Show simple item record

Safety, immunogenicity of the booster dose after complete primary series of inactivated vaccine (Sinovac) with the same or different vaccine

dc.contributor.authorยง ภู่วรวรรณth_TH
dc.contributor.authorYong Poovorawanth_TH
dc.contributor.authorณศมน วรรณลภากรth_TH
dc.contributor.authorNasamon Wanlapakornth_TH
dc.contributor.authorณัฐินี สุทธินรเศรษฐ์th_TH
dc.contributor.authorNatthinee Sudhinarasetth_TH
dc.contributor.authorฤทธิเดช ยอแสงth_TH
dc.contributor.authorRitthideach Yorsaength_TH
dc.contributor.authorหนึ่งฤทัย สุนทรวงศ์th_TH
dc.contributor.authorNungruthai Suntronwongth_TH
dc.contributor.authorสมพงษ์ วงษ์พันสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorSompong Vongpunsawadth_TH
dc.contributor.authorจิรัชญา พื้นผาth_TH
dc.contributor.authorJiratchaya Puenpath_TH
dc.contributor.authorจิระ จันท์แสนโรจน์th_TH
dc.contributor.authorJira Chansaenrojth_TH
dc.contributor.authorภรจริม นิลยนิมิตth_TH
dc.contributor.authorPornjarim Nilyanimitth_TH
dc.contributor.authorพรพิตรา ประเทศรัตน์th_TH
dc.contributor.authorPornpitra Pratedratth_TH
dc.contributor.authorชมพูนุช อู่พิมายth_TH
dc.contributor.authorChompoonut Auphimaith_TH
dc.contributor.authorทักษพร ทัศนาธรth_TH
dc.contributor.authorThaksaporn Thatsanatornth_TH
dc.contributor.authorดลชิดา ศรีเหมือนth_TH
dc.contributor.authorDonchida Srimuanth_TH
dc.contributor.authorสุวิชาดา อัศวโกสีย์th_TH
dc.contributor.authorSuvichada Assawakosrith_TH
dc.date.accessioned2022-06-24T02:12:48Z
dc.date.available2022-06-24T02:12:48Z
dc.date.issued2565-04
dc.identifier.otherhs2818
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5612
dc.description.abstractการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด-19) ได้กลายเป็นปัญหาด้านการดูแลสุขภาพและสาธารณะมีความรุนแรงทั่วโลกนับตั้งแต่เกิดการระบาดครั้งแรกในปลายเดือนธันวาคม 2019 ปัจจุบันมีการใช้วัคซีนโควิด-19 ในหลายประเทศแต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (SARS-CoV-2) ได้ ถึงแม้ว่าประชากรได้รับวัคซีนครบสองโดสแล้ว ซึ่งโครงการวิจัยเรื่อง ความปลอดภัยและผลการกระตุ้นภูมิต้านทาน ในประชากรผู้ใหญ่หลังให้วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย (Sinovac) ครบแล้ว 2 เข็ม ด้วยวัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษา (1) เพื่อศึกษาความปลอดภัยในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการให้วัคซีนเข็มที่ 3 ต่างชนิดกันในประชากรผู้ใหญ่ที่มีการรับวัคซีนชนิดเชื้อตาย (ซิโนแวค) ครบ 2 เข็มแล้ว และ (2) เพื่อศึกษาผลการกระตุ้นภูมิต้านทาน ในการให้วัคซีนเข็มที่ 3 ต่างชนิดกันในประชากรผู้ใหญ่ที่มีการรับวัคซีนชนิดเชื้อตาย (ซิโนแวค) ครบ 2 เข็มแล้ว โดยงานวิจัยฉบับนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ งานวิจัยส่วนที่ 1 การศึกษาความปลอดภัยและผลการกระตุ้นภูมิต้านทาน ในประชากรผู้ใหญ่หลังให้วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย (CoronaVac) ครบแล้ว 2 เข็ม ด้วยวัคซีนโควิด-19 เข็มที่สามต่างชนิดกัน โดยให้ในระยะห่างเป็นเวลา 3 เดือน งานวิจัยส่วนที่ 2 การศึกษาความปลอดภัยและผลการกระตุ้นภูมิต้านทาน ในประชากรผู้ใหญ่หลังให้วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย (CoronaVac) ครบแล้ว 2 เข็ม ด้วยวัคซีนโควิด-19 เข็มที่สามต่างชนิดกัน โดยให้ในระยะห่างเป็นเวลา 6 เดือน และงานวิจัยส่วนที่ 3 การศึกษาความปลอดภัยและผลการกระตุ้นภูมิต้านทาน ในประชากรผู้ใหญ่หลังให้วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย (CoronaVac) ครบแล้ว 2 เข็ม ด้วยวัคซีนโควิด-19 เข็มที่สามชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอขนาดครึ่งโดสและเต็มโดส โดยให้ในระยะห่างเป็นเวลา 6 เดือน โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ช่วง ได้แก่ การกระตุ้นด้วยวัคซีนโควิดชนิดต่างๆ ที่ระยะเวลา 3 เดือน (งานวิจัยส่วนที่ 1) และ 6 เดือน (งานวิจัยส่วนที่ 2 และงานวิจัยส่วนที่ 3) จากผลการศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าการให้วัคซีนเข็มกระตุ้นต่างชนิด (mix and match) ได้แก่ วัคซีนชนิดเชื้อตาย (BBIBP, Sinopharm) วัคซีนชนิดไวรัลเวกเตอร์ (AZD1222, AstraZeneca) วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ (BNT162b2, Pfizer) ในกลุ่มประชากรผู้ใหญ่ที่เคยรับวัคซีนเชื้อตาย (CoronaVac) ครบ 2 เข็มมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน (short-interval) และการให้วัคซีนเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดเชื้อตาย (BBIBP) วัคซีนชนิดไวรัลเวกเตอร์ (AZD1222) วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ (BNT162b2) ขนาดครึ่งโดสและขนาดเต็มโดส และวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ (mRNA-1273/ Moderna) ขนาดครึ่งโดสและขนาดเต็มโดส ในกลุ่มประชากรผู้ใหญ่ที่เคยรับวัคซีนเชื้อตาย (CoronaVac) ครบ 2 เข็มมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน (long-interval) มีความปลอดภัยเป็นที่ยอมรับได้ โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ได้แก่ อาการปวดบริเวณที่ฉีด อาการไข้ มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มอาสามัครที่ได้รับวัคซีนชนิดไวรัลเวกเตอร์ และวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ ซึ่งอาการดังกล่าวจะค่อยๆ ลดลงภายในไม่กี่วันหลังจากได้รับวัคซีน และไม่มีรายงานการเจ็บป่วยรุนแรง ซึ่งเป็นอาการจากผลการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น สำหรับการดำเนินโครงการวิจัยนี้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายจากที่กล่าวข้างต้น สามารถนำมาใช้เป็นแบบแผนสำหรับการจัดการวัคซีนในอนาคต เป็นประโยชน์ต่อตัวประชาชนโดยตรงเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นชนิดต่างๆ เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันในระดับที่ดี สามารถยับยั้ง ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนา 2019 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ และในอนาคตอันใกล้ อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อทางสาธารณสุขทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ในการจัดการและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค สรุปได้ว่า การกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดไวรัลเวกเตอร์ และเอ็มอาร์เอชนิดต่างๆ มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัยเหมาะแก่การจัดสรรวัคซีนในอนาคต รวมถึงผลของการลดปริมาณหรือขนาดการใช้วัคซีนเพียงครึ่งนึงก็เพียงพอสำหรับเป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในการลดมูลค่าค่าใช้จ่ายในการจัดสรรวัคซีน และการกระจายวัคซีนที่มีความขาดแคลนในประเทศและประชาคมโลกได้เป็นอย่างดีth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัคซีนth_TH
dc.subjectVaccinesth_TH
dc.subjectวัคซีนโควิด-19th_TH
dc.subjectCOVID-19 Vaccinesth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การตรวจวิเคราะห์th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectSARS-CoV-2th_TH
dc.subjectAntibodyth_TH
dc.subjectImmunityth_TH
dc.subjectภูมิคุ้มกันth_TH
dc.subjectImmune Systemth_TH
dc.subjectระบบภูมิคุ้มกันth_TH
dc.subjectภูมิคุ้มกันวิทยาth_TH
dc.subjectImmunologyth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleความปลอดภัยและผลการกระตุ้นภูมิต้านทาน ในประชากรผู้ใหญ่หลังให้วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย (Sinovac) ครบแล้ว 2 เข็ม ด้วยวัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันth_TH
dc.title.alternativeSafety, immunogenicity of the booster dose after complete primary series of inactivated vaccine (Sinovac) with the same or different vaccineth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWC503 ย113ค 2565
dc.identifier.contactno64-164
dc.subject.keywordวัคซีนเข็มกระตุ้นth_TH
dc.subject.keywordภูมิต้านทานth_TH
dc.subject.keywordCoronaVacth_TH
dc.subject.keywordInactivated Vaccineth_TH
dc.subject.keywordViral Vector Vaccineth_TH
dc.subject.keywordmRNA Vaccineth_TH
dc.subject.keywordSinovacth_TH
dc.subject.keywordSinopharmth_TH
dc.subject.keywordAstraZenacath_TH
dc.subject.keywordPfizerth_TH
dc.subject.keywordModernath_TH
.custom.citationยง ภู่วรวรรณ, Yong Poovorawan, ณศมน วรรณลภากร, Nasamon Wanlapakorn, ณัฐินี สุทธินรเศรษฐ์, Natthinee Sudhinaraset, ฤทธิเดช ยอแสง, Ritthideach Yorsaeng, หนึ่งฤทัย สุนทรวงศ์, Nungruthai Suntronwong, สมพงษ์ วงษ์พันสวัสดิ์, Sompong Vongpunsawad, จิรัชญา พื้นผา, Jiratchaya Puenpa, จิระ จันท์แสนโรจน์, Jira Chansaenroj, ภรจริม นิลยนิมิต, Pornjarim Nilyanimit, พรพิตรา ประเทศรัตน์, Pornpitra Pratedrat, ชมพูนุช อู่พิมาย, Chompoonut Auphimai, ทักษพร ทัศนาธร, Thaksaporn Thatsanatorn, ดลชิดา ศรีเหมือน, Donchida Srimuan, สุวิชาดา อัศวโกสีย์ and Suvichada Assawakosri. "ความปลอดภัยและผลการกระตุ้นภูมิต้านทาน ในประชากรผู้ใหญ่หลังให้วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย (Sinovac) ครบแล้ว 2 เข็ม ด้วยวัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5612">http://hdl.handle.net/11228/5612</a>.
.custom.total_download103
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year8

Fulltext
Icon
Name: hs2818.pdf
Size: 5.245Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record