Show simple item record

Policy Options and Guidelines to Reform and Strengthen the Roles of Village Health Volunteers and Bangkok Health Volunteers towards the Achievement of Sustainable Development Goals (SDGs)

dc.contributor.authorภูดิท เตชาติวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorPhudit Tejativaddhanath_TH
dc.contributor.authorธันวดี สุขสาโรจน์th_TH
dc.contributor.authorThunwadee Suksarojth_TH
dc.contributor.authorชีระวิทย์ รัตนพันธ์th_TH
dc.contributor.authorCheerawit Rattanapanth_TH
dc.contributor.authorอรพินท์ เล่าซี้th_TH
dc.contributor.authorOrapin Laoseeth_TH
dc.contributor.authorวิชช์ เกษมทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorVijj Kasemsupth_TH
dc.contributor.authorอรุณศรี มงคลชาติth_TH
dc.contributor.authorAroonsri Mongkolchatith_TH
dc.contributor.authorสมศักดิ์ วงศาวาสth_TH
dc.contributor.authorSomsak Wongsawassth_TH
dc.contributor.authorภานุวัฒน์ ปานเกตุth_TH
dc.contributor.authorPanuwat Panketth_TH
dc.contributor.authorชวินทร์ ศิรินาคth_TH
dc.contributor.authorChawin Sirinakth_TH
dc.contributor.authorชาติชาย สุวรรณนิตย์th_TH
dc.contributor.authorChatchay Suvannitth_TH
dc.contributor.authorสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญth_TH
dc.contributor.authorSomboon Sirisunhirunth_TH
dc.contributor.authorศักดา อาจองค์ วัลลิภากรth_TH
dc.contributor.authorSakda Arj-Ong Vallibhakarath_TH
dc.date.accessioned2022-06-10T03:35:15Z
dc.date.available2022-06-10T03:35:15Z
dc.date.issued2565-04-28
dc.identifier.isbn9786164436886
dc.identifier.otherhs2811
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5598
dc.description.abstractการวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)/อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) กำหนดทางเลือกของแนวทางเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของอสม. เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเพื่อใช้ประกอบเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาทางเลือกแต่ละทางเลือก 3) ประเมินทางเลือกของแนวทางสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของอสม. เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และ 4) พัฒนาแนวทางเบื้องต้นให้แก่องค์กรในการบริหารและสนับสนุนการปฏิรูปอสม./อสส. เพื่อพิจารณานำไปดำเนินการ เก็บข้อมูลโดยการทบทวนเอกสารร่วมกับการศึกษาจากกรณีศึกษา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการค้นภาพอนาคต โดยมีการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม เน้นความคิดเห็นและการตัดสินใจร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของอสม./อสส. ทำการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย อสม./อสส. ผู้นำชุมชน ผู้สนับสนุนการปฏิบัติงานของอสม./อสส. และผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับอสม./อสส. ในระบบสุขภาพชุมชน ครอบคลุมตัวอย่างจากพื้นที่ของเขตบริการของศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา จันทบุรี กาญจนบุรี เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด ปัตตานี สุราษฎร์ธานี และเขตบริการสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร จำนวน 800 คน โดยครอบคลุมผู้ให้ข้อมูลในระดับนโยบาย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ ผู้บริหารท้องถิ่นและประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสังเคราะห์ข้อสรุปในประเด็นสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า อสม./อสส. ได้แสดงบทบาทในปัจจุบันสอดคล้องกับบทบาทตามองค์ประกอบของการสาธารณสุขมูลฐานตามปฏิญญาอัสตานา 2018 คือ 1. บทบาทการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิที่บูรณาการกับงานด้านสาธารณสุขที่จำเป็น 2. การเสริมพลังอำนาจของภาคส่วนต่างๆ ในการขับเคลื่อนนโยบายและกิจกรรมเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดี และ 3. การเสริมพลังอำนาจให้แก่ประชาชนและชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยพบว่า อสม./อสส. ในปัจจุบันมีบทบาทที่มุ่งเน้นการเป็นผู้ร่วมให้บริการสุขภาพปฐมภูมิและงานด้านสาธารณสุข ทั้งนี้มาจากปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ ได้แก่ นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและความต้องการความยอมรับจากชุมชนในการทำงานของอสม./ อสส. แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตบทบาทดังกล่าวของอสม./อสส. ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโดยมุ่งให้ความสำคัญกับบทบาทการเป็นผู้ขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพในชุมชน และผู้สนับสนุนให้เกิดการดูแลตนเองและการเป็นนักบริบาล เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องแสดงบทบาทของผู้นำในการจัดการปัญหาสุขภาพของประชาชนร่วมกับทีมหมอครอบครัว เครือข่ายสุขภาพและประชาชนในพื้นที่ เพื่อรองรับปัญหาท้าทายที่สำคัญ ได้แก่ การเข้าสู่สังคมสูงอายุ ทั้งนี้พบปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการแสดงบทบาทในปัจจุบันของอสม./อสส. ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่เพียงพอ อายุเฉลี่ยที่สูงของอสม./อสส. ซึ่งมีผลกระทบต่อจำนวนและศักยภาพของอสม./อสส. ในการปฏิบัติงานและความไม่สามารถเข้าถึงการพัฒนาสมรรถนะอย่างครอบคลุม ส่วนปัญหาของอสส. ในบริบทเมือง คือ ความไม่สามารถเข้าถึงและเป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการในชุมชนที่เป็นเมือง ผลการสังเคราะห์ทางเลือกของแนวทางเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของอสม. เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนพบ 4 รูปแบบที่สำคัญ ได้แก่ 1. แนวทางในปัจจุบันตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 2. แนวทางเดิมแต่เพิ่มอำนาจและศักยภาพของชมรมอสม./อสส. 3. ปรับเปลี่ยนไปทำงานภายใต้การจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ 4. ปรับเปลี่ยนไปทำงานภายใต้การจัดการของสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ในการสนับสนุนการทำงานของอสม./อสส. เป็นของตนเอง ผลการประเมินทางเลือก พบว่า รูปแบบปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองต่อปัญหาท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรูปแบบในอุดมคติคือ การปรับเปลี่ยนไปทำงานภายใต้การจัดการของสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้อสม./อสส. สามารถจัดการตนเองได้ แต่อย่างไรก็ตามยังขาดกฎหมายในการรองรับการดำเนินงาน งานวิจัยนี้สรุปว่าการดำเนินงานตามแนวทางปัจจุบันโดยมีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดศักยภาพของชมรมอสม. แห่งประเทศไทยและชมรมอสม./อสส. ในระดับพื้นที่ในการบริหารจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่จะนำไปสู่การบริหารตนเองของอสม./อสส. ในอนาคต งานวิจัยนี้เสนอเกณฑ์ในการพิจารณาทางเลือก 7 ประเด็น ได้แก่ 1. นโยบายรัฐบาล 2. นโยบายของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 3. การมีงบประมาณที่เพียงพอ 4. ศักยภาพของอสม./อสส. 5. ประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการของอสม./อสส. 6. ความเข้มแข็งของชมรมอสม. และ 7. การยอมรับของประชาชน การวิจัยนี้เสนอแนวทางเบื้องต้นสำหรับการพัฒนาเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของอสม. เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ 1) ชมรมอสม./อสส. เร่งประเมินตนเองและจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนอสม./อสส. เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการกำลังคนของอสม./อสส. 2) ชมรมอสม./อสส. ในพื้นที่จัดระบบการทำงานสร้างเครือข่ายการทำงานของอสม./อสส. ในพื้นที่ที่เข้มแข็ง 3) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขและสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ควรดำเนินการดังนี้ 3.1) สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพให้แก่ อสม./อสส. โดยใช้กลไกชมรมอสม./อสม. ในพื้นที่ โดยจัดทำแผนการพัฒนาที่ระบุระยะเวลาในการครอบคลุม 3.2) จัดระบบและพัฒนาพี่เลี้ยงให้แก่ อสม./อสส. ในพื้นที่โดยทำงานในลักษณะเครือข่าย และ 3.3) ทำการประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้แก่สาธารณะรับทราบบทบาทของอสม./อสส. เพื่อสร้างแรงจูงใจและพัฒนาบทบาทของอสม./อสส. และ 4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ รวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สนับสนุนงบประมาณและการพัฒนาศักยภาพให้แก่ อสม./อสส. เพื่อให้สามารถร่วมทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectอาสาสมัครสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Volunteersth_TH
dc.subjectอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านth_TH
dc.subjectVillage Health Volunteersth_TH
dc.subjectการสาธารณสุขมูลฐานth_TH
dc.subjectPrimary Health Careth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการสังเคราะห์ทางเลือกและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนth_TH
dc.title.alternativePolicy Options and Guidelines to Reform and Strengthen the Roles of Village Health Volunteers and Bangkok Health Volunteers towards the Achievement of Sustainable Development Goals (SDGs)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis qualitative study aims to develop the policy recommendation in order to support reform of roles of village health volunteers and Bangkok health volunteers for sustainable development goal. Specific objectives are defined as follows: a) to determine the alternative choices of roles reform, b) analyze and synthesize the policy recommendations about these criteria or guidelines, c) assess potential choices to support this roles reform in order to achieve the sustainable goals, and d) to propose development strategies for administrative authorities in supporting this reform process and implementation. Documentation reviews, case studies investigation, participatory action research and future search are deployed, in-depth interviewing and focus group discussion of all stakeholders and health volunteers were purposively recruited and actively participating in the data collection process. Their ideas or opinions are shared and coded into themes. Participants are village health volunteers and Bangkok health volunteers, community leaders, local authorities who support health volunteer work as well as others stakeholder in community health care system. A total of 800 participants were selected from 7 provinces; Nakhon Ratchasima, Chanthaburi, Kanchanaburi, Chiangmai, Roi-et, Pattani, Surathani and Bangkok Metropolitan Administration. The findings illustrated that present role of village/ community health volunteers align and reaffirm with Astana declaration 2018. Responsibilities are defined as follows; a) providing the service and integrate to essential primary health care, b) empowering of various sectors in driving policies and activities for good health, and c) empowering people and communities to take care of their own health. In presence, roles of being primary health care providers and public health work are predominated than other two roles which are influenced by policy from ministry of public health and need for community acceptance of village health volunteers themselves. However, the future roles could be shifted or up-skilled as community health care managers who can support and promote self-care in their community and perform as caregivers. In order to create behavioral change and improve quality of life as a whole by means of community participation and work collaboratively with local administrative authority. Acting as a leader in community health care teams, working together with family doctors and healthcare networks. Nevertheless, barriers and challenges that volunteers facing are listed as follows; lack of supportive medical devices, age of volunteers, accessibility to training courses for their competency development. In urban setting like Bangkok, district health volunteers have troubles in reaching their people due to acceptance. An important challenge is Thailand become an aging society, which creates a high demand for services such as long-term care from village health volunteer, and this factor is driving the change roles, operations and management. The results of the synthesis of alternative approaches to support the role of village health volunteers and Bangkok health volunteers in order to achieve sustainable development goals offer four approaches; 1) using same approach as Ministry of Public Health implementing (no change), 2) no change but add up or enhancing village health volunteers and Bangkok health volunteers’ power and competencies, 3) relocate village health volunteers and Bangkok health volunteers to work under local administration organizations, and 4) relocate to work under the management of the Prime Minister's Office with the Act to support the work of the village health volunteers and Bangkok health volunteers. The results of the alternative assessment revealed that the current model does not respond effectively to challenging problems. The ideal model is to change to work under the management of the Prime Minister's Office so that village health volunteers and Bangkok health volunteers can manage themselves. However, there is still a lack of law to support the operation. This research concludes that the implementation of the current guidelines with improvements to enhance the potential of the village health volunteers and Bangkok health volunteers Club of Thailand and village health volunteers and Bangkok health volunteers Club/VHV club at the local level for effective self-management could be an appropriate approach that will lead to self-management of village health volunteers and Bangkok health volunteers in the future. This research presents criteria for considering 7 alternative issues, namely; 1) government policy, 2) policy of the Department of Health Service Support, 3) having sufficient budget, 4) the competency of the village health volunteers and Bangkok health volunteers; 5) efficiency of the health care management of VHVs, 6) strengthening of the village health volunteers and Bangkok health volunteers club, and 7) promoting public acceptance. This research offers a preliminary approach to development to support reform of the role of health volunteers towards achieving sustainable development goals, consisted of; 1) accelerate self-assessment report and set up effective database of village health volunteer registration system, 2) strengthening village health volunteer clubs in all level coordinate as networking, 3) Supporting authorities such as department of health service support, ministry of public health and health department of Bangkok Metropolitan Administration should implement these operational strategies as follows: 3.1) support human capacity building for village health volunteers and Bangkok health volunteers by development plan with timeframe and coverage, 3.2) establish mentoring system for village health volunteers and Bangkok health volunteers via creating networking system, and 3.3) proactive public relations acknowledging health volunteers’ services in order to motivate and improve the roles’ of health volunteers, and lastly 4) local government administrations including provincial administration organization contribute budgets and support capacity building in order to improve their competencies and work more effectively to achieve the better quality of life of people in their communities.th_TH
dc.identifier.callnoW84.6 ภ653ก 2565
dc.identifier.contactno63-149
dc.subject.keywordอสม.th_TH
dc.subject.keywordอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครth_TH
dc.subject.keywordอสส.th_TH
dc.subject.keywordระบบสุขภาพชุมชนth_TH
dc.subject.keywordCommunity Health Systemth_TH
dc.subject.keywordเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนth_TH
dc.subject.keywordSustainable Development Goalsth_TH
dc.subject.keywordSDGsth_TH
.custom.citationภูดิท เตชาติวัฒน์, Phudit Tejativaddhana, ธันวดี สุขสาโรจน์, Thunwadee Suksaroj, ชีระวิทย์ รัตนพันธ์, Cheerawit Rattanapan, อรพินท์ เล่าซี้, Orapin Laosee, วิชช์ เกษมทรัพย์, Vijj Kasemsup, อรุณศรี มงคลชาติ, Aroonsri Mongkolchati, สมศักดิ์ วงศาวาส, Somsak Wongsawass, ภานุวัฒน์ ปานเกตุ, Panuwat Panket, ชวินทร์ ศิรินาค, Chawin Sirinak, ชาติชาย สุวรรณนิตย์, Chatchay Suvannit, สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ, Somboon Sirisunhirun, ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร and Sakda Arj-Ong Vallibhakara. "การสังเคราะห์ทางเลือกและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5598">http://hdl.handle.net/11228/5598</a>.
.custom.total_download169
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year55
.custom.downloaded_fiscal_year12

Fulltext
Icon
Name: hs2811.pdf
Size: 7.128Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record