แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาปัจจัยเสี่ยงช่วงตั้งครรภ์และช่วงขวบปีแรก กับการเกิดเมตาบอลิกซินโดรมและโรคหลอดเลือด เมื่ออายุ 30 ปี

dc.contributor.authorกิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษมth_TH
dc.contributor.authorKittipan Rerkasemth_TH
dc.contributor.authorปิยะมิตร ศรีธราth_TH
dc.contributor.authorPiyamitr Sritarath_TH
dc.contributor.authorอัมพิกา มังคละพฤกษ์th_TH
dc.contributor.authorAmpica Mangklabruksth_TH
dc.contributor.authorศักดา พรึงลำภูth_TH
dc.contributor.authorSakda Pruenglampooth_TH
dc.contributor.authorอมราภรณ์ ฤกษ์เกษมth_TH
dc.contributor.authorAmaraporn Rerkasemth_TH
dc.contributor.authorกรองพร องค์ประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorKrongporn Ongprasertth_TH
dc.contributor.authorสุชยา ลือวรรณth_TH
dc.contributor.authorSuchaya Luewanth_TH
dc.contributor.authorกนกวรรณ กุลประชากานต์th_TH
dc.contributor.authorKanokwan Kulprachakarnth_TH
dc.contributor.authorวสันต์ ภาคลักษณ์th_TH
dc.contributor.authorWason Parklakth_TH
dc.contributor.authorศศิณัฏฐ์ พงษ์ธรรมth_TH
dc.contributor.authorSasinat Pongtamth_TH
dc.date.accessioned2022-05-25T08:35:12Z
dc.date.available2022-05-25T08:35:12Z
dc.date.issued2565-03
dc.identifier.otherhs2805
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5592
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุตรที่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกับกลุ่มอาการเมตาบอลิกซินโดรมของบุตรที่ได้ศึกษาน้ำหนักแรกเกิดเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ทั้งนี้ยังทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วช่วงขวบปีแรก (catch-up growth) กับอุบัติการณ์เกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิกซินโดรมในตอนอายุ 30 ปี และศึกษาปัจจัยอื่นในขณะที่มารดาตั้งครรภ์ส่งผลให้บุตรเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิกซินโดรมและโรคหลอดเลือดในอนาคตตอนอายุ 30 ปี ปัจจัยตั้งครรภ์ดังกล่าว ได้แก่ ดัชนีมวลกายของมารดา น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงตั้งครรภ์ ระยะเวลาการตั้งครรภ์ และอายุมารดา วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการติดตามประชากร (cohort study) ในการติดตามการศึกษาโครงการวิจัย Chiang Mai Low Birth Weight Study (CMLBWS) ที่ทำที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2532 โดยทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายและเจาะเลือดเพื่อประเมินตามเกณฑ์ของการวินิจฉัยกลุ่มอาการเมตาบอลิกซินโดรม และได้นำข้อมูลปัจจัยเสี่ยงมาวิเคราะห์ ได้แก่ ประวัติบุตรที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าอายุครรภ์ ประวัติการเพิ่มของน้ำหนักอย่างรวดเร็วตั้งแต่น้ำหนักแรกคลอดจนถึงระยะ 1 ปี ดัชนีมวลกายของมารดา น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงตั้งครรภ์ ระยะเวลาการตั้งครรภ์ และอายุมารดา การศึกษานี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิทักษ์สิทธิ์สวัสดิภาพและป้องกันภยันตรายในการวิจัยกับมนุษย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้เข้าร่วมโครงการได้เซ็นใบยินยอมเข้าร่วมโครงการเป็นลายลักษณ์อักษร จากผลการศึกษาพบว่า สามารถติดตามมารดาได้ทั้งหมด จำนวน 370 คน และบุตรได้ทั้งหมด จำนวน 418 คน จากเดิมที่ในการศึกษานี้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีมารดามาร่วมการศึกษา จำนวน 2,184 คน การศึกษานี้ได้ติดตามผู้ป่วยทุกคนผ่านมารดา แต่ข้อมูลที่ได้เป็นส่วนน้อย เหตุผลหลักเพราะไม่สามารถติดต่อกับอาสาสมัครได้ตามที่อยู่เดิมที่ให้ไว้ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ได้เปรียบเทียบลักษณะของบุตรและมารดาที่บุตรมาติดตามในการศึกษา 30 ปีนี้กับกลุ่มที่ไม่มา พบว่ามีความแตกต่างกันไม่มากจากบุตร จำนวน 418 คน ที่มาร่วมการศึกษา เป็นเพศชาย จำนวน 200 คน และเพศหญิง จำนวน 218 คน อายุเฉลี่ย 30.75 ปี พบว่ามีความผิดปกติเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยของกลุ่มอาการเมตาบอลิกซินโดรม จำนวน 72 คน (17.22%) โดยเป็นกลุ่ม small for gestational age (SGA) จำนวน 5 คน (6.94%) และพบว่าในบุตรที่เกิดมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยมีอัตราการเป็นกลุ่มอาการเมตาบอลิกซินโดรม (19.23%) สูงกว่าบุตรที่เกิดมาน้ำหนักแรกคลอดปกติ (17.09%) แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.78) นอกจากนั้นยังพบว่าประวัติการมีน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็วหลังคลอดจนอายุ 1 ปี จำนวน 18 คน (13.04%) พบกลุ่มอาการเมตาบอลิกซินโดรม จำนวน 4 คน (22.22%) และในกลุ่มที่ไม่มีประวัติน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็วหลังคลอด จำนวน 120 คน (86.96%) พบกลุ่มอาการเมตาบอลิกซินโดรม จำนวน 19 คน (15.83%) ซึ่งไม่พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (p = 0.503) นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยอื่นในขณะตั้งครรภ์ของมารดา ได้แก่ ดัชนีมวลกาย (p = 0.010) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการพบกลุ่มอาการเมตาบอลิกซินโดรมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าค่าดัชนีมวลกายของมารดามีความสัมพันธ์ต่อการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิกซินโดรมในบุตรได้ แต่น้ำหนักแรกคลอดและน้ำหนักหลังคลอดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของบุตรไม่พบความสัมพันธ์กับการพบกลุ่มอาการเมตาบอลิกซินโดรมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPregnancyth_TH
dc.subjectการตั้งครรภ์th_TH
dc.subjectมารดาและทารกth_TH
dc.subjectทารกแรกเกิดth_TH
dc.subjectทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยth_TH
dc.subjectMetabolic Syndrometh_TH
dc.subjectเมตาบอลิกซินโดรมth_TH
dc.subjectVascular Diseasesth_TH
dc.subjectโรคหลอดเลือดth_TH
dc.subjectดัชนีมวลกายth_TH
dc.subjectBody Mass Indexth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาปัจจัยเสี่ยงช่วงตั้งครรภ์และช่วงขวบปีแรก กับการเกิดเมตาบอลิกซินโดรมและโรคหลอดเลือด เมื่ออายุ 30 ปีth_TH
dc.title.alternativeThe association between the risk factors during pregnancy and first year of life and the occurrence of metabolic syndrome and vascular disease at the age of 30 yearsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to determine the risk factors during the perinatal and the first year postnatal period that were associated with metabolic syndrome at the age of 30 of offspring. Methods: We invited offspring whose mother had participated in a study of Chiang Mai Low Birth Weight Study (CMLBWS) in 30 years follow-up. History, physical exam, and blood sampling were collected to determine whether participants have metabolic syndrome. We analyzed the association between the perinatal-postnatal risk factors and metabolic syndrome (MS). The risk factors included the history of the small for gestational age (SGA), history of rapid growth in weight during the first year of life (catch-up growth), maternal body mass index, weight gain during pregnancy, gestational age, and maternal age. The Local Research Ethics Committee approved the study and participants gave written consent. Results: Three hundred and seventy mother and 418 offspring agreed to participate in the present study. Two hundred offspring were males and 218 were females. The mean age was 30.75 years old. There were 72 offspring (17.22%) with MS and 5 offspring were SGA (6.94%). There was no statistically significant difference in the incidence of MS between offspring with SGA (19.23%) and normal birth weight (17.09%) (p = 0.780). The percentage of MS in offspring with a history of catch-up growth and without catch-up growth was 22.22% and 15.83%, respectively. However, this trend was not statistically significant difference (p = 0.503). In addition, it was also found that other factors in mothers during the pregnancy had association with occurrence of MS in offsprings. Offsprings, who their mothers had a history of high body mass index, had an association with the occurrence of MS in offsprings than those without such history. Conclusion: Maternal body mass index of mothers during pregnancy were associated with MS. There was a none statistically significant trend between catch-up growth and MS. However, no association was found between birth weight and MS.th_TH
dc.identifier.callnoWS290 ก674ก 2565
dc.identifier.contactno63-100
dc.subject.keywordดัชนีมวลกายของมารดาth_TH
dc.subject.keywordMaternal Body Mass Indexth_TH
dc.subject.keywordน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงตั้งครรภ์th_TH
dc.subject.keywordWeight Gain During Pregnancyth_TH
.custom.citationกิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม, Kittipan Rerkasem, ปิยะมิตร ศรีธรา, Piyamitr Sritara, อัมพิกา มังคละพฤกษ์, Ampica Mangklabruks, ศักดา พรึงลำภู, Sakda Pruenglampoo, อมราภรณ์ ฤกษ์เกษม, Amaraporn Rerkasem, กรองพร องค์ประเสริฐ, Krongporn Ongprasert, สุชยา ลือวรรณ, Suchaya Luewan, กนกวรรณ กุลประชากานต์, Kanokwan Kulprachakarn, วสันต์ ภาคลักษณ์, Wason Parklak, ศศิณัฏฐ์ พงษ์ธรรม and Sasinat Pongtam. "การศึกษาปัจจัยเสี่ยงช่วงตั้งครรภ์และช่วงขวบปีแรก กับการเกิดเมตาบอลิกซินโดรมและโรคหลอดเลือด เมื่ออายุ 30 ปี." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5592">http://hdl.handle.net/11228/5592</a>.
.custom.total_download20
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2805.pdf
ขนาด: 1.020Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย