (98.85%). All COVID-19 cases were treated and followed by phone. 2) Outcome: The 350 respondents who attended the ARI clinics were included in the quantitative and qualitative analyses. The average age of the respondents was 35.74 years (SD 14.27). Most of them were female 74.6%, graduate study 48.6%, single 58.6%. The reasons that recipients attended the ARI clinics were because they contacted the patients confirmed with COVID-19 48.6%. The underlying diseases were allergic rhinitis and asthma 11.7%, hypertension, and diabetes mellitus 8%. About 44.9% reporting that they had anxiety at a moderate level (Mean 5.20, SD 2.63, ranging from 0-10). About 89.4% of them had a high level of self-care competency (Mean 30.35, SD 4.78, ranging from 9-36). Most of the respondents (96.0%) were satisfied with the ARI clinic service at a high level (Mean 68.95, SD 7.49, ranging from 34-75). In conclusion, the evaluation of ARI clinics at Ramathibodi hospital showed several advantages in the services of the ARI clinic clients. The results are suggested to use as the model development for setting ARI clinics. The clients would receive the best care. Both healthcare providers and receivers would be safe from the infection. The prompt and continuous services would increase clients’ satisfaction. The organization should readily prepare for respiratory infections disease or emerging diseases.