Show simple item record

The Development of a Participatory Healthy Public Policy in Prevention of Corona Virus Disease 2019 (COVID-19) in Muang District, Trang Province

dc.contributor.authorจรูญรัตน์ รอดเนียมth_TH
dc.contributor.authorJaroonrat Rodniamth_TH
dc.contributor.authorประไพพิศ สิงหเสมth_TH
dc.contributor.authorPrapapis Singhasemth_TH
dc.contributor.authorไกรสร โตทับเที่ยงth_TH
dc.contributor.authorKraisorn Tohtubtiangth_TH
dc.contributor.authorปรีดา สาราลักษณ์th_TH
dc.contributor.authorPreeda Saraluckth_TH
dc.contributor.authorวรารัตน์ ทิพย์รัตน์th_TH
dc.contributor.authorWararat Tiparatth_TH
dc.contributor.authorวราณี สัมฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorWaranee Sumritth_TH
dc.contributor.authorรัชพล สัมฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorRatchapol Sumritth_TH
dc.contributor.authorอุราวดี อุทัยเวียนกุลth_TH
dc.contributor.authorUravadee Uthaiveankulth_TH
dc.contributor.authorเบญจวรรณ ช่วยแก้วth_TH
dc.contributor.authorBenjawan Chuaykaewth_TH
dc.contributor.authorพรรณปพร ชุนหบดีth_TH
dc.contributor.authorPunpaphon Chunhabordeeth_TH
dc.contributor.authorกนกพรรณ พรหมทองth_TH
dc.contributor.authorKanokpan Promtongth_TH
dc.date.accessioned2022-08-18T07:25:59Z
dc.date.available2022-08-18T07:25:59Z
dc.date.issued2565-05
dc.identifier.otherhs2860
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5714
dc.description.abstractการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง และเพื่อติดตามและประเมินผลการใช้นโยบายสาธารณะฯ กลุ่มเป้าหมายที่เก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) กลุ่มนักวิชาการหรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ 2) กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) กลุ่มประชาชนหรือภาคประชาสังคม จำนวน 94 คน และ 2. ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 384 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาสถานการณ์ของปัญหา 2) การพัฒนานโยบายฯ และนำนโยบายฯ ไปทดลองใช้ 3) การประเมินนโยบายสาธารณะร่วมกับการพัฒนากระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ซึ่งในระยะนี้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การก่อตัวของประเด็นเชิงนโยบาย 2) การก่อรูปนโยบายหรือการกำหนดทางเลือกเชิงนโยบาย 3) การตัดสินใจทางนโยบาย 4) การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และ 5) การติดตามและประเมินผลนโยบาย โดยมีการดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 – พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวทางการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม การสังเกตและการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า ขั้นที่ 1 การก่อตัวของประเด็นเชิงนโยบาย เกิดจากปัญหาการระบาดของโรคในชุมชน โดยมีการดำเนินการป้องกัน ควบคุมการระบาดของโรคภายใต้คณะกรรมการตามระบบบัญชาการเหตุการณ์และศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public Health Emergency Operation Center : PHEOC) ร่วมกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ขั้นที่ 2 การก่อรูปนโยบายหรือการกำหนดทางเลือกเชิงนโยบาย โดยข้อเสนอจากกลุ่มนักวิชาการ คือ มาตรการ 5 เร่ง ที่ครอบคลุมถึงการค้นหาผู้ติดเชื้อ รักษาผู้ติดเชื้อ การฉีดวัคซีน การรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) รวมถึงการเยียวยาจิตใจผู้ติดเชื้อ กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ มีการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ข้อมูล การจัดหาอุปกรณ์และสาธารณูปโภคที่จำเป็นสำหรับกักกันอยู่ในบ้านและชุมชน และกลุ่มประชาชนหรือภาคประชาสังคม คือ มาตรการการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจาก COVID–19 (COVID Free Setting) โดยมุ่งเน้นสถานที่สำคัญ ได้แก่ 5ร 1ต ประกอบด้วย 1ร : ร้านอาหาร 2ร : โรงเรียน 3ร : โรงพยาบาล 4ร : โรงงาน 5ร : โรงแรม และ 1ต : ตลาด เมื่อกำหนดนโยบายสาธารณะแล้วได้มีการดำเนินการตัดสินใจทางนโยบาย การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ มีการติดตามและการประเมินผลนโยบาย พบว่า ประชาชนมีการปฏิบัติตามมาตรการฯ อยู่ในระดับมาก (M=2.62, SD=0.28) มีความพึงพอใจต่อนโยบายสาธารณะฯ อยู่ในระดับมาก (M=8.30, SD=1.69) และประชาชนมีส่วนร่วมระดับมาก (M=8.45, SD=1.57) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง เกิดขึ้นภายใต้การมีส่วนร่วมของบุคลากรภาครัฐ เอกชนและประชาชน โดยมีการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะฯ ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectCOVID-19--Prevention and Controlth_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณะth_TH
dc.subjectPublic Policyth_TH
dc.subjectParticipatory Action Researchth_TH
dc.subjectHealth--Public Policyth_TH
dc.subjectสุขภาพ--นโยบายของรัฐth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในอำเภอเมือง จังหวัดตรังth_TH
dc.title.alternativeThe Development of a Participatory Healthy Public Policy in Prevention of Corona Virus Disease 2019 (COVID-19) in Muang District, Trang Provinceth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis participatory action research (PAR) aimed to 1) develop a participatory public policy for the prevention of coronavirus disease 2019 (COVID-19) in Muang District, Trang Province, and 2) monitor and evaluate the implementation of public policy. The target groups for collecting data were divided into 2 groups: qualitative data, consisting of 1) a group of scholars or people working in a government agency, 2) a group of executives of a local government organization, and 3) a group of 94 people or civil society groups, and quantitative data consisting of 384 people in the targeted areas. The research was divided into 3 phases, namely 1) the study of the situation of the problem, 2) the policy development and the policy trial, and 3) the public policy assessment together with the development of public policy driving processes for health. In this phase, there were 5 steps as follows: 1) Formation of policy issues, 2) Public policy formation, 3) Public policy decision making, 4) Implementation of public policy, and 5) Monitoring and public policy evaluation. The research was conducted between April 2021 – May 2022. The research instruments consisted of a group discussion guideline, in-depth interviews, questionnaires, observations, and learning exchange forums (lesson learned). The results showed that the first step was the formation of policy issues caused by the problem of disease outbreaks in the community with preventive actions control of outbreaks under a committee based on the incident command system and the Public Health Emergency Operation Center (PHEOC) together with community participation. The proposal from a group of scholars included an accelerated measure that covers the active case finding, treating infected people, vaccination, campaigning for people to follow universal prevention measures, as well as healing infected people’s minds. The local government organizations support public relations information, equipment, and utilities that were necessary for home and community quarantine. Measures done by the people's groups or civil society, were to create a safe area from COVID-1 9 (COVID Free Setting), focusing on important places, including restaurants, schools, hospitals, factories, hotels, and markets. Once the public policy has been formulated, then policy decisions have been made. The policy has been implemented in the communities. There was the monitoring and evaluation of the policy implementation. It was found that people have followed the measures at a high level (M=2.62, SD=0.28). They were satisfied with the public policy at a high level (M=8.30, SD=1.69), and their participation was at a high level (M=8.45, SD=1.57). The findings suggest that the development of participatory public policy in the prevention of coronavirus disease 2019 (COVID-19) in Muang District, Trang Province arose under the participation of government personnel, the private sector, and the people in communities. They have driven the public policy concretely.th_TH
dc.identifier.callnoWC503 จ181ก 2565
dc.identifier.contactno64-067
.custom.citationจรูญรัตน์ รอดเนียม, Jaroonrat Rodniam, ประไพพิศ สิงหเสม, Prapapis Singhasem, ไกรสร โตทับเที่ยง, Kraisorn Tohtubtiang, ปรีดา สาราลักษณ์, Preeda Saraluck, วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, Wararat Tiparat, วราณี สัมฤทธิ์, Waranee Sumrit, รัชพล สัมฤทธิ์, Ratchapol Sumrit, อุราวดี อุทัยเวียนกุล, Uravadee Uthaiveankul, เบญจวรรณ ช่วยแก้ว, Benjawan Chuaykaew, พรรณปพร ชุนหบดี, Punpaphon Chunhabordee, กนกพรรณ พรหมทอง and Kanokpan Promtong. "การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5714">http://hdl.handle.net/11228/5714</a>.
.custom.total_download107
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year24
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs2860.pdf
Size: 3.507Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record