แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การจัดทำระบบทะเบียนผู้ป่วยผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงแบบสหสถาบันแบบครบวงจร (ปีที่ 2)

dc.contributor.authorเจตทะนง แกล้วสงครามth_TH
dc.contributor.authorJettanong Klaewsongkramth_TH
dc.contributor.authorภาวิณี ฤกษ์นิมิตรth_TH
dc.contributor.authorPawinee Rerknimitrth_TH
dc.contributor.authorยุทธนา ศรีนวลประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorYuttana Srinoulprasertth_TH
dc.contributor.authorสุปราณี บูรณประดิษฐ์กุลth_TH
dc.contributor.authorSupranee Buranapraditkunth_TH
dc.contributor.authorทิชา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์th_TH
dc.contributor.authorTicha Rerkpattanapipatth_TH
dc.contributor.authorกุมุทนาถ จันทร์ประภาพth_TH
dc.contributor.authorKumutnart Chanprapaphth_TH
dc.contributor.authorปภาพิต ตู้จินดาth_TH
dc.contributor.authorPapapit Tuchindath_TH
dc.contributor.authorลีนา จุฬาโรจน์มนตรีth_TH
dc.contributor.authorLeena Chularojanamontrith_TH
dc.contributor.authorชุติกา ศรีสุทธิยากรth_TH
dc.contributor.authorChutika Srisutthiyakornth_TH
dc.contributor.authorวรีพร ดิสภานุรัตน์th_TH
dc.contributor.authorWareeporn Disphanuratth_TH
dc.contributor.authorพัลลภ จักรวิทย์ธำรงth_TH
dc.contributor.authorPanlop Chakkavittumrongth_TH
dc.contributor.authorนภัทร โตวณะบุตรth_TH
dc.contributor.authorNapatra Tovanabutrath_TH
dc.contributor.authorชลภัทร สุขเกษมth_TH
dc.contributor.authorChonlaphat Sukasemth_TH
dc.date.accessioned2022-08-22T07:50:31Z
dc.date.available2022-08-22T07:50:31Z
dc.date.issued2565-07
dc.identifier.otherhs2870
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5719
dc.description.abstractผู้ป่วยผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรง จำนวน 195 ราย ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมในการวิจัยนี้ ผลการศึกษาพบว่าผื่นแพ้ยาชนิด Steven-Johnson syndrome/toxic epidermal necrolysis (SJS/TEN) และ drug reaction with eosinophilia and systemic symptom (DRESS) มีสาเหตุจากกลุ่มยาที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งแตกต่างจากผื่นแพ้ยาชนิด acute generalized exanthematous pustulosis (AGEP) ผื่นชนิด SJS/TEN, ผู้ป่วยสูงอายุ, อัตราส่วน neutrophil/lymphocyte ratio (NLR) ที่สูงและการติดเชื้อรุนแรง เป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล จึงควรมีการศึกษายืนยันในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ว่าการใช้ NLR มีประโยชน์ช่วยพยากรณ์การเสียชีวิตในผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงจริงหรือไม่ การตรวจวัดจำนวนของ drug-induced IFN-gamma (IFN-γ), granzyme B และ IL-22 releasing cells ช่วยวินิจฉัยยืนยันชนิดของยาที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้ได้ถึงร้อยละ 77.80 ของผู้ป่วยทั้งหมด ในขณะที่การเติม α-GalCer ในหลอดทดลองช่วยเพิ่มจำนวนของ drug-induced IFN-γ releasing cells ให้สูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามควรมีการวิจัยเพื่อสรุปหาวิธีทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมในการวินิจฉัยสาเหตุของผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงและมีความคุ้มค่าในทางเวชปฏิบัติต่อไป แม้ว่า SJS/TEN และ DRESS จะเกิดจากกลุ่มยาที่คล้ายคลึงกัน อาการแสดงทางคลินิกและการพยากรณ์โรคในระยะยาวกลับมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการตายของเซลล์ผิวหนังใน SJS/TEN ส่วนหนึ่งเกิดจาก drug-specific exosomes ที่หลั่งออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดขาวหลังการกระตุ้นด้วยยาที่แพ้ในผู้ป่วย SJS/TEN แต่ไม่ใช่ในผู้ป่วย DRESS โดยพบว่ามีความแตกต่างของ exosomal microsomal RNAs 5 ชนิด (miRNA-486-5p, miRNA-183-5p, miRNA-96-5p, miRNA-132-3p และ miRNA4488) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างผู้ป่วยแพ้ยาชนิด SJS/TEN และ DRESS จากการตรวจยืนยันด้วยวิธี microRNA sequencing พบว่า exosomal miRNAs เหล่านี้มีบทบาทการควบคุมการตายของเซลล์ผิวหนังในผื่น SJS/TEN และอาจนำการใช้ exosome inhibitors เพื่อยับยั้งการดำเนินโรคของ SJS/TEN จึงควรได้รับการศึกษาต่อไป นอกจากนั้นแล้วการวิจัยนี้พบความแตกต่างกันของ regulatory T cells (Treg) ระหว่างผู้ป่วยผื่นแพ้ยาชนิด SJS/TEN และ DRESS โดยพบว่าในขณะที่ Tregs ในผู้ป่วย DRESS ถูกกระตุ้นให้มีการทำงานเพิ่มขึ้นในช่วงที่เกิดผื่นแพ้ยาเฉียบพลัน (acute drug allergic phase) หน้าที่ของ Tregs ในการควบคุมและยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันกลับเสื่อมสภาพลงในผู้ป่วย DRESS เมื่อเทียบกับผู้ป่วย SJS/TEN เมื่อติดตามในระยะยาว (recovery phase) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ Treg mRNA profiles ในช่วงที่เกิดผื่นแพ้ยาเฉียบพลันแสดงให้เห็นว่ายีนที่เกี่ยวข้องกับ genes regulating T cell differentiation และยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการสร้าง interleukin-10 มีการแสดงออกที่ลดลงในผู้ป่วย DRESS กลุ่มที่เกิด autommune consequences ขึ้นภายหลังจากการตรวจเลือดที่เก็บในระยะผื่นแพ้เฉียบพลัน เมื่อเทียบกับประชากรปกติจึงมีความเป็นไปได้ที่จะใช้ลักษณะทางพันธุกรรมดังกล่าวมาช่วยทำนายว่าผู้ป่วย DRESS รายใดจะเกิดภาวะภูมิแพ้เนื้อเยื่อตนเองเป็นภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการแพ้ยาth_TH
dc.subjectผื่นแพ้ยาth_TH
dc.subjectDrug Allergyth_TH
dc.subjectDrug Hypersensitivityth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrug Usersth_TH
dc.subjectImmunityth_TH
dc.subjectภูมิคุ้มกันth_TH
dc.subjectImmune Systemth_TH
dc.subjectระบบภูมิคุ้มกันth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการจัดทำระบบทะเบียนผู้ป่วยผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงแบบสหสถาบันแบบครบวงจร (ปีที่ 2)th_TH
dc.title.alternativeMulticenter Registry of Patients with Severe Cutaneous Adverse Reactions (SCARs) to Drugs in Thailand (Year 2)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeOne-hundred-five patients diagnosed with drug-induced severe cutaneous adverse reactions (SCARs) were recruited for this study. The results demonstrated that Steven-Johnson syndrome/toxic epidermal necrolysis (SJS/TEN) and drug reaction with eosinophilia and systemic symptom (DRESS) were caused by similar culprit drug groups, which were different from acute generalized exanthematous pustulosis (AGEP). SJS/TEN phenotype, advanced age, high neutrophil/lymphocyte ratio (NLR) and systemic infections independently increased the risk of in-hospital mortality. The application of NLR to predict mortality in SCARs should be reconfirmed in a large-scale study. The combined measurement of drug-induced IFN-gamma (IFN-γ), granzyme B and IL-22 releasing cells could confirm the causative drugs in 77.8% of SCAR subjects, while α-GalCer supplementation significantly increased the frequencies of drug-induced IFN-γ releasing cells. The appropriate in vitro test panel yields optimal diagnostic values, and cost-effectiveness should be determined. Although SJS/TEN and DRESS are caused by similar drug groups, clinical manifestations and long-term prognosis are clearly different. Our study suggested that keratinocyte death observed in SJS/TEN was partly due to drug-specific exosomes released from peripheral blood mononuclear cells upon stimulation with the culprit drugs in SJS/TEN, but not in DRESS. Five exosomal microsomal RNAs (miRNA-486-5p, miRNA-183-5p, miRNA-96-5p, miRNA-132-3p and miRNA4488) were confirmed statistically different between SJS/TEN and DRESS by microRNA sequencing. The regulatory roles of these exosomal miRNAs on keratinocyte death in SJS/TEN and might be used as the therapeutic roles of exosome inhibitors to prevent SJS/TEN progression warrant further study. The different fates of regulatory T cells (Treg) were observed between SJS/TEN and DRESS patients. While Treg functions in DRESS were stimulated during the acute drug allergic phase, the regulatory/suppressive functions of Tregs in DRESS were subsequently diminished compared to SJS/TEN when followed up during the recovery phase. According to the comparative analyses of Treg mRNA profiles during the acute drug allergic phase, genes regulating T cell differentiation and genes regulating interleukin-10 production were found downregulated in DRESS patients who developed autoimmune consequences compared to healthy individuals and might be used as prognostic factors for long-term complications in DRESS subjects.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 จ690ก 2565
dc.identifier.contactno64-002
dc.subject.keywordSevere Cutaneous Adverse Reactionsth_TH
dc.subject.keywordSCARsth_TH
dc.subject.keywordระบบทะเบียนผู้ป่วยth_TH
dc.subject.keywordผื่นแพ้ยาเฉียบพลันth_TH
dc.subject.keywordผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงth_TH
.custom.citationเจตทะนง แกล้วสงคราม, Jettanong Klaewsongkram, ภาวิณี ฤกษ์นิมิตร, Pawinee Rerknimitr, ยุทธนา ศรีนวลประเสริฐ, Yuttana Srinoulprasert, สุปราณี บูรณประดิษฐ์กุล, Supranee Buranapraditkun, ทิชา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์, Ticha Rerkpattanapipat, กุมุทนาถ จันทร์ประภาพ, Kumutnart Chanprapaph, ปภาพิต ตู้จินดา, Papapit Tuchinda, ลีนา จุฬาโรจน์มนตรี, Leena Chularojanamontri, ชุติกา ศรีสุทธิยากร, Chutika Srisutthiyakorn, วรีพร ดิสภานุรัตน์, Wareeporn Disphanurat, พัลลภ จักรวิทย์ธำรง, Panlop Chakkavittumrong, นภัทร โตวณะบุตร, Napatra Tovanabutra, ชลภัทร สุขเกษม and Chonlaphat Sukasem. "การจัดทำระบบทะเบียนผู้ป่วยผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงแบบสหสถาบันแบบครบวงจร (ปีที่ 2)." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5719">http://hdl.handle.net/11228/5719</a>.
.custom.total_download26
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year4

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2870.pdf
ขนาด: 2.359Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย