บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาแนวทางและรูปแบบความร่วมมือที่เหมาะสม ระหว่าง ภาคชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ในการบริหารจัดการและการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางและรูปแบบความร่วมมือที่เหมาะสม ระหว่างภาคชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน (People Public Private Partnership) ศึกษารูปแบบ service model ในการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน และสังเคราะห์ข้อเสนอแนวทางความร่วมมือที่เหมาะสมระหว่างชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ในการบริหารจัดการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับ และมีความโดดเด่นในด้านการดำเนินงานความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ผลการวิเคราะห์คะแนนเจตคติทางบวกของผู้มีส่วนร่วมทั้งจากภาคชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน มีระดับเจตคติทางบวกรวมเฉลี่ยในระดับค่อนข้างสูง โดยแต่ละกลุ่มระหว่างเพศ ระหว่างระดับตำแหน่งงาน ระหว่างภาคส่วนต่างๆ และระหว่างพื้นที่กลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน ไม่มีระดับเจตคติทางบวกรวมเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลการวิเคราะห์เจตคติและผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องกัน ผู้มีส่วนร่วมในโครงการความร่วมมือฯ มีเจตคติที่ดีต่อความร่วมมือต่างๆ ในพื้นที่ ผลการสังเคราะห์ข้อมูลรูปแบบความร่วมมือ ระหว่าง ภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคเอกชนในการบริหารจัดการเพื่อการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิพบว่า 1) ภาครัฐ ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และองค์กรของรัฐอื่นๆ 2) ภาคเอกชน ได้แก่ บริษัทห้างร้าน ทั้งที่มีหน่วยงานในกรุงเทพมหานครและในพื้นที่ 3) ภาคชุมชน ได้แก่ วัด โรงเรียน องค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและภาคชุมชนเป็นแบบครอบครัวที่ห่วงใยซึ่งกันและกัน ดูแลกันในทุกมิติ ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เป็นแบบหุ้นส่วน ร่วมคิด ร่วมลงทุน และร่วมดำเนินการเพื่อเป้าหมายบางอย่างร่วมกัน และความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนและภาคชุมชน มีความสัมพันธ์กันแบบเพื่อนที่คอยห่วงใยและช่วยเหลือกัน ปัจจัยหนุนเสริมในการสร้างความร่วมมือในการบริหารจัดการเพื่อการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ ได้แก่ 1) นโยบายระดับประเทศ เช่น นโยบายระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 258 ช.(5) 2) ผู้นำเข้มแข็ง 3) ชุมชนใกล้ชิด 4) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและทุนทางสังคม และการวิเคราะห์ปัจจัยขัดขวาง ได้แก่ 1) ระบบราชการ 2) การขาดต้นทุน (คน เงิน ของ องค์ความรู้) การวิเคราะห์กระบวนการในการพัฒนาความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ ภาคชุมชนและภาคเอกชนในการบริหารจัดการและการดูแลสุขภาพระดับปฐมภููมิ ได้แก่ 1) การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนร่วม 2) การสร้างความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจและความรู้สึกปลอดภัยในการทำงานระหว่างกัน 3) มีการสื่อสารข้อมูลความรู้ที่ต่อเนื่อง 4) การเสริมพลังซึ่งกันและกัน 5) การขยายเครือข่าย 6) การบริหารจัดการความร่วมมือผ่านระเบียบกฎเกณฑ์และคณะกรรมการความร่วมมือในพื้นที่กลุ่มตัวอย่าง ก่อให้เกิดผลลัพธ์ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ผลลัพธ์ทางสุขภาพและการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพในชุมชน 2) ผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้ครัวเรือนมากขึ้น จากการเข้าร่วมโครงการความร่วมมือในพื้นที่ 3) ผลลัพธ์ทางด้านสภาพแวดล้อม เช่น การสร้างความตระหนักในความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และบริหารจัดการขยะ 4) ผลลัพธ์ทางด้านการเรียนรู้และการพัฒนาองค์ความรู้โดยประชาชนได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะใหม่ๆ ในการบริหารจัดการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ข้อเสนอแนะในการพัฒนาความร่วมมือที่เหมาะสม ระหว่าง ภาคชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ในการบริหารจัดการและการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ ได้แก่ 1) การผนวกความร่วมมือฯ ระหว่างเครือข่ายในระบบสุขภาพระดับอำเภอจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ ในแง่ของการบริการจัดการกำลังคน งบประมาณ และทรัพยากรอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) ผู้มีส่วนร่วมและเจ้าหน้าที่จากภาคส่วนต่างๆ ควรได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และเจตคติทางบวกต่อความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในการบริหารจัดการและการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ
บทคัดย่อ
The study entitled “The Development of Appropriate Model of People Public Private Partnership for Managing on Primary Health Care” aimed to develop an appropriate partnership model among people, public and private sectors; examine the differing service models of primary health care administration; and synthesize information received in order to suggest guideline on appropriate partnership model among those three sectors for primary health care management. The result of this study suggested that partners engaged in the partnership model of people, public and private sectors for primary health care management included 1) public sectors including community hospitals, Tambon health promoting hospitals, local administrative organizations, and other relevant public organizations; 2) private sectors including companies and businesses based in Bangkok and local areas; and 3)community sectors including, temples, schools, and community organizations/ associations founded for specific purposes. Relationship between public and people sectors is similar to family members who are concerned about each other in any issue. Relationship between public and private sectors is like partners who seek to invest to produce something together. And relationship between people and private sectors could compare to friends who help each other. Contributing factors for the partnership model for managing primary health care management included 1) national policy related to primary healthcare such as family care team policy addressed in 2560 BE. Thai constitution, 2) strong health leadership, 3) homogeneous community, and 4) natural resource and man-made environment capitals and social capital. While hindering factors are 1) red-tape system, and 2) lack of human resource, budget, other resources for working, and knowledge. Processes of developing partnership among public and private sectors for primary health care management includes 1) developing relationship among partners, 2) building trust and safety to work together, 3) having continuing communication, 4) Empowerment each other, 5) strengthern and expand network, and 6) working together under their rules and committees. This partnership model could contribute to four dominant outcomes including 1) health outcome such as better access to health services at local level, 2) economic outcome when people could generate household incomes through various projects under this partnership, 3) environmental outcome such as raiseing awareness of natural resource conservation and the management of waste in community, and 4) learning and knowledge outcome when people learn new knowledge and skills to promote primary health care management. The following are the two broad policy recommendations that could support application of the partnership model among people, public and private sectors for primary health care management: 1) integration of the partnership model in District Health System (DHS) that could benefit primary health care in term of human resource, budget and other resources efficiently; 2) all related related stakeholders and their staff should acquire knowledge, skills and positive attitude toward partnership model among three sectors for primary health care management.