แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

รูปแบบการรักษาและประสิทธิผลของการใช้ยายับยั้งไทโรซีนไคเนสในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์: การวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริง

dc.contributor.authorจิรวิชญ์ ยาดีth_TH
dc.contributor.authorJirawit Yadeeth_TH
dc.contributor.authorวิทธวัช พันธุมงคลth_TH
dc.contributor.authorWitthawat Pantumongkolth_TH
dc.contributor.authorพรธิดา หัดโนนตุ่นth_TH
dc.contributor.authorPhorntida Hadnorntunth_TH
dc.contributor.authorนิธิเจน กิตติรัชกุลth_TH
dc.contributor.authorNitichen Kittiratchakoolth_TH
dc.contributor.authorชนิดา เอกอัครรุ่งโรจน์th_TH
dc.contributor.authorChanida Ekakkararungrojth_TH
dc.contributor.authorชุติมา คำดีth_TH
dc.contributor.authorChutima Kumdeeth_TH
dc.date.accessioned2022-09-30T04:35:02Z
dc.date.available2022-09-30T04:35:02Z
dc.date.issued2565-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 16,3 (ก.ค. - ก.ย. 2565) : 344-356th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5742
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective cohort study) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการรักษาของการใช้ยายับยั้งไทโรซีนไคเนส (tyrosine kinase inhibitors) โดยใช้ข้อมูลจากสถานการณ์จริง และนำมาเปรียบเทียบกับแนวทางกำกับการใช้ยาบัญชี จ(2) ในบัญชียาหลักแห่งชาติ รวมถึงศึกษาประสิทธิผลของการใช้ยายับยั้งไทโรซีนไคเนสในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ (chronic myeloid leukemia) สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสิทธิประกันสังคม โดยคัดเลือกรายการยาเป็นกรณีศึกษา ได้แก่ imatinib, nilotinib และ dasatinib ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบสารสนเทศการเบิกจ่ายชดเชยยาบัญชี จ(2) ระหว่างปีงบประมาณ 2555-2561 โดยกำหนดระยะเวลาติดตามจนผู้ป่วยเสียชีวิตหรือวันสิ้นสุดปีงบประมาณ 2562 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ nonparametric ด้วยวิธี Kaplan-Meier โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามประวัติการได้รับยาเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่ได้รับยา imatinib จนถึงครั้งสุดท้ายที่ได้รับยา (กลุ่ม A), 2) กลุ่มที่มีประวัติการได้รับยา imatinib เป็นลำดับที่ 1 และเปลี่ยนแปลงการรักษาโดยได้รับยา nilotinib จนถึงครั้งสุดท้ายที่ได้รับยา (กลุ่ม B), และ 3) กลุ่มที่มีประวัติการได้รับยา imatinib และ nilotinib เป็นลำดับที่ 1 และ 2 ตามลำดับ จากนั้นได้รับยา dasatinib จนถึงครั้งสุดท้ายที่ได้รับยา (กลุ่ม C) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์รวมทั้งสิ้นจำนวน 574 ราย แบ่งกลุ่มได้เป็นกลุ่ม A, B, C เท่ากับ 400, 113 และ 61 ราย ตามลำดับ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30–39 ปี (ร้อยละ 34.2 36.3 และ 29.5 ตามลำดับ) โดยมีมัธยฐานระยะเวลาการติดตามเท่ากับ 36.6, 50.7 และ 47.6 เดือน ตามลำดับ โดยขนาดยา imatinib ต่อวันก่อนสิ้นสุดการติดตามหรือก่อนเปลี่ยนการรักษาเป็นยา nilotinib ในผู้ป่วยกลุ่ม A, B และ C เท่ากับ 444.3, 474.1 และ 474.8 มิลลิกรัม ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์การรอดชีพของผู้ป่วยกลุ่ม A, B และ C พบว่าอัตราการรอดชีพของแต่ละกลุ่มที่ระยะเวลา 2 ปี เท่ากับร้อยละ 84.3 (95%CI: 80.3-87.6), ร้อยละ 91.0 (95%CI: 83.9-95.1) และร้อยละ 85.2 (95%CI: 73.4-92.0) และมีอัตราการรอดชีพที่ระยะเวลา 5 ปี เท่ากับร้อยละ 83.2 (95%CI: 78.9-86.7), ร้อยละ 85.7 (95%CI : 76.7-91.4) และร้อยละ 66.4 (95%CI: 52.3-77.2) ตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าขนาดยา imatinib ต่อวันไม่สอดคล้องกับแนวทางกำกับการใช้ยาที่อนุมัติให้ใช้ยาลำดับที่ 2 เมื่อผู้ป่วยดื้อต่อยาลำดับแรกโดยที่ได้รับยาในขนาดสูงสุด (600-800 มิลลิกรัมต่อวัน) และอัตราการรอดชีพที่ 2 ปี ไม่แตกต่างกัน (log-rank p-value 0.295) ขณะที่อัตราการรอดชีพที่ 5 ปีในกลุ่ม A และ B สูงกว่ากลุ่ม C อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (log-rank p-value: group A vs. C; 0.016, group B vs. C; 0.004) อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ไม่สามารถอธิบายสาเหตุของการใช้ยาที่ไม่ตรงตามแนวทางกำกับการใช้ยา เนื่องจากขาดข้อมูลสำคัญโดยเฉพาะสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการรักษายาเป็นลำดับที่ 2 และ 3 ได้แก่ การประเมินการตอบสนองต่อการรักษา การดื้อยา รวมถึงการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หรืออาการข้างเคียงจากการใช้ยาth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectมะเร็งth_TH
dc.subjectCancerth_TH
dc.subjectมะเร็ง--ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectCancer--Patientsth_TH
dc.subjectมะเร็งเม็ดเลือดขาวth_TH
dc.subjectMyeloid Leukemiath_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.titleรูปแบบการรักษาและประสิทธิผลของการใช้ยายับยั้งไทโรซีนไคเนสในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์: การวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริงth_TH
dc.title.alternativeTreatment Patterns and Effectiveness of Tyrosine Kinase Inhibitors in Patients with Chronic Myeloid Leukemia: Evidence from a Real-World Data Analysisth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeA retrospective cohort study using real-world data was conducted to analyze the treatment patterns of tyrosine kinase inhibitors in patients with chronic myeloid leukemia (CML), compared with the guideline for regulating drug use of the National List of Essential Medicine (NLEM) category E(2), with the purpose of determining the effectiveness of tyrosine kinase inhibitors in CML patients covered by Thailand’s universal coverage scheme and social security scheme. This study focused on the treatment patterns and effectiveness of imatinib, nilotinib, and dasatinib. Data were obtained from the reimbursement database of the NLEM category E(2) during fiscal year 2012-2018. Patients were followed up until death or the end of fiscal year 2019. Descriptive statistics and non-parametric test using Kaplan-Meier method were performed in the analysis. CML patients were divided into 3 groups based on their medical history until the time of death or last follow-up as follows; 1) patients who received imatinib only (group A), 2) patients who received first-line imatinib and second-line nilotinib (group B), and 3) patients who received first-line imatinib, second-line nilotinib, and third-line dasatinib (group C). Of 574 CML patients, there were 400, 113 and 61 CML patients in groups A, B and C, respectively. The majority of patients in each group were between the ages of 30 and 39 years old (34.2%, 36.3% and 29.5 %, respectively), with a median follow-up of 36.6, 50.7 and 47.6 months. Prior to the last follow-up or drug switching, the average daily dose of imatinib in group A, B and C was 444.3, 474.1 and 474.8 mg, respectively. Real-world effectiveness using survival analysis revealed 2-year survival rates at 84.3% (95%CI: 80.3-87.6%) for group A, 91.0% (95%CI: 83.9-95.1%) for group B and 85.2% (95%CI: 73.4-92.0%) for group C, with 5-year survival rates in each group were 83.2% (95%CI: 78.9-86.7%), 85.7% (95%CI: 76.7-91.4%), and 66.4% (95%CI: 52.3-77.2%), respectively. Average daily dose of imatinib prior to drug switching was not complied with the guideline, which recommended high-dose imatinib (600-800 mg/day). The 2-year survival rates were comparable across groups (log-rank p-value 0.295), while the 5-year survival rates in group A and B were significantly higher than in group C (log-rank p-value: group A vs. C; 0.016, group B vs. C; 0.004). However, the causes of non-adherence to the guideline could not be identified due to the lack of important clinical data including cytogenic/hematologic response, drug resistance, and occurrence of adverse drug events during the treatment of CML.th_TH
.custom.citationจิรวิชญ์ ยาดี, Jirawit Yadee, วิทธวัช พันธุมงคล, Witthawat Pantumongkol, พรธิดา หัดโนนตุ่น, Phorntida Hadnorntun, นิธิเจน กิตติรัชกุล, Nitichen Kittiratchakool, ชนิดา เอกอัครรุ่งโรจน์, Chanida Ekakkararungroj, ชุติมา คำดี and Chutima Kumdee. "รูปแบบการรักษาและประสิทธิผลของการใช้ยายับยั้งไทโรซีนไคเนสในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์: การวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริง." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5742">http://hdl.handle.net/11228/5742</a>.
.custom.total_download879
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month27
.custom.downloaded_this_year427
.custom.downloaded_fiscal_year70

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v16n ...
ขนาด: 872.9Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย