Show simple item record

The Application of Price Performance Criteria for Government Procurement of Medicine: A Case Study in Pilot Hospitals

dc.contributor.authorนิลวรรณ อยู่ภักดีth_TH
dc.contributor.authorNilawan Upakdeeth_TH
dc.contributor.authorอนันต์ชัย อัศวเมฆินth_TH
dc.contributor.authorAnunchai Assawamakinth_TH
dc.contributor.authorวีณา พร้อมประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorWeena Promprasertth_TH
dc.contributor.authorวราวัลย์ จึงศิวะพรพงษ์th_TH
dc.contributor.authorWarawan Chungsivapornpongth_TH
dc.contributor.authorจตุพร สุมิตสวรรค์th_TH
dc.contributor.authorJatuporn Sumitsawanth_TH
dc.contributor.authorไพรัช ไล้ทองth_TH
dc.contributor.authorPairat Laitongth_TH
dc.contributor.authorชัยวัฒน์ บูรณะชนอาภาth_TH
dc.contributor.authorChaiwat Booranachonarpath_TH
dc.contributor.authorมนตรี พันธุ์ธรรมth_TH
dc.contributor.authorMontri Phanthamth_TH
dc.contributor.authorสุมาลี สงวนศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorSumalee Sanguansakth_TH
dc.date.accessioned2022-06-30T03:29:25Z
dc.date.available2022-06-30T03:29:25Z
dc.date.issued2565-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 16,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2565) : 202-214th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5618
dc.description.abstractพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้กับหน่วยงานของรัฐตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ทำให้การจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์นอกจากจะพิจารณาเกณฑ์ราคา ยังสามารถพิจารณาเกณฑ์อื่นประกอบเกณฑ์ราคาเพื่อเลือกผู้เสนอราคา โดยประยุกต์ใช้ multi-criteria decision analysis (MCDA) หรือเกณฑ์ price performance-MCDA การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรคในการนำเกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่น หรือเกณฑ์ price performance-MCDA ตามกระบวนการปฏิบัติจริงในการทำงาน การศึกษานี้มีรูปแบบเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงพยาบาลนำร่อง จำนวน 8 แห่ง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จากโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์) กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยดำเนินการจัดประชุมชี้แจงให้ผู้ร่วมวิจัยเข้าใจหลักเกณฑ์ price performance-MCDA และเลือกประเมินยาตัวอย่าง 3 รายการ จากกลุ่มยาที่กำหนดให้ ผลการศึกษาพบว่า ในการนำเกณฑ์ price performance-MCDA ไปใช้นั้น โรงพยาบาล 1 แห่ง ยังไม่พร้อมนำเกณฑ์ไปใช้ และอีก 7 แห่ง นำไปทดลองใช้ประเมินการจัดซื้อยาโดยไม่ได้จัดซื้อจริง มีทั้งปรับและไม่ปรับสัดส่วนเกณฑ์ราคาต่อเกณฑ์อื่น เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินโดยเกณฑ์ price performance-MCDA และเกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่นที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในโรงพยาบาล 4 แห่ง พบความสอดคล้องกันร้อยละ 66.7 (2 รายการจาก 3 รายการ) และเมื่อเปรียบเทียบเกณฑ์ price performance-MCDA กับเกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่นที่โรงพยาบาลใช้ในปัจจุบัน ประเด็นส่วนใหญ่ที่มีความคล้ายคลึงกัน ได้แก่ คุณภาพการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์ แต่มีประเด็นที่แตกต่างไปบ้าง ได้แก่ ประสบการณ์ในการใช้ยาของแพทย์และเป็นยาเข้าบัญชียาในโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย, ลักษณะของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ฉลากที่ช่วยลดความคลาดเคลื่อนทางยา, ข้อมูลสนับสนุนการวิจัยคุณภาพและประสิทธิภาพการรักษา และการอบรมจริยธรรมในการส่งเสริมการขายยา โดยเภสัชกรที่ทดลองใช้เกณฑ์ price performance-MCDA ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในเกณฑ์ดังกล่าว โดยเฉพาะการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการผลิตยา แต่ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการปฏิบัติ ได้แก่ ความเข้าใจในรายละเอียดปลีกย่อย อย่างไรก็ตามโดยสรุปแล้ว ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำเกณฑ์ price performance-MCDA ไปใช้ แต่อาจต้องมีการปรับเกณฑ์บางประเด็นเพื่อให้เข้ากับบริบทของโรงพยาบาลแต่ละแห่งth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการจัดซื้อth_TH
dc.subjectยา--การจัดซื้อth_TH
dc.subjectเวชภัณฑ์--การจัดซื้อth_TH
dc.subjectการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐth_TH
dc.titleการประยุกต์ใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่นเพื่อการจัดซื้อยาภาครัฐ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลนำร่องth_TH
dc.title.alternativeThe Application of Price Performance Criteria for Government Procurement of Medicine: A Case Study in Pilot Hospitalsth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe Government Procurement and Supplies Management Act B.E. 2560 (2017) was published in the Royal Thai Government Gazette and has become active with government organizations since August 2017. The act allows the purchase of drugs and medical supplies to consider the price and other attributes of performance in decision-making. There has been a development of other price performance by applying multi-criteria decision analysis (MCDA) or price performance-MCDA criteria. The objective of this study was to assess the practical feasibility, problems and constraints in introducing the price performance-MCDA criteria in the practical work process. This study was a research and development. The sample group was eight pilot hospitals. Purposive sampling was performed by selecting the hospitals under the Ministry of Public Health (Office of the Permanent Secretary and Department of Medical Services), the Ministry of Defense, and the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. Researchers then organized a meeting to inform the participants about the price performance-MCDA criteria. The participants selected three sample drugs from the list of study drug groups. The results showed that 1 hospital was excluded because non-readiness to apply the criteria, and 7 hospitals exercised price performance-MCDA to evaluate drugs but not used in the purchasing process. Some hospitals adjusted the price and performance ratio for scoring and some did not adjust. Comparing the evaluation results by the price performance-MCDA criteria to current hospital criteria in 4 hospitals, 66.7% showed consistent results (2 out of 3 items). Furthermore, the comparison between price performance-MCDA criteria and current hospital criteria found that most of the similar issues were as follows: quality of manufacturing and quality of products. However, there were different concerned criteria such as experiences in using the drugs and drug availability on the list in a teaching hospital; drug specification including packaging and labelling for reducing medication errors; research data in supporting quality and efficacy of drugs; and the ethical training on drug promotion. The results found that most pharmacists who participated in the present research using price performance-MCDA were satisfied with these criteria, particularly in terms of driving the improvement of drug quality. Problems and constraints encountered in this study included understanding the details of each criterion. In summary, the results indicated the possibility of applying the price performance-MCDA criteria, but the criteria may need to be adjusted when implemented.th_TH
dc.subject.keywordการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์th_TH
dc.subject.keywordMulti-Criteria Decision Analysisth_TH
dc.subject.keywordMCDAth_TH
dc.subject.keywordPrice Performanceth_TH
.custom.citationนิลวรรณ อยู่ภักดี, Nilawan Upakdee, อนันต์ชัย อัศวเมฆิน, Anunchai Assawamakin, วีณา พร้อมประเสริฐ, Weena Promprasert, วราวัลย์ จึงศิวะพรพงษ์, Warawan Chungsivapornpong, จตุพร สุมิตสวรรค์, Jatuporn Sumitsawan, ไพรัช ไล้ทอง, Pairat Laitong, ชัยวัฒน์ บูรณะชนอาภา, Chaiwat Booranachonarpa, มนตรี พันธุ์ธรรม, Montri Phantham, สุมาลี สงวนศักดิ์ and Sumalee Sanguansak. "การประยุกต์ใช้เกณฑ์ราคาประกอบเกณฑ์อื่นเพื่อการจัดซื้อยาภาครัฐ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลนำร่อง." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5618">http://hdl.handle.net/11228/5618</a>.
.custom.total_download510
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month23
.custom.downloaded_this_year74
.custom.downloaded_fiscal_year131

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v16n ...
Size: 313.8Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record