การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนการใช้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของผู้บริโภคในร้านก๋วยเตี๋ยว ภายในอำเภอเมืองลำปาง
dc.contributor.author | วรางคณา สันเทพ | th_TH |
dc.contributor.author | Warangkana Suntep | th_TH |
dc.contributor.author | ยงยุทธ แก้วเต็ม | th_TH |
dc.contributor.author | Yongyuth Kaewtem | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-09-30T04:17:50Z | |
dc.date.available | 2022-09-30T04:17:50Z | |
dc.date.issued | 2565-09 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 16,3 (ก.ค. - ก.ย. 2565) : 302-318 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5740 | |
dc.description.abstract | การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบ และ 2) ศึกษาประสิทธิผลการใช้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพในร้านก๋วยเตี๋ยว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) วิเคราะห์ ประเมินความต้องการโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้อง (R1) 2) ออกแบบ พัฒนารูปแบบด้วยการปรับสูตรน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวโดยใช้เครื่องปรุงที่มีปริมาณเกลือโซเดียมลดลงแทนเครื่องปรุงรสเดิม (D1) 3) ทดลองใช้รูปแบบกับผู้ประกอบการเป็นระยะเวลา 3 เดือน ด้วยการปรับสูตรน้ำซุป วิธีปรุงน้ำซุป การวัดปริมาณเกลือโซเดียมในน้ำซุป การจัดวางเครื่องปรุงที่มีสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพในร้าน (R2) และประเมินความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเรื่องสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ วัดปริมาณการใช้เกลือโซเดียมในระยะเวลาต่างๆ ประเมินความพึงพอใจโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการแบบเฉพาะเจาะจง 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 4) ประเมินผลจากความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม ปริมาณการใช้เกลือโซเดียม ความพึงพอใจหลังได้รับการพัฒนามาปรับปรุงในประเด็นของสูตรน้ำซุปให้เหมาะสม (D2) ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า ขั้นตอน 1 ผู้ประกอบการเห็นความจำเป็นในการปรับลดการใช้เกลือโซเดียมในน้ำซุป ขั้นตอน 2 เกิดการพัฒนาสูตรน้ำซุปด้วยการใช้ซีอิ๊วขาวที่มีสารโพแทสเซียมคลอไรด์ทดแทนเกลือโซเดียมเดิม มีคู่มือปฏิบัติ คือ แนวทางปรับสูตร วิธีปรุงน้ำซุป การวัดตวงปริมาณเกลือโซเดียม การจัดวางเครื่องปรุงในร้าน ขั้นตอน 3 ผลการใช้สูตรน้ำซุป ผู้ประกอบการมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีเพิ่มขึ้น ปริมาณการใช้เกลือโซเดียมลดลง มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ขั้นตอน 4 ผลการประเมิน พบปริมาณการใช้เกลือโซเดียมลดลงจากการวัดตวงแต่ละวัน แต่ผลการศึกษายังเป็นเพียงการศึกษานำร่องที่มีกลุ่มตัวอย่างน้อยควรขยายผลการใช้รูปแบบไปยังประชากรที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้ได้ผลที่น่าเชื่อถือต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โภชนาการ | th_TH |
dc.subject | Nutrition | th_TH |
dc.subject | เกลือ--แง่โภชนาการ | th_TH |
dc.subject | Health Promotion | th_TH |
dc.subject | การสร้างเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนการใช้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของผู้บริโภคในร้านก๋วยเตี๋ยว ภายในอำเภอเมืองลำปาง | th_TH |
dc.title.alternative | Model Development Using Healthier Choice Nutrition Symbol for Promoting Health of Noodle Consumers in Mueang Lampang District | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The aims of this research and development were to 1) develop a model and 2) study the effectiveness of using the healthier choice nutrition symbol in noodle shops, Mueang Lampang district, Lampang province. The research process consisted of 4 steps: 1) analyze, assess needs by in-depth interview with relevant parties (R1). 2) Design and develop of a model by adjusting the noodle soup recipe using low sodium seasonings to replace the original seasonings (D1). 3) The experimental model consisted of guidelines for adjusting soup recipes, how to cook soup, measurement of sodium salt content in the soup, placement of healthier choice nutrition symbol seasonings in the shop (R2), then assessing knowledge, attitudes, and behaviors on healthier choice nutrition symbol and sodium salt content in noodle soup in the experiment group, assessing satisfaction on new noodle soup recipe with 16 purposively selected experiment samples. Data were collected by using a questionnaire and an in-depth interview. 4) The evaluations on knowledge, attitude, behavior, sodium content in soup and post-satisfaction were undertaken to improve the final optimal soup recipe (D2) using content analysis from group discussions. The results found that: step 1, noodle shop owners realized the need to reduce the use of sodium salt in soup. Step 2, developed new soup recipe using soy sauce containing potassium chloride to replace the original sodium salt. Cooking manual was developed as guidelines explaining new recipes, how to cook soup, measuring the amount of sodium salt and placement of extra seasonings in a noodle shop. Step 3, after serving new soup recipe, the noodle shop owners gained better knowledge, attitude and behavior, with reduced sodium consumption. They were satisfied at the highest level. Step 4: The evaluations revealed that the amount of sodium salt use decreased from the daily measurement. However, the present study was just a pilot scale with small sample size. The model should be extended to a larger population for more reliable results. | th_TH |
dc.subject.keyword | ทางเลือกสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | Healthier Choice | th_TH |
dc.subject.keyword | ร้านก๋วยเตี๋ยว | th_TH |
dc.subject.keyword | สัญลักษณ์โภชนาการ | th_TH |
dc.subject.keyword | Nutrition Symbol | th_TH |
.custom.citation | วรางคณา สันเทพ, Warangkana Suntep, ยงยุทธ แก้วเต็ม and Yongyuth Kaewtem. "การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนการใช้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพของผู้บริโภคในร้านก๋วยเตี๋ยว ภายในอำเภอเมืองลำปาง." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5740">http://hdl.handle.net/11228/5740</a>. | |
.custom.total_download | 694 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 33 | |
.custom.downloaded_this_year | 338 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 73 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ