Show simple item record

The Situation Analysis of Covid-2019 Pandemic in Surrounded Areas in Region 10: Case study of Thai-Laos-Cambodia Borderlines

dc.contributor.authorอนันต์ ไชยกุลวัฒนาth_TH
dc.contributor.authorAnun Chaikoolvatanath_TH
dc.contributor.authorหรรษา ชื่นชูผลth_TH
dc.contributor.authorHunsa Chuencupolth_TH
dc.contributor.authorพนมวรรณ์ สว่างแก้วth_TH
dc.contributor.authorPhanumwan Sawangkaewth_TH
dc.contributor.authorพลากร สืบสำราญth_TH
dc.contributor.authorPhalakorn Suebsamranth_TH
dc.contributor.authorพิมณทิพา มาลาหอมth_TH
dc.contributor.authorPimontipa Malahoamth_TH
dc.contributor.authorอรชร มาลาหอมth_TH
dc.contributor.authorOrachorn Malahoamth_TH
dc.contributor.authorวีรพันธ์ ซื่อสัตย์th_TH
dc.contributor.authorWeeraparn Seusajth_TH
dc.contributor.authorสุวัฒน์ พิมพะบุตรth_TH
dc.contributor.authorSuwat Pimpabujth_TH
dc.contributor.authorชลลดา ไชยกุลวัฒนาth_TH
dc.contributor.authorCholada Chaikoolvatanath_TH
dc.contributor.authorสมฤทัย ศรีสุวะth_TH
dc.contributor.authorSomruthai Srisuwath_TH
dc.date.accessioned2022-07-22T08:04:32Z
dc.date.available2022-07-22T08:04:32Z
dc.date.issued2565-06-30
dc.identifier.otherhs2830
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5679
dc.description.abstractรายงานฉบับสมบูรณ์นี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส 2019 ในเขตพื้นที่ที่มีพรมแดนรอยต่อติดกับประเทศลาวและกัมพูชา ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ ในช่วงปี พ.ศ. 2564-2565 โดยข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ประกอบด้วยข้อมูล 5 ส่วน ดังนี้ 1. สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดอุบลราชธานี 2. การบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้บริหารทุกระดับ 3. ข้อมูลพื้นฐานการเดินทางและสุขภาพของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ 4. ความรอบรู้ทางสุขภาพในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เขตสุขภาพที่ 10: กรณีศึกษาพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว-กัมพูชา และการยกระดับความรู้ด้านสุขภาพสู่การพัฒนาการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว-กัมพูชา เขตสุขภาพที่ 10 และ 5. การบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงเวลาของการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส 2019 ผลการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี สอดคล้องกับภาพรวมของประเทศ กล่าวคือ การระบาดในพื้นที่รุนแรงในช่วงระลอก 2 และ 3 (ช่วงเดือนเมษายน-กันยายน 2563) ซึ่งมีการแพร่กระจายของเชื้อในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ (ระลอก 2) และแรงงานที่เดินทางกลับภูมิลำเนา (ระลอก 3) ยอดสะสมตั้งแต่ระลอก 1 ถึง 4 มีผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 23,369 คน คิดเป็นอัตราป่วย 12,506 ต่อประชากรหนึ่งล้านคน อายุเฉลี่ยของกลุ่มที่ติดเชื้ออยู่ที่ 30-39 ปี (ร้อยละ 22.5) เชื้อโควิดที่ระบาดในระลอก 3 และระลอก 4 ส่วนใหญ่ คือ สายพันธุ์อัลฟ่าและเดลต้า ส่วนระลอก 5 (ปัจจุบัน) เป็นสายพันธุ์โอมิครอน ส่วนอัตราป่วยตาย (CFR) มากที่สุดอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ (ร้อยละ 3.89) ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน เข็ม 1 และ 2 ตามเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขตั้งไว้ (เกินร้อยละ 80) ส่วนเข็ม 3 (booster) ยังต่ำกว่าเป้าหมาย (ร้อยละ 21) และเป็นสูตรไขว้ตามที่กระทรวงฯ กำหนดไว้ ในส่วนของมุมมองของผู้บริหารแต่ละระดับที่นำนโยบายจากส่วนกลางมาปฏิบัติตั้งแต่ระดับจังหวัดถึงตำบล พบว่า ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่านโยบายที่ได้รับมาสามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ได้ผ่านผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับ ปัจจัยร่วมแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด–19 ได้แก่ ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ส่วนข้อจำกัดที่ผู้บริหารโดยเฉพาะในระดับอำเภอและตำบล ระบุว่าการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงที่สถานการณ์ค่อนข้างวิกฤต หรืองบป้องกันสาธารณภัย (ปภ) นั้น มีขั้นตอนและเอกสารที่ต้องดำเนินการค่อนข้างมาก ทำให้เกิดความล่าช้าในการนำงบประมาณไปใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งทางผู้บริหารได้ให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีการปรับขั้นตอน เงื่อนไขการเบิกจ่ายงบประมาณให้กระชับ รวดเร็ว หากจำเป็นต้องนำงบประมาณดังกล่าวมาใช้ในการระบาดระลอกถัดไป ข้อมูลพื้นฐานการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ พบว่า ในช่วงการระบาดระลอก 2 และ 3 มีการสั่งปิดประเทศชั่วคราว เนื่องจากกลุ่มที่แพร่เชื้อส่วนใหญ่คือ แรงงานข้ามชาติและแรงงานกลับภูมิลำเนา อย่างไรก็ตาม จุดตรวจผ่านแดนช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี และจุดตรวจผ่านแดนช่องสะงา จังหวัดศรีสะเกษ มีข้อกำหนดให้คนบางประเภทได้รับการยกเว้น สามารถเดินทางเข้าออกประเทศได้ ซึ่งจากการสำรวจ พบว่า คนที่เดินทางเข้า-ออกประเทศในเวลานั้น ส่วนใหญ่เป็นคนขนส่งสินค้าเข้า-ออกประเทศไทย ทั้งที่เป็นคนไทยและคนต่างชาติ (n = 130 คน) ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย (ร้อยละ 57) พื้นที่ต้นทางของคนที่เดินทางเข้า-ออกประเทศไทย มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ค่อนข้างมาก (ร้อยละ 84) สินค้าที่ขนส่งเข้า-ออกประเทศ ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันดิบ ผักผลไม้ (ร้อยละ 60) ที่สำคัญพบว่า คนที่เดินทางเข้า-ออกได้รับวัคซีนเข็ม 1 และ 2 ทั้งหมด (ร้อยละ 99.2) แต่เข็ม 3 (booster) ยังไม่มาก ข้อจำกัดที่จำเป็นต้องมีการแก้ไขเร่งด่วนคือ ณ เวลานั้น การเดินทางเข้า-ออกที่เกินระยะเวลาที่ภาครัฐกำหนด (ไม่เกิน 72 ชั่วโมง) ซึ่งทำให้คนขนส่งสินค้าตกค้างในพื้นที่ อาจเสี่ยงต่อการได้รับและแพร่กระจายเชื้อเมื่อเดินทางกลับประเทศต้นทาง รวมถึงผลตรวจ Antigen Test Kit (ATK) / Real-Time PCR (RT-PCR) ก่อนเดินทาง 72 ชั่วโมง ในผู้เดินทางหลายรายที่ไม่มีผลยืนยัน และข้อจำกัดเรื่องที่พักชั่วคราวกรณีคนขนส่งสินค้าเดินทางกลับประเทศต้นทางไม่ทัน อาจเนื่องจากขนถ่ายสินค้าไม่เสร็จ หรือตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก จำเป็นต้องกักตัวเพื่อดูอาการ ซึ่งประเด็นข้อจำกัดและแนวทางการแก้ไขได้ส่งกลับให้กับผู้บริหารด่านตรวจ บางข้อจำกัดได้รับการแก้ไขจากนโยบายภาครัฐที่เตรียมเปิดประเทศและมีการวางมาตรการผ่อนปรน ในขณะเดียวกันก็เพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้เดินทางเข้า-ออกประเทศ เพื่อติดตามอย่างต่อเนื่องหากเกิดการระบาดระลอกใหม่ ด้านความตระหนักรู้ทางสุขภาพ (health literacy) ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ แรงงานกลับภูมิลำเนาเดิม ประชาชนทั่วไปและบุคลากรสาธารณสุข พบว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่พอใจในระบบบริการสุขภาพและวัคซีนของไทย ซึ่งตรงข้ามกับแรงงานไทยและประชาชนทั่วไปที่ยังไม่ค่อยมั่นใจใน 2 ประเด็นดังกล่าว ที่เหมือนกันในทุกกลุ่มคือ การปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T ซึ่งทำได้ยากเนื่องจากวัฒนธรรมการดำรงชีวิตตามวิถีคนอีสาน อย่างไรก็ตาม หลังจากปรับมาตรการเชิงรุกลงพื้นที่ ให้บริการวัคซีนและความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน การหาที่พักชั่วคราวทั้ง Home Isolation (HI), Community Isolation (CI) ทำให้เมื่อสำรวจข้อมูลวัคซีนอีกครั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีทัศนคติเกี่ยวกับวัคซีนดีขึ้น เชื่อมั่นในวัคซีนมากขึ้น และรับการฉีดวัคซีนทั้งเข็ม 1 และ 2 เป็นไปตามเป้าหมายที่ภาครัฐกำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม เข็ม 3 และ 4 (boosters) ยังไม่ถึงเป้าหมาย ทั้งนี้ ได้มีการนำเครื่องมือที่เรียกว่า “ธรรมนูญสุขภาพต้านภัยโควิด” มาใช้ในการสื่อสารของคนในพื้นที่ ให้เกิดความเข้าใจร่วมกันและเห็นพ้องในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเครื่องมือนี้จะออกแบบโดยคนในพื้นที่ร่วมกันวางแผนและทุกคนในพื้นที่เห็นชอบร่วมกันที่นำมาตรการที่ตนเองวางแผนไปปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้คนในพื้นที่เต็มใจที่จะปฏิบัติตามแนวทางที่ชุมชนกำหนด โดยหน่วยงานภาครัฐทำหน้าที่ให้การสนับสนุน และติดตามประเมินผลลัพธ์ เพื่อนำข้อมูลที่ทำให้เกิดความสำเร็จไปขยายผลยังพื้นที่อื่นต่อไป พร้อมรายงานให้ผู้บริหารทราบเป็นระยะๆ ซึ่งเครื่องมือที่นำมาใช้ในช่วงที่มีการระบาดมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นกับบริบทของคนในพื้นที่ ทั้งนี้ ทีมวิจัยจะติดตามผลการดำเนินงานธรรมนูญสุขภาพต้านภัยโควิดหลังเสร็จสิ้นโครงการร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่อไป โดยสรุป ทีมวิจัยได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินโครงการ เพื่อให้ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ผู้แทนภาคประชาสังคมและภาคเอกชน รับทราบผลการดำเนินงาน เพื่อนำไปปรับใช้ในเชิงนโยบายสำหรับการเตรียมความพร้อมในการระบาดระลอกถัดไปหรือหากมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectวัคซีนโควิด-19th_TH
dc.subjectCOVID-19 Vaccinesth_TH
dc.subjectคนต่างด้าวth_TH
dc.subjectแรงงานต่างด้าวth_TH
dc.subjectแรงงานข้ามชาติth_TH
dc.subjectMigrationth_TH
dc.subjectMigrant Workersth_TH
dc.subjectForeign Workersth_TH
dc.subjectHealth Literacyth_TH
dc.subjectความรอบรู้ด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินระบบการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตสุขภาพที่ 10: กรณีพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว-กัมพูชาth_TH
dc.title.alternativeThe Situation Analysis of Covid-2019 Pandemic in Surrounded Areas in Region 10: Case study of Thai-Laos-Cambodia Borderlinesth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWC503 อ166ก 2565
dc.identifier.contactno64-047
dc.subject.keywordเขตสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordRegional Health Areath_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 10th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 10th_TH
dc.subject.keywordความแตกฉานด้านสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordการรู้เท่าทันด้านสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordความฉลาดทางสุขภาพth_TH
.custom.citationอนันต์ ไชยกุลวัฒนา, Anun Chaikoolvatana, หรรษา ชื่นชูผล, Hunsa Chuencupol, พนมวรรณ์ สว่างแก้ว, Phanumwan Sawangkaew, พลากร สืบสำราญ, Phalakorn Suebsamran, พิมณทิพา มาลาหอม, Pimontipa Malahoam, อรชร มาลาหอม, Orachorn Malahoam, วีรพันธ์ ซื่อสัตย์, Weeraparn Seusaj, สุวัฒน์ พิมพะบุตร, Suwat Pimpabuj, ชลลดา ไชยกุลวัฒนา, Cholada Chaikoolvatana, สมฤทัย ศรีสุวะ and Somruthai Srisuwa. "การประเมินระบบการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตสุขภาพที่ 10: กรณีพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว-กัมพูชา." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5679">http://hdl.handle.net/11228/5679</a>.
.custom.total_download119
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year12
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs2830.pdf
Size: 12.48Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record