dc.contributor.author | วิไล อุดมพิทยาสรรพ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Wilai Udompittayason | th_TH |
dc.contributor.author | ปรียนุช ชัยกองเกียรติ | th_TH |
dc.contributor.author | Preeyanuch Chaikongkiat | th_TH |
dc.contributor.author | ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง | th_TH |
dc.contributor.author | Doungjai Plianbumroong | th_TH |
dc.contributor.author | อัจฉรา มุสิกวัณณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Atchara Musigawan | th_TH |
dc.contributor.author | ผุสนีย์ แก้วมณีย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pootsanee Kaewmanee | th_TH |
dc.contributor.author | เขมพัทธ์ ขจรกิตติยา | th_TH |
dc.contributor.author | Khemmapat Kajonkittiya | th_TH |
dc.contributor.author | พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pichayanit Ruangroengkulrit | th_TH |
dc.contributor.author | นุศรา ดาวโรจน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Nutsara Dowrote | th_TH |
dc.contributor.author | อนุชิต คลังมั่น | th_TH |
dc.contributor.author | Anuchit Klangman | th_TH |
dc.contributor.author | คอลิด ครุนันท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Kholid Karunan | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-05-30T04:21:56Z | |
dc.date.available | 2022-05-30T04:21:56Z | |
dc.date.issued | 2565-03 | |
dc.identifier.other | hs2808 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5593 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) โดยการเก็บข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จังหวัดละ 2 อำเภอ รวม 6 อำเภอ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของเครือข่ายในระบบบริการปฐมภูมิในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 481 ราย โดยใช้แบบสอบถาม ความรู้ในการปฏิบัติตามมาตรการ บทบาทการปฏิบัติและความพึงพอใจของเครือข่ายในการปฏิบัติตามมาตรการในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 ระหว่างเดือน มกราคม-มีนาคม 2564 และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 270 ราย โดยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก ระหว่างเดือนเมษายน-ธันวาคม 2564 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อหาประเด็นสำคัญ (Thematic analysis) โดยใช้กรอบแนวคิดของไมย์และฮิวเบอร์แมน (Miles & Huberman, 1994) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง อายุระหว่าง 36-45 ปี ร้อยละ 31.2 รองลงมา อายุระหว่าง 46-55 ปี ร้อยละ 28.3 เพศหญิง ร้อยละ 56.3 ความรู้ความเข้าใจในมาตรการในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 ในภาพรวมของเครือข่าย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ค่าเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจมาตรการในการคัดกรองและเฝ้าระวังโควิด 19 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.01, SD=.53) แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความรู้ด้านการดูแลผู้ป่วยและการป้องกันการติดเชื้อ การติดตามผู้สัมผัสโรคและการควบคุมการระบาดของโรคในชุมชนและการประสานงานและการจัดการข้อมูล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.99, SD=.57, M=2.98, SD=.57, M=2.91, SD=.59) เนื่องจากโรคโควิด 19 เป็นโรคอุบัติใหม่ องค์ความรู้ต่างๆ ยังน้อยในช่วงการระบาดในช่วงแรก อย่างไรก็ตาม ด้านบทบาทในการปฏิบัติตามมาตรการในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 ในภาพรวมของเครือข่าย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับมาก (M=3.19, SD=.51 ) และความพึงพอใจต่อการปฏิบัติตามมาตรการคัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 อยู่ในระดับมาก (M=3.29, SD=.50) ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ ประเด็นหลักจากข้อค้นพบ บทบาทของเครือข่ายในระบบบริการปฐมภูมิ ในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามวัตถุประสงค์การวิจัย 6 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) บทบาทของเครือข่ายในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 2) ปัจจัยเอื้อต่อการทำงานปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของเครือข่ายในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 4) อุปสรรคของเครือข่ายในการทำงาน 5) ความต้องการของเครือข่ายในระบบบริการปฐมภูมิ 6) ผลลัพธ์การดำเนินงาน บทบาทการทำงานของเครือข่าย ประกอบด้วย 5 เสาหลัก ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมตัวกันเป็นเครือข่ายในระบบบริการปฐมภูมิในชุมชน ที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงานเชิงรับและเชิงรุกร่วมกันในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคโควิด 19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการทำงานเชื่อมประสานสอดรับกันเป็นหนึ่งเดียว ทั้งในบทบาทการทำงานร่วมกัน บทบาทตามหน้าที่หลักของแต่ละภาคส่วนและบทบาทอาสาสมัครและจิตอาสาในพื้นที่ ในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 ภายใต้บริบทวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพื้นที่โดยมีผู้นำศาสนาเป็นผู้ชี้นำชุมชนในการปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ตามหลักศาสนาอิสลาม ด้วยความเสียสละทุ่มเทด้วยหัวใจและจิตวิญญาณ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Communities | th_TH |
dc.subject | ชุมชน | th_TH |
dc.subject | ชุมชน--การร่วมมือ | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | Primary Health Care | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | บทบาทของเครือข่ายในระบบบริการปฐมภูมิในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Roles of Networking in Primary Care System, for Screening and Monitoring of COVID-19 among at-Risk Groups in Southern Border Provinces, Thailand | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study is a mixed method research, collecting quantitative and qualitative data in 2 districts of Yala, Pattani and Narathiwat province, in totally 6 districts. The study aimed to determine the roles of networking in primary care systems for screening and monitoring for covid-19 risk groups. Four hundred eighty-one people were collected the quantitative data using questionnaire about knowledge of practices guideline, roles of practice and the stratification of networks on screening and preventing the risk groups of covid-19. The data collection was arranged on January – March 2021. The qualitative data were collected in 270 people, using focus group and indebted interviews, running on April – December 2021. Quantitative data were analyzed using frequency and percentage, while qualitative data were used thematic analysis by Miles & Huberman (1994) conceptual framework. The quantitative results showed that most participants were middle aged with age between 36 and 45 years old, 31.2 percent. Following by, old aged was 28.3 percent. More than a half were female, 56.3 percent. The overall knowledge on screening and monitoring on covid-19 pandemic in risk group was in the high level (M=3.01, SD=.53). However each aspect of knowledge such as patient care and infection control, Monitoring of people exposed to COVID-19 and community control of COVID- 19 pandemic, and coordination and data management were rated as moderate (M=2.99, SD=.57, M=2.98, SD=.57, M=2.91, SD=.59). The scarification of roles and work on screening and monitoring on covid-19 in risk group was found a high level (M=3.29, SD=.50). The overall in roles performance for screening and monitoring of COVID-19 at risk groups was rated the high (M=3.19, SD=.51). Qualitative findings were presented in six themes: 1) role of networks in COVID-19 screening and monitoring, 2) facilitators of role performance, 3) factors influencing the spreading of COVID-19, 4) barriers for networking, 5) needs for better performance, and 6) outcomes of networking. The networks consisted of five principal organizations: health professionals, volunteers including village health volunteers, community leaders, religion leaders, and local governments. These groups of people unified their efforts in responding to the government policies and proactively implementing COVID-19 screening and control measures in these three southern provinces. These organizations created their new and voluntary role and combined these roles into their principal functions to respond to health needs of families and communities taking into account the unique cultural and religious contexts as well as ways of life. Dedicated religion leaders provided guidance on how health measures could be observed in accordance with Islamic principles. | th_TH |
dc.identifier.callno | WC503 ว724บ 2565 | |
dc.identifier.contactno | 64-005 | |
.custom.citation | วิไล อุดมพิทยาสรรพ์, Wilai Udompittayason, ปรียนุช ชัยกองเกียรติ, Preeyanuch Chaikongkiat, ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง, Doungjai Plianbumroong, อัจฉรา มุสิกวัณณ์, Atchara Musigawan, ผุสนีย์ แก้วมณีย์, Pootsanee Kaewmanee, เขมพัทธ์ ขจรกิตติยา, Khemmapat Kajonkittiya, พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์, Pichayanit Ruangroengkulrit, นุศรา ดาวโรจน์, Nutsara Dowrote, อนุชิต คลังมั่น, Anuchit Klangman, คอลิด ครุนันท์ and Kholid Karunan. "บทบาทของเครือข่ายในระบบบริการปฐมภูมิในการคัดกรองและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโควิด 19 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเทศไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5593">http://hdl.handle.net/11228/5593</a>. | |
.custom.total_download | 143 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 7 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |