แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การทบทวนข้อแนะนำเชิงนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนจากองค์การระหว่างประเทศและการดำเนินงานของประเทศไทย

dc.contributor.authorกมลพัฒน์ มากแจ้งth_TH
dc.contributor.authorKamolphat Markchangth_TH
dc.contributor.authorอรทัย วลีวงศ์th_TH
dc.contributor.authorOrratai Waleewongth_TH
dc.contributor.authorศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์th_TH
dc.contributor.authorSiriwan Pitayarangsaritth_TH
dc.contributor.authorพเยาว์ ผ่อนสุขth_TH
dc.contributor.authorPayao Phonsukth_TH
dc.contributor.authorณัฎฐณิชา แปงการิยาth_TH
dc.contributor.authorNattanicha Pangkariyath_TH
dc.contributor.authorสรศักดิ์ เจริญสิทธิ์th_TH
dc.contributor.authorSorasak Charoensitth_TH
dc.date.accessioned2022-06-30T03:47:25Z
dc.date.available2022-06-30T03:47:25Z
dc.date.issued2565-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 16,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2565) : 215-248th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5619
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนข้อแนะนำเชิงนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนจากองค์การระหว่างประเทศและการดำเนินงานของประเทศไทย ศึกษาโดยใช้วิธีการทบทวนเอกสารเครื่องมือนโยบายจากองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ องค์การอนามัยโลก กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ รวมถึงนโยบายและมาตรการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานกองทุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และวิเคราะห์โดยใช้กรอบการทำงานด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียน 4 มิติ ประกอบด้วย 1) ด้านอาหารในโรงเรียนและสิ่งแวดล้อมทางอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 2) ด้านอาหารและโภชนศึกษา 3) ด้านห่วงโซ่การจัดซื้อและคุณค่าแบบองค์รวม และ 4) ด้านสภาพแวดล้อมทางนโยบาย กฎหมาย และกลไกสนับสนุน ผลการศึกษา พบข้อแนะนำเชิงนโยบายจำนวนทั้งสิ้น 42 ข้อ ตัวอย่างเช่น การพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียน การกำหนดมาตรการควบคุมการโฆษณาและการตลาดอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ การสนับสนุนการใช้วัตถุดิบการเกษตรในพื้นที่ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพื้นที่และชุมชน การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้และภาวะโภชนาการที่ดี มาตรการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนที่เข้มแข็ง ในส่วนของผลการทบทวนมาตรการของประเทศไทย พบว่า ค่อนข้างมีความสอดคล้องตามข้อแนะนำเชิงนโยบายข้างต้น (34 จาก 42 ข้อแนะนำ) ตัวอย่างเช่น การจัดบริการมื้ออาหารกลางวันแก่นักเรียน การกำหนดมาตรฐานโภชนาการอาหารสำหรับเด็ก การส่งเสริมให้โรงเรียนมีการวางแผนการจัดซื้ออาหารในโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพและคาดการณ์ได้ (Thai School Lunch) และโครงการส่งเสริมอาหารและโภชนาการในโรงเรียนต่างๆ อย่างไรก็ตาม มาตรการที่รัฐควรพัฒนาในอนาคต ได้แก่ การกำหนดมาตรการควบคุมการโฆษณาและการตลาดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพในและรอบโรงเรียน การส่งเสริมความรู้เท่าทันสื่อและการตลาดของกลุ่มอาหารแก่เด็กนักเรียนและบุคลากร การกำหนดมาตรการจัดการกับผลประโยชน์ทับซ้อน และการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการของบุคลากรในโรงเรียน นอกจากนี้ รัฐควรปรับปรุงมาตรการในปัจจุบัน ได้แก่ การดำเนินโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนให้ครอบคลุมเด็กนักเรียนอย่างทั่วถึง การพัฒนาแนวปฏิบัติในการควบคุมการจำหน่ายและการตลาดของอาหารในและรอบโรงเรียนและกลไกการติดตามประเมินผลที่เป็นรูปธรรม อีกทั้ง รัฐควรมีนโยบายที่ให้ความสำคัญในจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนที่ครอบคลุมทุกมิติ โดยสามารถนำชุดข้อแนะนำในการศึกษานี้มาเป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายต่อไปได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectนโยบายโภชนาการth_TH
dc.subjectความปลอดภัยด้านอาหารth_TH
dc.subjectเด็ก--โภชนาการth_TH
dc.subjectนักเรียน--โภชนาการth_TH
dc.subjectโรงเรียน--บริการส่งเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectFood and Nutritionth_TH
dc.titleการทบทวนข้อแนะนำเชิงนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนจากองค์การระหว่างประเทศและการดำเนินงานของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativePolicy Recommendations on School Food and Nutrition from Global Organizations and the Policy and Practice in Thailandth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to review the school food and nutrition (SFN) policy recommendations from international organizations and the SFN policy and practice in Thailand. Policy documents were collected from the Office of the United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR), the Food and Agriculture Organization (FAO), World Health Organization (WHO), United Nations Children’s Fund (UNICEF), and related organizations in Thailand such as ministries of education, public health, agriculture and cooperatives, and Thai Health Promotion Foundation. Documents were analyzed based on the SFN framework, consisting of four key components; 1) healthy food environment and school food, 2) food and nutrition education, 3) inclusive procurement and value chain, 4) enabling policy, legal and institutional environment. Forty-two policy recommendations have been suggested, such as the development of a national strategy for food and nutrition in school, control of unhealthy food marketing, supporting use of local food produce for school meals, encouraging community engagement, promoting food and nutrition role models among teachers, and management of conflict of interest among involved stakeholders. Thailand has followed 34 out of 42 recommendations, such as, free school lunch, child nutritional standard, Thai School Lunch program for sustainable provision of school food, and other food and nutritional promotion programs in school. However, future SFN policies should be developed on the food/nutritional literacy among school children, teachers, and parents, conflict of interest management among involved stakeholders, and the health promotion in particular food and nutrition for all personnel in schools. Furthermore, existing SFN policies need to be strengthened, for instance, the inclusive school lunch, law and regulation to control unhealthy food marketing in school, and SFN policy monitoring and evaluation. The present study of international recommendations should be further used to guide the future SFN policy and practice in Thailand.th_TH
dc.subject.keywordอาหารและโภชนาการth_TH
.custom.citationกมลพัฒน์ มากแจ้ง, Kamolphat Markchang, อรทัย วลีวงศ์, Orratai Waleewong, ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, Siriwan Pitayarangsarit, พเยาว์ ผ่อนสุข, Payao Phonsuk, ณัฎฐณิชา แปงการิยา, Nattanicha Pangkariya, สรศักดิ์ เจริญสิทธิ์ and Sorasak Charoensit. "การทบทวนข้อแนะนำเชิงนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนจากองค์การระหว่างประเทศและการดำเนินงานของประเทศไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5619">http://hdl.handle.net/11228/5619</a>.
.custom.total_download763
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month18
.custom.downloaded_this_year401
.custom.downloaded_fiscal_year79

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v16n ...
ขนาด: 1.450Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย