Factors Associated with Contribution Payment among Insured Workers under Social Security Act’s Article 40: the Case of Sickness Benefit
dc.contributor.author | สายชล คล้อยเอี่ยม | th_TH |
dc.contributor.author | Saichon Kloyiam | th_TH |
dc.contributor.author | พิสิฐ ศรีรัตนวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Phisit Srirattanawong | th_TH |
dc.contributor.author | ณภูมิ สุวรรณภูมิ | th_TH |
dc.contributor.author | Napoom Suwannapoom | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-06-30T03:52:04Z | |
dc.date.available | 2022-06-30T03:52:04Z | |
dc.date.issued | 2565-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 16,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2565) : 249-265 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5620 | |
dc.description.abstract | การศึกษาโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเงินสมทบจนเกิดสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่เข้าสู่ระบบประกันสังคม 3–5 เดือน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ของสำนักงานประกันสังคม ที่ขึ้นทะเบียนระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน 2562 จำนวน 53,556 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี (binary logistic regression) การศึกษาพบว่า เพศ รายได้ และทางเลือกเงินสมทบและประโยชน์ทดแทน ไม่สัมพันธ์กับการส่งเงินสมทบจนเกิดสิทธิประโยชน์ทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย แต่อายุ อาชีพ และช่องทางการขึ้นทะเบียน สัมพันธ์กับการส่งเงินสมทบจนเกิดสิทธิฯ ของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่เข้าสู่ระบบประกันสังคม 3–5 เดือน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผู้ประกันตนในช่วงอายุ 25–34 ปี ผู้ประกันตนที่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริการและผู้ปฏิบัติงานในโรงงานเครื่องจักร และผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนผ่านแกนนำ มีโอกาสไม่เกิดสิทธิฯ มากกว่าผู้ประกันตนกลุ่มอื่นๆ ผลการศึกษานี้ช่วยชี้กลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารที่เน้นถึงผลดีและผลเสียของการส่งเงินสมทบต่อเนื่องต่อการรับประโยชน์ทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย และเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการ พัฒนาศักยภาพและสร้างแรงจูงใจให้กับเครือข่ายประกันสังคม มาตรา 40 ในการกำกับ ติดตาม และให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนตามมาตรา 40 อย่างต่อเนื่อง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ประกันสังคม | th_TH |
dc.subject | สิทธิประโยชน์--การคุ้มครอง | th_TH |
dc.subject | สิทธิประโยชน์ทดแทน | th_TH |
dc.subject | ประกันสังคม--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | th_TH |
dc.subject | ประกันสังคม--บริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการส่งเงินสมทบจนเกิดสิทธิของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 40: กรณีการเกิดสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนการขาดรายได้เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย | th_TH |
dc.title.alternative | Factors Associated with Contribution Payment among Insured Workers under Social Security Act’s Article 40: the Case of Sickness Benefit | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This analytical observational study aimed to investigate relationships between factors and contribution payments for the sickness benefit among insured workers under the Social Security Act’s Article 40 who had been registered for 3–5 months on December 31, 2019. The data used for the analysis came from 53,556 insured workers who registered with Article 40 between August – September 2019. Descriptive statistics and binary logistic regression were used to describe the overall data and investigate the relationships among the studied factors. The analysis showed that age, occupation and registration channels were significantly associated with the contribution payments to fulfill the sickness benefit, while sex, income, contribution amount and benefit options were not. Those aged 25–34 years, in service works, working in machinery factories, and registration channel through a community based - social security agent had an increased chance of losing the sickness benefit compared to their counterparts. These results suggest strategic targeting the insured workers under Article 40 to ensure access to continuous sickness benefit of the social security system. | th_TH |
dc.subject.keyword | ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 | th_TH |
.custom.citation | สายชล คล้อยเอี่ยม, Saichon Kloyiam, พิสิฐ ศรีรัตนวงศ์, Phisit Srirattanawong, ณภูมิ สุวรรณภูมิ and Napoom Suwannapoom. "ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการส่งเงินสมทบจนเกิดสิทธิของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 40: กรณีการเกิดสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนการขาดรายได้เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5620">http://hdl.handle.net/11228/5620</a>. | |
.custom.total_download | 975 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 16 | |
.custom.downloaded_this_year | 429 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 80 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ