Show simple item record

Cost-Utility Analysis of Polysomnography (PSG) for Diagnosis Obstructive Sleep Apnea in Thailand

dc.contributor.authorเชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศth_TH
dc.contributor.authorCherdchai Nopmaneejumruslersth_TH
dc.date.accessioned2022-09-23T07:05:47Z
dc.date.available2022-09-23T07:05:47Z
dc.date.issued2565-09
dc.identifier.otherhs2884
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5736
dc.description.abstractโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (obstructive sleep apnea : OSA) เป็นโรคที่พบได้บ่อย สำหรับประเทศไทยมีผลการศึกษา พบว่า มีความชุกของ OSA ร้อยละ 15.4 ในผู้ชาย และร้อยละ 6.3 ในผู้หญิง โรค OSA เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากยานพาหนะหรือจากการทำงาน และทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (cardiac arrhythmia) โรคความดันโลหิตสูง (HT) โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ (CAD) ภาวะหัวใจวาย (CHF) ภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว (AF) โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและอื่นๆ รวมถึงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและลดอายุขัยของผู้ป่วยโดยการตรวจวินิจฉัยโรค OSA โดยการตรวจการนอนหลับ ชนิดที่ 1 เป็นการตรวจมาตรฐาน (gold standard) สำหรับวินิจฉัยและประเมินความรุนแรง เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา การรักษาด้วยวิธีไม่ต้องผ่าตัดโดยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องเป็นวิธีการรักษาที่สามารถรักษาผู้ป่วยโรค OSA ได้ตั้งแต่ระดับน้อยถึงระดับรุนแรง รวมถึงยังให้ผลการรักษาได้ดีกว่าการรักษาด้วยทันตอุปกรณ์ อย่างไรก็ตามเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (continuous positive airway pressure : CPAP) มีราคาสูงและยังเบิกจ่ายได้เฉพาะผู้ป่วยที่มีสิทธิข้าราชการ แต่ผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังไม่สามารถเบิกค่าตรวจ PSG และ CPAP ได้ ทำให้มีข้อจำกัดของการเข้าถึงการรักษาดังกล่าว การศึกษานี้เพื่อประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบด้านงบประมาณของการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค OSA สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยโรค OSA ในประเทศไทย ในการพิจารณาการขยายขอบเขตของการเบิกจ่ายในผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรค OSA ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและเป็นภาระทางงบประมาณในการรักษาของประเทศ โดยใช้แบบจำลองการตัดสินใจแบบต้นไม้ (Decision Tree) และแบบจำลองมาร์คอฟทำการวิเคราะห์ต้นทุนและผลลัพธ์ทางสุขภาพตลอดชีวิตในมุมมองทางสังคมและมุมมองของรัฐบาล ต้นทุนที่ศึกษาเป็นต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวกับการแพทย์และไม่เกี่ยวกับการแพทย์ ผลลัพธ์ทางสุขภาพ ได้แก่ ปีสุขภาวะของผู้ป่วย ผลการศึกษานำเสนอในรูปอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (Incremental Cost-effectiveness Ratio : ICER) ทำการประเมินผลกระทบของความไม่แน่นอนของตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองโดยวิธีการวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียวและแบบอาศัยความน่าจะเป็น ผลการศึกษาพบว่าการตรวจวินิจฉัยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ทั้ง 2 วิธี ประกอบด้วย Full-night PSG และ Split-night PSG ร่วมกับการรักษาด้วย CPAP มีความคุ้มค่าในบริบทประเทศไทย ณ เกณฑ์ความเต็มใจจ่ายที่ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ เมื่อเทียบกับการไม่ตรวจวินิจฉัยและไม่ให้การรักษา โดยการตรวจด้วยวิธี Full-night PSG ร่วมกับการรักษาด้วย CPAP ในผู้ป่วยทุกกลุ่ม เฉพาะกลุ่มที่มีความรุนแรงระดับปานกลางและรุนแรงมากและเฉพาะกลุ่มที่มีความรุนแรงมาก มีค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม 86,635 – 90,014 บาทต่อปีสุขภาวะ สำหรับการตรวจด้วยวิธี Split-night PSG มีค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม 85,733 - 88,877 บาทต่อปีสุขภาวะ ภาระงบประมาณ 5 ปี ของกรณีไม่เพิ่มความสามารถในการตรวจ หากตรวจด้วยวิธี Full-night PSG จะมีภาระงบประมาณระหว่าง 1,181 - 2,054 ล้านบาท และหากตรวจด้วยวิธี Split-night PSG จะมีภาระงบประมาณเท่ากับ 1,118 - 1,999 ล้านบาท กรณีที่เพิ่มความสามารถในการตรวจร้อยละ 30 ต่อปี หากตรวจด้วยวิธี Full-night PSG จะมีภาระงบประมาณระหว่าง 2,204 – 3,730 ล้านบาท และหากตรวจด้วยวิธี Split-night PSG จะมีภาระงบประมาณเท่ากับ 2,084 – 3,631 ล้านบาทth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการนอนหลับth_TH
dc.subjectหยุดหายใจขณะหลับth_TH
dc.subjectPolysomnographyth_TH
dc.subjectSleep Apnea, Obstructiveth_TH
dc.subjectSleep Apnea, Obstructive--Diagnosisth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicsth_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectCost--Analysisth_TH
dc.subjectCost-Benefit Analysisth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ความคุ้มทุนth_TH
dc.subjectงบประมาณทางการแพทย์th_TH
dc.subjectค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล--การวิเคราะห์ต้นทุนth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์--ค่าใช้จ่ายth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์--การวิเคราะห์ต้นทุนth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectUniversal Health Coverageth_TH
dc.subjectสิทธิประโยชน์th_TH
dc.subjectสิทธิประโยชน์--การคุ้มครองth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการตรวจวินิจฉัยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นด้วยการทดสอบการนอนหลับแบบละเอียด Polysomnography (PSG) ในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeCost-Utility Analysis of Polysomnography (PSG) for Diagnosis Obstructive Sleep Apnea in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: Obstructive sleep apnea (OSA) was the most common sleep-related breathing disorder. The prevalence of OSA was 15.4 in males and 6.3 in females in Thai population. OSA increased risk of car incidence and cardiovascular diseases and reduced quality of life. Level 1 polysomnography (PSG) was a precision method of OSA diagnosis. To grade the severity of sleep apnea, the number of events per hour was reported as the apneahypopnea index (AHI). Continuous positive airway pressure (CPAP) was the most common treatment for obstructive sleep apnea in patients who do not need surgery. In Thailand, PSG and CPAP were expensive and only reimbursed through the Civil Servant Medical Benefit scheme (CSMBS). Objective: To evaluate the cost-utility analysis and budget impact analysis of OSA diagnosis and treatment by PSG and CPAP compared to standard care. Method: Decision tree model and Markov model were used to estimate total costs, life years (LYs) and quality adjusted life years (QALYs) in societal perspective and governmental perspective. Relevant costs were direct medical costs and direct non-medical costs. Health outcomes were LYs gained and QALYs gained. The results were presented the incremental cost effectiveness ratio (ICER) of PSG diagnosis and CPAP treatment compared to standard care. Uncertainty analysis was conducted by one-way sensitivity analysis and probabilistic sensitivity analysis. Results: Full-night PSG and Split night PSA and CPAP treatment were cost-effective in Thai context at 160,000 Baht per QALY compared to standard care. The ICERs of moderate to severe OSA and only severe OSA patients were 86,635 – 90,014 Baht per QALY for Full-night PSG and CPAP treatment and 85,733 - 88,877 for Split-night PSG and CPAP treatment. If the capacity of PSG diagnosis increased 30% per year, the 5 years budget impact of Full-night PSG and Split-night PSG were 2,204 – 3,730 million Baht and 2,084 – 3,631 million Baht respectively.th_TH
dc.identifier.callnoW74 ช748ก 2565
dc.identifier.contactno63-175
dc.subject.keywordObstructive Sleep Apneath_TH
dc.subject.keywordOSAth_TH
dc.subject.keywordPSGth_TH
.custom.citationเชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ and Cherdchai Nopmaneejumruslers. "การประเมินต้นทุนอรรถประโยชน์ของการตรวจวินิจฉัยโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นด้วยการทดสอบการนอนหลับแบบละเอียด Polysomnography (PSG) ในประเทศไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5736">http://hdl.handle.net/11228/5736</a>.
.custom.total_download48
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year16
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs2884.pdf
Size: 3.192Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record