บทคัดย่อ
โรงพยาบาลนครพนมมีภารกิจหลักทั้งด้านการให้บริการผู้ป่วยในจังหวัดนครพนม จังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งนักท่องเที่ยวเดินทางข้ามพรมแดนจากแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) แต่เนื่องจากระเบียบด้านความมั่นคง ทำให้เกิดความล่าช้า มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานระบบส่งต่อผู้ป่วยข้ามพรมแดน 2) เพื่อการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยข้ามพรมแดน วิธีการ: ใช้การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 31 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความตรง (IOC) 0.67-1.00 ค่าความเที่ยง = 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การศึกษามี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงานส่งต่อผู้ป่วย 2) พัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วย 3) ทดสอบระบบส่งต่อผู้ป่วย 4) ประเมินระบบการส่งต่อผู้ป่วย ผลการศึกษา: 1) สภาพปัญหาการดำเนินงานระบบส่งต่อผู้ป่วยข้ามพรมแดน พบว่า (1) ความพร้อมของบุคลากรในการดูแลระหว่างส่งต่อข้ามพรมแดน (2) การเคลื่อนย้ายของบุคลากรที่ทำหน้าที่ส่งต่อผู้ป่วยข้ามพรมแดน (3) ระบบทางด่วนฉุกเฉินในช่วงสถานการณ์โควิด-19 (4) ข้อจำกัดการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางของประเทศไทย (5) การประสานงานตามระเบียบ กฎหมายระหว่างประเทศ (6) ระบบข้อมูลผู้ป่วยก่อนส่งต่อผู้ป่วยผ่าน khammouane refer (7) ไม่สามารถให้รถพยาบาลผ่านประเทศพรมแดนได้ (8) ปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศและสถานการณ์พิเศษ (9) ความต้องการของญาติผู้ป่วยที่ต้องติดตามมาเพื่อดูแลผู้ป่วย และ (10) ความแออัดในช่องทางจราจรจากโรงหมอแขวงคำม่วนมาที่โรงพยาบาลนครพนม 2) การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยข้ามพรมแดน มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนาบุคลากร มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ (1) ระบบพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลระหว่างส่งต่อ (2) ระบบอภิบาลบุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ ในการส่งต่อ 2) พัฒนาแนวปฏิบัติ มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ (1) แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคที่สำคัญ (2) ระบบทางด่วนฉุกเฉินและปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง 3) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ (1) การประสานงานตามระเบียบ กฎหมายระหว่างประเทศ (2) ระบบข้อมูลผู้ป่วยก่อนส่งต่อผู้ป่วยผ่าน khammouane refer และความพึงพอใจต่อระบบส่งต่อผู้ป่วยข้ามพรมแดน พบว่า 1) พึงพอใจต่อการพัฒนาบุคลากรในระดับมาก (x ̅ = 4.49, SD. = 0.51) โดยองค์ประกอบย่อย 1.1) พึงพอใจต่อระบบพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลระหว่างส่งต่อในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.59, SD. = 0.49) 1.2) พึงพอใจต่อระบบอภิบาลบุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ ในการส่งต่อในระดับมาก (x ̅ = 4.39, SD. = 0.52) 2) พึงพอใจต่อการพัฒนาแนวปฏิบัติในการส่งต่อข้ามพรมแดน ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.56, SD. = 0.50) โดยองค์ประกอบย่อย 2.1) พึงพอใจต่อแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคที่สำคัญ ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.55, SD. = 0.50) 2.2) พึงพอใจต่อระบบทางด่วนฉุกเฉินและปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.58, SD. = 0.50) 3) พึงพอใจต่อระบบข้อมูลสารสนเทศ ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.63, SD. = 0.48) โดยองค์ประกอบย่อย 3.1) พึงพอใจต่อการประสานงานตามระเบียบ กฎหมายระหว่างประเทศ ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.61, SD. = 0.49) 3.2) พึงพอใจต่อระบบข้อมูลผู้ป่วยก่อนส่งต่อผู้ป่วยผ่าน khammouane refer ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.66, SD. = 0.48) สรุปผลการศึกษา: ระบบส่งต่อผู้ป่วยข้ามพรมแดนที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีแผนการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคที่สำคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ
บทคัดย่อ
Background: Nakhon Phanom Hospital has the main mission of serving patients in Nakhon Phanom Province, neighboring provinces, including tourists traveling across the border from Khammouane Province, Lao PDR, but due to security regulations cause delay, and there's costs more. Objective: 1) To study the problem condition of the cross-border referral system 2) To develop the cross-border referral system Methods: The purposive sampling was used by 31 persons. The instrument was a satisfaction questionnaire with accuracy (IOC) 0.67-1.00, reliability equal 0.91. the data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The study consisted of 4 steps: 1) to study the problem condition of patient referral operation 2) develop the referral system 3) test the referral system 4) evaluate the referral system. Results: 1) Important issues in the operation of the cross-border referral system were (1) the availability of care personnel during cross-border referrals; (2) the movement of personnel who refer patients across borders; (3) the emergency expressway system during the situation. COVID-19 (4) Limitations of consulting specialists in Thailand (5) Coordination according to regulations International law (6) Information system before referral via khammouane refer (7) Ambulance cannot be delivered through border country (8) Problems with national security and special circumstances (9) the needs of the patient's relatives who must be accompanied to take care of the patient; and (10) Traffic jam from Khammuan Sub-District Hospital to Nakhon Phanom Hospital. 2) The cross-border referral system consists of 3 components: 1) Human resource development by subcomponent (1) the personnel capacity development system in providing care during referral (2) the personnel governance system and transfer equipment 2) the development of the guidelines aspects by subcomponent (1) the guidelines for caring for patients with critical illnesses (2) the emergency expressway system and consulted a specialist 3) the development of information systems by subcomponent (1) the coordination according to the regulation international law (2) the information system before referral via khammouane refer, the level of satisfaction with the referral system across border found that 1) Human resource development at a high level (x ̅ = 4.49, SD. = 0.51) by subcomponent 1.1) Satisfied with the personnel capacity development system in providing care during referral at a high level. (x ̅ = 4.59, SD. = 0.49) 1.2) Satisfied with the personnel governance system and transfer equipment at a high level (x ̅ = 4.39, SD. = 0.52) 2) Satisfied with the development of the guidelines aspects at the highest level (x ̅ = 4.56, SD. = 0.50) by subcomponent 2.1) Satisfied with the guidelines for caring for patients with critical illnesses at the highest level (x ̅ = 4.55, SD. = 0.50) 2.2) Satisfied with the emergency expressway system and consulted a specialist at the highest level (x ̅ = 4.58, SD. = 0.50) 3) Satisfied with the development of information systems at the highest level (x ̅ = 4.63, SD. = 0.48) by subcomponent 3.1) Satisfied with the coordination according to the regulation international law at the highest level (x ̅ = 4.61, SD. = 0.49) 3.2) Satisfied with the patient information system before referral via khammouane refer at the highest level (x ̅ = 4.66, SD. = 0.48) Conclusion: An effective cross-border referral system requires a personnel development plan. Development of guidelines for caring for critically ill patients as well as the development of information systems to provide quality services to patients.