บทคัดย่อ
วัคซีนโควิด-19 ถือเป็นมาตรการที่เป็นความหวังอันสำคัญในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอย่างยั่งยืน และส่งผลทางอ้อมให้ภาครัฐสามารถผ่อนปรนมาตรการอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ฉะนั้น กรอบแนวทางในการติดตามและประเมินผลของนโยบายการให้วัคซีนโควิด-19 จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ภาครัฐจำเป็นต้องมีการวางแผนที่ชัดเจน เพื่อให้สอดรับกับบริบทและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค จึงนำมาสู่ความสนใจในการศึกษาประเด็นท้าทาย เพื่อพัฒนากรอบการติดตามและการประเมินผลของนโยบายวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อสร้างกรอบการประเมินที่มีตัวชี้วัดมาตรฐาน อันสามารถใช้ในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีความเกี่ยวข้องกับนโยบายวัคซีนโควิด-19 ในบริบทของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อเข้าใจประเด็นท้าทายของการใช้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขและกลุ่มประเด็นท้าทายอื่นๆ 2) เพื่อรวบรวมและเรียนรู้ตัวชี้วัดในการประเมินผลสำเร็จของนโยบายการให้วัคซีนโควิด-19 จากประสบการณ์ของประเทศในกลุ่ม ASEAN ในการสนับสนุนการพัฒนากรอบการประเมินผลสำเร็จของนโยบายการให้วัคซีนโควิด-19 สำหรับประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 3) เพื่อประมาณการงบประมาณที่จำเป็นสำหรับการติดตามและประเมินผลของนโยบายการให้วัคซีนโควิด-19 สำหรับประเทศไทย และ 4) เพื่อการจัดทำกรอบและตัวชี้วัด โดยรวบรวมข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นความท้าทายและสิ่งที่คาดหวังได้จากนโยบายการให้วัคซีนโควิด-19 สำหรับประเทศไทย การศึกษานี้มีการใช้ระเบียบวิธีวิจัยหลายวิธีเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ข้างต้น โดยมีการสำรวจผ่านทางช่องทางออนไลน์ เพื่อทำความเข้าใจประเด็นด้านความลังเลในการรับวัคซีนของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข แรงงานต่างด้าวและประชาชนทั่วไป มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับความลังเลในการรับวัคซีนของแรงงานต่างด้าวนอกระบบ และมีการทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขตเกี่ยวกับกรอบการติดตามและประเมินผลของวัคซีนโรคอื่นๆ ที่มีการใช้อยู่แล้ว รวมถึงการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศไทยและในประเทศอาเซียน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับตัวชี้วัดและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินการติดตามและประเมินผล ทั้งนี้ ใช้แบบจำลองถดถอยแบบหลายตัวแปร (multivariable regression analysis) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ผลการศึกษาแสดงว่าประชากรที่ศึกษาทุกกลุ่มมีความลังเลในการรับวัคซีนอยู่บางระดับ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ความลังเลลดลงเมื่อวัคซีนมาถึงประเทศไทย แรงงานต่างด้าวมีความลังเลน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป การประชุมโต๊ะกลมในประเทศอาเซียน เน้นย้ำบทเรียนที่ได้เกี่ยวกับแนวทางการบริหารการให้วัคซีนโควิด-19 ของแต่ละประเทศ รวมทั้งแนวทางสนับสนุนการดำเนินการเพื่อบริหารการให้วัคซีนโควิด-19 และกรอบแนวทางในการประเมินความสำเร็จของนโยบายการให้วัคซีนโควิด-19 นอกจากนี้ จากผลการทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขตและการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้มีการสรุปรายการตัวชี้วัดในกรอบการติดตามและประเมินผลออกเป็น 3 องค์ประกอบ คือ ความครอบคลุมของวัคซีน การดำเนินงานและการปฏิบัติการทางคลินิกและองค์ประกอบด้านอื่นๆ การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนผู้กำหนดนโยบายในการวางแผนในช่วงหลังจากมีการฉีดวัคซีน ในเรื่องความลังเลในการรับวัคซีนและตัวชี้วัดเพื่อสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการใช้วัคซีนโควิด-19 โครงการวิจัยนี้ใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นกรณีตัวอย่าง โดยมุ่งหวังว่าผลการวิจัยอาจสนับสนุนการทำงานในโรคอื่นๆ และบริบทที่คล้ายคลึงกันได้ต่อไปในอนาคต
บทคัดย่อ
COVID-19 vaccine has been an important measure to support sustainable control of the COVID-19 pandemic situation and has influenced policy decisions to relax other measures that hinder the development of the country socially and economically. Monitoring and evaluation framework for COVID-19 vaccination policy in Thailand is therefore an important tool for policy planning and mitigation in response to the COVID-19 pandemic. This study aims to understand the challenges in order to develop monitoring and evaluation framework for COVID-19 vaccination policy in Thailand. The main objective of this study was to develop an evaluative standard indicators which can be used to monitor and evaluate different aspects of the COVID-19 vaccine policy in Thailand. The specific objectives are: 1) to understand COVID-19 vaccine hesitancy situation among healthcare workers in Thailand; 2) to collect and collate any related indicators for the successful evaluation of the COVID-19 vaccination policy from the experience of ASEAN countries; 3) to estimate the budget required for the monitoring and evaluation of the real world effectiveness of COVID-19 vaccine; and 4) to develop monitoring and evaluation indicators for COVID-19 vaccination after their arrival in Thailand. Multiple research methodologies were employed to respond to the abovementioned objectives. Online survey was conducted to understand the issue of vaccine hesitancy among healthcare workers, foreign migrant workers, and the general public population. Additional field work was carried out for foreign migrant workers about their views on COVID-19 vaccine hesitancy. Multivariable regression analyses were executed to analyze the survey data. In addition, a scoping review on the monitoring and evaluation framework of other existing vaccines was conducted to understand the landscape of monitoring and evaluation frameworks used in other countries and settings. Moreover, the stakeholder consultations in Thailand and ASEAN countries were organized to obtain lessons learned and to disseminate the findings on resources needed in preparation for vaccine’s monitoring and evaluation program. The results showed that all study populations had some degree of vaccine hesitancy, particularly among healthcare workers. However, the study discovered that the level of hesitation subsided when the COVID-19 vaccines finally arrived in Thailand. Furthermore, foreign migrant workers were the least reluctant group compared to the healthcare workers and the general public. Significantly, the roundtable meetings among representatives of ASEAN countries emphasized the lessons learned on COVID-19 vaccination administration guidelines of each country including COVID-19 vaccine management guideline and vaccination assessment. In addition, the results of scoping review and stakeholder consultations suggested that the indicators for monitoring and evaluation framework can be summarized into three pillars: 1) vaccine coverage indicators; 2) clinical and operational indicators; and 3) operational indicators and others. Overall, the aim of this research was to provide evidence to support policy makers in planning for the post-vaccination period on vaccine hesitancy and indicators to support the monitoring and evaluation of COVID-19 vaccine. This research project uses COVID-19 vaccine as an example with hope that the findings may support future work for other diseases and in similar settings.