แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคเบาหวานภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ไวรัสโควิด–19 ของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในเขตภาคใต้

dc.contributor.authorรัถยานภิศ รัชตะวรรณth_TH
dc.contributor.authorRatthayanaphit Ratchathawanth_TH
dc.contributor.authorเบญจวรรณ ถนอมชยธวัชth_TH
dc.contributor.authorBenjawan Thanormchayatawatth_TH
dc.contributor.authorบุญประจักษ์ จันทร์วินth_TH
dc.contributor.authorBoonprajuk Junwinth_TH
dc.contributor.authorวัลลภา ดิษสระth_TH
dc.contributor.authorWanlapa Dissarath_TH
dc.contributor.authorนรานุช ขะระเขื่อนth_TH
dc.contributor.authorNaranuch Karakhueanth_TH
dc.contributor.authorวรรณรัตน์ จงเขตกิจth_TH
dc.contributor.authorWannarat Jongkhetkitth_TH
dc.contributor.authorสมฤดี อรุณจิตรth_TH
dc.contributor.authorSomrudee Arunjitth_TH
dc.contributor.authorปิยะพร พรหมแก้วth_TH
dc.contributor.authorPiyaporn Promkaewth_TH
dc.contributor.authorดาลิมา สำแดงสารth_TH
dc.contributor.authorDalima Samdaengsarnth_TH
dc.contributor.authorวรนิภา กรุงแก้วth_TH
dc.contributor.authorWaranipa Krungkaewth_TH
dc.contributor.authorศิริวรรณ ชูกำเนิดth_TH
dc.contributor.authorSiriwan Chukumnirdth_TH
dc.contributor.authorรุ่งนภา จันทราth_TH
dc.contributor.authorRungnapa Chantrath_TH
dc.contributor.authorบุบผา รักษานามth_TH
dc.contributor.authorBuppha Raksanamth_TH
dc.contributor.authorจิราภรณ์ ชูวงศ์th_TH
dc.contributor.authorJiraporn Choowongth_TH
dc.contributor.authorจงกรม ทองจันทร์th_TH
dc.contributor.authorJongkrom Thongjanth_TH
dc.date.accessioned2022-05-06T09:51:47Z
dc.date.available2022-05-06T09:51:47Z
dc.date.issued2565
dc.identifier.otherhs2804
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5585
dc.description.abstractสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อระบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานในมิติสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคตลอดจนการดูแลต่อเนื่อง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์และผลลัพธ์ของระบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ได้รับการปรับเพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 (2) พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานหลังการระบาดของ COVID-19 ของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและประเมินผล และ (3) สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายของระบบการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานเพื่อรองรับสถานการณ์ที่มีการระบาดหรือหลังการระบาดของ COVID-19 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานโดยมุ่งเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเชิงวิพากษ์ และเปรียบเทียบผลของระบบการดูแลสุขภาพก่อนการวิจัย ระหว่างการวิจัย และหลังสิ้นสุดการวิจัย พื้นที่วิจัยเลือกจากจังหวัดในเขตบริการสุขภาพภาคใต้ เขตสุขภาพที่ 11 และ 12 เขตสุขภาพละ 1 จังหวัด ผลการวิจัยพบว่า ในสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 หน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิปรับช่องทางการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ดังนี้ (1) การขยายเวลานัดผู้สูงอายุโรคเบาหวานให้ห่างกว่าเดิม ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด (2) การดูแลโรคเรื้อรังระดับชุมชนเน้นการจัดการตนเอง และ (3) การส่งยาให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานตามแผนการรักษาเดิมที่บ้าน การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคเบาหวานหลังสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เป็นการปรับ 4 องค์ประกอบที่สำคัญตามแนวคิดการดูแลโรคเรื้อรัง (Chronic care model) ได้แก่ 1) ทรัพยากรชุมชน 2) ด้านกระบวนการ เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยตามระดับความรุนแรงของโรค 3) ด้านองค์ความรู้/ทักษะ และ 4) ด้านเครื่องมือโดยดำเนินการผ่าน 3 ระบบที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ (1) ระบบการเยี่ยมบ้านวิถีใหม่ (Assess, Analyze, Implement, Improve) ร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่น “ไทยชนะเบาหวาน” (2) ระบบการจัดการข้อมูลและสารสนเทศทางสุขภาพเพื่อการตัดสินใจ และ (3) ผลลัพธ์และการจัดการผลลัพธ์การประเมินผลลัพธ์ของระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคเบาหวาน พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยน้ำตาลปลายนิ้วของผู้สูงอายุโรคเบาหวานหลังการใช้ระบบลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value < 0.001 เมื่อเทียบกับก่อนใช้ระบบ 2) ค่าน้ำตาลสะสมของผู้สูงอายุโรคเบาหวานภายหลังการใช้ระบบการดูแลลดลงต่ำกว่าก่อนพัฒนาระบบการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.001 และ 3) คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุโรคเบาหวานส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอเชิงนโยบายจากผลการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) การจัดการระดับต้นน้ำ หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขในพื้นที่ร่วมพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการจัดการโรคเบาหวาน มุ่งเน้นการวิเคราะห์ระดับความรุนแรงทางคลินิก และการตัดสินใจในการให้บริการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและการป้องกันโรค COVID-19 ของผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยใช้ตัวแบบ 2AI การเยี่ยมบ้านวิถีใหม่ 2) การจัดการระดับกลางน้ำ หน่วยงานระดับนโยบายในจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรดำเนินการสนับสนุนให้มีบุคลากรที่มีความสามารถในการดูแลระบบข้อมูลสารสนเทศทางสุขภาพที่ครอบคลุมสมรรถนะทั้งด้าน Software และ Peopleware และการเข้าถึง WIFI ในขณะเยี่ยมบ้าน 3) การจัดการระดับปลายน้ำ หน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ควรติดตาม ประเมินผลผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้สูงอายุโรคเบาหวานครอบคลุมด้านความรุนแรงของอาการทางคลินิก คุณภาพชีวิต และวางแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectElderlyth_TH
dc.subjectเบาหวานth_TH
dc.subjectDiabetesth_TH
dc.subjectDiabetes Mellitusth_TH
dc.subjectผู้ป่วยเบาหวานth_TH
dc.subjectDiabetes Patientsth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคเบาหวานภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ไวรัสโควิด–19 ของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในเขตภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeHealth Care System to Support the Elderly with Diabetes after the Outbreak of Emerging Infectious Disease in Post COVID-19 Situation of Primary Health Care Services in Southern Regionth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe COVID-19 pandemic has a serious effect on community-based care for the elderly with diabetes in terms of the health promotion campaign, and continuity of Care. This study aimed to 1) study the situation and outcomes of modified diabetic care in the elderly (DCiE) during the COVID-19 pandemic, 2) develop and evaluate the DCiE system after the COVID-19 pandemic for primary healthcare centers (PMCs) by including the stakeholders involved in the development process, and 3) analyze proposed policy for the DCiE system during and after the COVID-19 pandemic. The mixed method methodology which consisted of the critical participatory action research and the survey research were utilized to conduct the study in order to compare the effects of the DCiE system during the pre-design, design, and post-design phases. One province of each of the 11th and 12th health regions was selected to participate in the study. The findings showed that the selected PMCs adjusted healthcare services during this pandemic situation as followings: 1) the extended follow-up appointment for elderly with diabetes based on their ability to control glucose levels, 2) the community-based chronic care focused on self-care management, and 3) the establishment of home delivery of medication based on their previous regimens. The DCiE system after the COVID-19 pandemic for PMCs integrated four significant components of the chronic care model as the followings: 1) The community resource 2) The process screening system 3) the knowledge and skills 4) the tool for two-ways health communication. The DCiE system was implemented throughout three interrelated subsystems which were 1) the new normal home healthcare system (Assess, Analyze, Implement, Improve) with the Thaichana-DM application, 2) the health information system for decision making, and 3) the integration of outcomes and outcome management. The effects of the DCiE revealed that 1) the mean capillary blood glucose at the postintervention significantly reduced, compared to the mean baseline (p <.001), 2) hemoglobin A1C levels at the post-intervention in the elderly with diabetes were lower than those at the pre-intervention (p < .001), and 3) the overall quality of life score among these participants was at the average level The policies were proposed 3 levels based on the significant findings of the study that consisted of 1) Upstream management, public health authorities in the area jointly developed health literacy in diabetes management focusing on clinical severity level analysis and decision-making with participatory and the prevention of COVID-19 for patients and caregivers by using a new-normal modeled home visit (2AI) 2) Midstream management, policy-level agencies in the province and local government organizations should support undertaken to have personnel with the ability to view health information systems covering both software and peopleware competency, and access to WIFI during home visits. 3) Downstream management, PMCs should monitor and assess clinical outcomes in the elderly with diabetes, covering the severity of clinical symptoms, and quality of life and continually develop plans. These proposed policies will be the supportive and driven mechanism for developing the effective DCiE system in both normal circumstances and the COVID-19 pandemic situation.th_TH
dc.identifier.callnoWT100 ร383ร 2565
dc.identifier.contactno63-161
dc.subject.keywordเขตสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordRegional Health Areath_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 11th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 11th_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 12th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 12th_TH
.custom.citationรัถยานภิศ รัชตะวรรณ, Ratthayanaphit Ratchathawan, เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, Benjawan Thanormchayatawat, บุญประจักษ์ จันทร์วิน, Boonprajuk Junwin, วัลลภา ดิษสระ, Wanlapa Dissara, นรานุช ขะระเขื่อน, Naranuch Karakhuean, วรรณรัตน์ จงเขตกิจ, Wannarat Jongkhetkit, สมฤดี อรุณจิตร, Somrudee Arunjit, ปิยะพร พรหมแก้ว, Piyaporn Promkaew, ดาลิมา สำแดงสาร, Dalima Samdaengsarn, วรนิภา กรุงแก้ว, Waranipa Krungkaew, ศิริวรรณ ชูกำเนิด, Siriwan Chukumnird, รุ่งนภา จันทรา, Rungnapa Chantra, บุบผา รักษานาม, Buppha Raksanam, จิราภรณ์ ชูวงศ์, Jiraporn Choowong, จงกรม ทองจันทร์ and Jongkrom Thongjan. "ระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคเบาหวานภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ไวรัสโควิด–19 ของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในเขตภาคใต้." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5585">http://hdl.handle.net/11228/5585</a>.
.custom.total_download235
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year32
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2804.pdf
ขนาด: 3.284Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย