Show simple item record

Food Industry Interference in Public Health Policy in Thailand: A Focus on Interference through Government Organization

dc.contributor.authorกมลวรรณ เขียวนิลth_TH
dc.contributor.authorKamonwan Kiewninth_TH
dc.contributor.authorชะเอม พัชนีth_TH
dc.contributor.authorChaaim Pachaneeth_TH
dc.contributor.authorมินตรา หงษ์ธำรงth_TH
dc.contributor.authorMintar Hongtumrongth_TH
dc.date.accessioned2022-09-30T03:55:39Z
dc.date.available2022-09-30T03:55:39Z
dc.date.issued2565-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 16,3 (ก.ค. - ก.ย. 2565) : 289-301th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5739
dc.description.abstractการแทรกแซงของภาคอุตสาหกรรม (industrial interference) เพื่อผลประโยชน์ของตน มีทั้งอย่างเปิดเผยและอย่างลับๆ ในหลายรูปแบบและหลายช่องทาง ทั้งผ่านนักการเมืองระดับสูง สื่อสาธารณะและสถาบันการศึกษา ตลอดจนการติดต่อโดยตรงกับผู้ปฏิบัติงานในภาครัฐ ที่ผ่านมาได้มีการรวบรวมรูปแบบการแทรกแซงนโยบายสาธารณะในทุกรูปแบบที่เกิดขึ้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะจากการศึกษาและจากผู้มีประสบการณ์ และพัฒนาข้อเสนอแนะที่เหมาะสมต่อการปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและอุตสาหกรรมอาหาร โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative method) ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) การทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informants) และ 3) การสำรวจความคิดเห็นด้วยเทคนิคเดลฟาย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นข้อมูลในภาพที่กว้างกว่าอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งบริษัททุนสัญชาติไทยและทุนบริษัทข้ามชาติ ต่างดำเนินการแทรกแซงนโยบายด้านสาธารณสุขผ่านหน่วยงานภาครัฐ โดยมีรูปแบบและกระบวนการไม่แตกต่างกันมากนัก ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในรูปแบบลายลักษณ์อักษร การติดต่อเพื่อขอเข้าพบผู้บริหารและผู้กำหนดนโยบาย อย่างไรก็ตามบริษัทต่างชาติมีแนวโน้มที่จะใช้ระเบียบและกฎการค้าระหว่างประเทศเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการติดต่อ และสร้างข้อโต้แย้งกับการดำเนินการตามนโยบายของภาครัฐมากกว่าบริษัทสัญชาติไทย นอกจากนี้ภาคอุตสาหกรรมยังมักใช้การรวมกลุ่มกันในรูปแบบสมาคมการค้าเพื่อสร้างโอกาสและความน่าเชื่อถือในการปฏิสัมพันธ์กับภาครัฐ ด้วยกระบวนการนี้เองทำให้การศึกษานี้ไม่สามารถชี้ชัดได้อย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นการเคลื่อนไหวของภาคอุตสาหกรรมใดภาคอุตสาหกรรมหนึ่ง อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวในรูปแบบของการรวมกลุ่มกันนั้นจะครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และรวมเอาผลิตภัณฑ์ที่เป็นความกังวลของภาคสาธารณสุขเป็นหนึ่งในจำนวนนั้นด้วย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตามกลยุทธ์ corporate political activity (CPA) กลยุทธ์ที่นำมาใช้โดยตรงกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐมีเพียง 1) กลยุทธ์การสร้างข้อมูลและการสื่อสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรม (information and messaging) 2) กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจทางนโยบาย (constituency building) และ 3) กลยุทธ์ทางกฎหมาย (legal strategies) การศึกษานี้จึงนำเสนอหลักการสำคัญที่สามารถประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรมซึ่งไม่เพียงแต่อาหารเท่านั้น แต่หมายรวมถึงอุตสาหกรรมทั่วไปในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม โดยหลักการนั้นได้แก่ 1) ความโปร่งใสตลอดกระบวนการติดต่อระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม 2) การอ้างอิงหลักฐานทางวิชาการ ซึ่งรวมถึงกฎและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศในการสื่อสาร 3) การกำหนดกระบวนการติดต่อระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมที่ชัดเจนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectนโยบายth_TH
dc.subjectนโยบายการค้าth_TH
dc.subjectบริษัทข้ามชาติth_TH
dc.subjectFood Industryth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมอาหารth_TH
dc.subjectการค้าระหว่างประเทศth_TH
dc.subjectข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.titleการแทรกแซงนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศไทยโดยอุตสาหกรรมอาหารผ่านหน่วยงานภาครัฐth_TH
dc.title.alternativeFood Industry Interference in Public Health Policy in Thailand: A Focus on Interference through Government Organizationth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeFood industry intentionally takes actions to protect its benefit through direct or indirect industrial interferences with the public policy makers. The interferences mediate via direct contact with relevant government staff. This study aimed to collect lessons learnt from the experiences of industrial interferences with the public policies from government staff, and to develop recommendations for appropriate interactions between government and the industry. This qualitative study applied 3 methods: 1) a review of the literature and related documents, 2) in-depth interviews with key informants, and 3) a Delphi survey. The present study found that Thai and multinational companies in food industry used same interference strategies, such as, written communication, direct contact with administrators and policy makers. However, multinational companies tended to more often refer to international trade regulations and rules as an important strategy that created arguments when the intervened health policy was implemented. Based on the corporate political activity (CPA), the strategies directly applied to government officials include 1) information and messaging, 2) constituency building, and 3) legal strategy. Recommendations from the present study are 1) transparency throughout the process of communication between government and industry, 2) citation of academic evidence, including the rules and regulations related to international trade in communication, 3) a clearly defined process of communication between government and industry.th_TH
dc.subject.keywordการแทรกแซงth_TH
.custom.citationกมลวรรณ เขียวนิล, Kamonwan Kiewnin, ชะเอม พัชนี, Chaaim Pachanee, มินตรา หงษ์ธำรง and Mintar Hongtumrong. "การแทรกแซงนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศไทยโดยอุตสาหกรรมอาหารผ่านหน่วยงานภาครัฐ." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5739">http://hdl.handle.net/11228/5739</a>.
.custom.total_download863
.custom.downloaded_today2
.custom.downloaded_this_month70
.custom.downloaded_this_year328
.custom.downloaded_fiscal_year457

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v16n ...
Size: 283.6Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record