บทคัดย่อ
งานวิจัยโมเดลการใช้ชีวิตปกติรูปแบบใหม่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายต่อการระบาดของโรค COVID-19 ด้วยการจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสถานการณ์ ประสบการณ์การปรับตัวในการใช้ชีวิตปกติรูปแบบใหม่ในการระบาดของโรค COVID-19 2) พัฒนาและประเมินผลโมเดลการใช้ชีวิตปกติรูปแบบใหม่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายต่อการระบาดของโรค COVID-19 ด้วยการจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ 3) ถ่ายทอดโมเดลการใช้ชีวิตปกติรูปแบบใหม่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายต่อการระบาดของโรค COVID-19 ด้วยการจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน รูปแบบการวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed method) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564-31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ดำเนินการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ร่วมกับการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่ม แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ โดยใช้พื้นที่สถานศึกษาตัวแทนของโรงเรียนประถมศึกษาตอนปลายในจังหวัดภาคใต้ตอนบนรวม 7 จังหวัด จังหวัดละ 1 แห่ง โดยใช้เกณฑ์คัดเลือกจากโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรือเทศบาลที่สมัครเข้าร่วมตามบริบทและขนาดโรงเรียน โรงเรียนระดับจังหวัด เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่และเปิดสอนตั้งแต่อนุบาลจนถึงประถมศึกษาตอนปลายใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย จากเกณฑ์ข้างต้นโรงเรียนที่เข้าร่วม 7 แห่ง ได้แก่ อนุบาลจังหวัดพังงา อนุบาลจังหวัดระนอง อนุบาลจังหวัดชุมพร อนุบาลจังหวัดกระบี่ อนุบาลจังหวัดภูเก็ต อนุบาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี และโรงเรียนนานาชาติเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาในชั้นปีที่ 4-6 จำนวน 4,635 คน และครูในโรงเรียน จำนวน 712 คน รวมทั้งสิ้น 5,347 คน ส่วนการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่มกับครูและผู้เกี่ยวข้องกับนักเรียนและโรงเรียน ได้แก่ ผู้ปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ รวม 15 คนต่อโรงเรียน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Krejcie & Morgan ได้จำนวน 1530/235 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย รวมจำนวน 1,765 คน ผลการศึกษาระยะที่ 1 พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54.5 อายุ 11 ปี ร้อยละ 29.28 กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 36.4 ภาพรวมการเตรียมความพร้อมการจัดการตามมาตรการ DMHT-RC (เว้นระยะห่าง (Distancing) สวมหน้ากาก (Mask Wearing) ล้างมือ (Hand washing) คัดกรองวัดไข้ (Testing) ลดการแออัด (Reducing) ทำความสะอาด (Cleaning)) ต่อการระบาดของโรค COVID-19 อยู่ในระดับสูงในทุกองค์ประกอบ ร้อยละ 74.0 ความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักเรียน ร้อยละ 75.5 นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเฉลี่ยทั้ง 6 องค์ประกอบ ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ร้อยละ 60-80 ครูมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพความรู้ ความเข้าใจ มีภาพรวมอยู่ในระดับถูกต้องที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.97, SD = 0.86) นักเรียนมีการปฏิบัติตัวต่อการระบาดของโรค COVID-19 อยู่ในระดับสูง (Mean = 93.24, S D= 15.41) ในระยะที่ 2 กิจกรรมพัฒนาโรงเรียนต้นแบบโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 10 ชั่วโมง รวมเวลาดำเนินการ 2 วัน ซึ่งโรงเรียนนานาชาติเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช อาสาเข้าร่วม มีนักเรียน ป.4-6 จำนวน 330 คน ผู้บริหารและครู 49 คน เพื่อพัฒนาโมเดลการจัดการป้องกันควบคุมการระบาด COVID-19 สู่วิถีปกติใหม่ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พบว่า เกิดรูปแบบการพัฒนา 3 รูปแบบ คือ แบบพัฒนาเต็มรูปแบบ กึ่งเต็มรูปแบบ และแบบมาตรฐาน ที่มีการให้ความรู้โดยใช้โปรแกรม 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การบริหารจัดการโรงเรียน (School management) การพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ (Health Literate School: HLS) การจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงเรียน (Environmental health and safety) และการจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ (Participation and Partnerships) ได้ผลลัพธ์ คือ คู่มือ นโยบาย มาตรการ แผนเผชิญเหตุของโรงเรียน ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปสเตอร์ E book โดยพบว่า ในระยะที่ 2 โรงเรียนที่พัฒนาโปรแกรมความรอบรู้มีประสิทธิผลของโปรแกรมโดยมีคะแนนเฉลี่ยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มแตกต่างสูงกว่า อีก 2 รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 หลังการอบรมโดยใช้โปรแกรมโรงเรียนรอบรู้ฯ สูงกว่าก่อนการให้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในระยะที่ 3 จากผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมการกลับมาเปิดเรียนของโรงเรียนโดยใช้สถิติ Binary logistic regression พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมาเปิดโรงเรียนของโรงเรียนระดับประถมศึกษามากที่สุด คือ การจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน โดยโรงเรียนที่มีการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า จะมีโอกาสในการกลับมาเปิดโรงเรียนได้อีกครั้งมากกว่าโรงเรียนที่จัดการสภาพแวดล้อมได้ไม่ดี ถึง 2 เท่า (B = 2.047, CI = 1.428-2.934, P-value = .000) ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าภายใต้ข้อกำหนดธีม (Theme) วิถีชีวิตปกติใหม่ (New Normal); การสื่อสารความเสี่ยง (Communication); ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและภาคีเครือข่าย (Stakeholder and Networks); การป้องกันและการควบคุมโรค (Caution and Control); โรงเรียนรอบรู้ (Health Literate School); มาตรการตอบโต้เผชิญเหตุ (Operating); การจัดการองค์กร (Organizational practice); และนโยบาย มาตรการ (Legislation) ซึ่งสามารถนำโปรแกรมพัฒนาทั้ง 3 รูปแบบไปประยุกต์ในโรงเรียนตามแต่บริบทของโรงเรียนได้อย่างหลากหลายและสร้างความยั่งยืน โดยการใช้การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมใน 4 องค์ประกอบสำคัญในการลดผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์โรคติดต่อในอนาคต สรุปผลการวิจัย รูปแบบการจัดการโรงเรียนในรูปแบบที่ 1 ซึ่งเป็นโปแกรมโรงเรียนรอบรู้เรียนรู้อยู่กับโรคโควิด-19 มีประสิทธิภาพสูงสุด รูปแบบที่ 2 คือ แบบกึ่งเต็มรูปแบบ โดยโรงเรียนมีเอกสารวัสดุและเครื่องมือครบถ้วนและให้นักเรียนเข้าถึงด้วยตนเอง มีประสิทธิภาพรองลงมา เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบที่ 3 คือ รูปแบบมาตรฐาน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ผู้บริหารโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้อง ควรนำแนวคิดทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการใช้นโยบายมาตรการการจัดการในโรงเรียน 2) ด้านการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงเรียน และ 4) ด้านการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย นำไปปรับปรุงลดช่องว่างด้านการมีระบบข้อมูลสำรวจความพร้อมด้านการเรียนรู้ ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาการศึกษา เพื่อจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน การเข้าถึงเทคโนโลยี ทั้งภาพรวมและเป็นรายพื้นที่ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและสุขอนามัย การเฝ้าระวังในภาพรวมและในระดับพื้นที่โรงเรียนและจากผลการวิจัยเรื่องปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนในสถานการณ์วิกฤติ คือ การจัดการปัจจัยสิ่งแวดล้อมให้สะอาดปลอดภัยเอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงเรียนได้
บทคัดย่อ
Schools are places that are at very high risk of the spread of the COVID-19 virus and are made up of large numbers of people, including students, teachers or caregivers, and parents. Therefore, there is a risk of spreading the virus easily. In light of the COVID-19 pandemic, the subsequent closure of educational institutions has caused more than 1.5 billion students, or more than 90% of all students in the world, to be affected in the learning process. Objectives: to present educational management guidelines in preparation for the new normal that will occur after the COVID-19 crisis. Reasons for the importance of conducting research on a new normal living model of upper elementary school students in the COVID-19 outbreak with school-based management in the upper southern provinces This research model uses mixed methods, both quantitative and qualitative research methods. and qualitative research methods. The project started from June 1, 2021 to May 31, 2022. A participatory action research study was conducted. Participatory Action Research (PAR) together with qualitative data collection. by group chat the operation was divided into 3 phases by using the educational institute area to represent the upper primary schools in the upper southern provinces, totaling 7 provinces, one for each province using the selection criteria from the primary schools under the jurisdiction. According to the context and size of the school, OBEC or the municipality may apply for participation. It is a large school and teaches from kindergarten to upper elementary school in 7 provinces in the upper southern part of Thailand. Based on the above criteria, the 7 participating schools were: Kindergarten in Phang Nga Province and Kindergarten in Ranong Province. Chumphon Kindergarten Krabi Kindergarten, Phuket Kindergarten, Surat Thani Province and the Municipality International School Nakhon Si Thammarat, Thailand Sample calculation and sample selection (Sample size and sample selection) The study population consisted of primary school students in grades 4-6 and teachers in teacher schools in large primary schools in the 7 upper southern provinces; 4,635 grade 4-6 students and 712 teachers. A total of 5,347 people were included in the sample group. with qualitative data collection by group discussion with teachers and related people of students and schools, such as parents, Sub-District Administrative Organization health workers, health promotion hospitals, and parents, a total of 15 people per school. The sample group was calculated using the Kracy & Morgan formula, totaling 1,530/235, using a simple random sampling method, totaling 1,765 students. The objectives were to study the following data in upper primary schools in 7 provinces in the region. Thailand's Upper South 1) to evaluate the situational experience of adjusting to a new normal lifestyle during the COVID-19 outbreak 2) To develop and evaluate a new normal life model for upper elementary school students affected by the COVID-19 outbreak with school-based management, and 3) To pass on a new normal life model for upper elementary school students affected by the COVID-19 outbreak with school-based management. The majority of the students who received this research were female (54.5%), aged 11 years (29.28%), and in grade 6 (36.4%). Overall preparedness for management on the overall COVID-19 outbreak was high (74.0%) across all components, according to the DMHT-RC measure. Overall, 75.5 percent of students' health literacy was found. The average of all 6 components, which were at a relatively high level (60-80 percent), showed that the teachers had average scores in literacy and cognitive health, and the overall picture was at the most correct level (mean 4.97, SD = 0.86). Practices against the COVID-19 outbreak are at a high level (Mean = 93.24, SD = 15.41). In the second phase, the model school development activities were conducted by a participatory workshop for 10 hours, totaling 2 days of operation. Nakhon Si Thammarat volunteered to participate. There were 330 students in grades 4-6, 49 administrators and teachers to develop an epidemic prevention management model. COVID-19 to the new normal by using the school as a base, it was found that there were 3 development patterns, namely the full development model. full and standard. The program provides knowledge using four components: school management, Health Literate School (HLS) development, environmental management, and school safety (EH&S) and Participation and Partnerships The productivities including Handbooks policies model, measures model, and response plans of schools in the form of electronic media, posters, and e-books, it was found that in the second phase, the schools that developed the literacy program had the effectiveness of the program with the mean scores of the two groups that differed significantly higher than the other two formats. COVID-19 prevention behaviors and average knowledge score After the training using the school program, statistically significantly higher than before the program. In the third phase, from the study of factors affecting school readiness for school reopening using Binary logistic regression statistics, it was found that factors affecting school reopening of the primary school is the management of the school environment. by a school with a better managed environment is twice as likely to reopen as schools with poor environmental management (B = 2.047, CI = 1.428-2.934, P-value = .000). Due to the qualitative study results found under the theme requirements, new normal life (New Normal); risk communication. (Communication); Stakeholders and Networks; Disease prevention and control (Caution and Control); Health Literate School; Countermeasures to respond to incidents (Operating); organization management (Organizational practice); and policies, measures (Legislation) which can bring the development program to 3 The model can be applied in the school according to the school context in a variety of ways. and create sustainability by utilizing participatory development in four key elements to mitigate the potential negative impacts of future changes in the communicable disease situation. Survey information system for learning readiness in schools must be improved. Four areas must be addressed: policy implementation, management measures, health literacy development, environmental management and school safety. Spatial information for educational advancement, access to technology and preventative care for security and cleanliness should be used.