Show simple item record

Proportion of Dental Specialists Task Performance in Ministry of Public Health Hospitals

dc.contributor.authorวรารัตน์ ใจชื่นth_TH
dc.contributor.authorWararat Jaichuenth_TH
dc.contributor.authorเทอดศักดิ์ อุตศรีth_TH
dc.contributor.authorTerdsak Utasrith_TH
dc.contributor.authorธนศักดิ์ ถัมภ์บรรฑุth_TH
dc.contributor.authorThanasak Thumbuntuth_TH
dc.date.accessioned2022-09-30T07:48:22Z
dc.date.available2022-09-30T07:48:22Z
dc.date.issued2565-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 16,3 (ก.ค. - ก.ย. 2565) : 407-417th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5746
dc.description.abstractจำนวนทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีเพิ่มขึ้นในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระทรวงสาธารณสุข แต่ยังขาดข้อมูลในแง่ลักษณะงานที่ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต้องรับผิดชอบ การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสำรวจสัดส่วนงานของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และศึกษาปัจจัยที่กำหนดผลิตภาพของกำลังคนด้านสุขภาพ ใน 3 ด้าน คือ ปัจจัยส่วนงาน ปัจจัยส่วนสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และปัจจัยส่วนการบริหารงานบุคคล ผลการศึกษาพบว่า นอกเหนือจากงานทันตกรรมเฉพาะทางแล้ว ร้อยละ 95.5 ของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังมีงานทันตกรรมพื้นฐาน และร้อยละ 68.2 มีงานเอกสารและงานบริหาร โดยค่าเฉลี่ยของสัดส่วนงานทันตกรรมพื้นฐาน ทันตกรรมเฉพาะทาง และงานเอกสารและบริหาร คือ ร้อยละ 41 ร้อยละ 48 และร้อยละ 11 ตามลำดับ ปัจจัยกำหนดผลิตภาพในส่วนงานพบว่าร้อยละ 65.9 เป็นข้อตกลงของหน่วยงาน ร้อยละ 40.9 หน่วยงานมีภาระงานทันตกรรมพื้นฐานมาก ร้อยละ 18.2 มีผู้ป่วยงานทันตกรรมเฉพาะทางไม่มากนัก และร้อยละ 15.9 ไม่มีทันตแพทย์ทั่วไปหรือมีไม่เพียงพอกับภาระงาน ปัจจัยส่วนสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ร้อยละ 4.6 ยังขาดเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 31.8 ยังไม่มีระบบปรึกษาและส่งต่อที่ชัดเจนในระดับจังหวัด สำหรับปัจจัยส่วนการบริหารงานบุคคล ร้อยละ 38.6 ยังไม่มีนโยบายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนในระดับจังหวัดที่สนับสนุนการทำงานทันตกรรมเฉพาะทาง และร้อยละ 43.2 ยังไม่มีนโยบายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนในระดับเขตที่สนับสนุนการทำงานทันตกรรมเฉพาะทาง โดยสรุปแล้วทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขต้องรับผิดชอบ งานทันตกรรมเฉพาะทางและทันตกรรมพื้นฐานในสัดส่วนงานใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ยังมีงานเอกสารและงานบริหารด้วย สำหรับปัจจัยกำหนดผลิตภาพยังมีช่องว่างในการพัฒนาทั้งในด้านเครื่องมือ ระบบปรึกษาและส่งต่อ รวมทั้ง นโยบายและตัวชี้วัดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectทันตแพทย์th_TH
dc.subjectDentiststh_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Manpowerth_TH
dc.subjectHealth Workforceth_TH
dc.subjectMedical Personnelth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Administrationth_TH
dc.titleสัดส่วนงานของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขth_TH
dc.title.alternativeProportion of Dental Specialists Task Performance in Ministry of Public Health Hospitalsth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThere are an increasing number of dental specialists in Thailand especially within the Ministry of Public Health (MOPH), but information about their tasks’ characteristics is not well understood. This cross-sectional descriptive study aimed to explore the task proportion of specialists in MOPH’s hospitals and the determinants of their performance in three dimensions; work factors, health facility environment, and administrative environment. The results show that, aside from specialized dental services, 95.5% of dental specialists still provided basic services, and 68.2 % of them had documentary and administrative activities as part of their routine. On average, dental specialists allocated their working time to basic, specialized service, documentary and administrative works at a proportion of 41%, 48% and 11%, respectively. Work factors that might influence the performance of dental specialists were: 65.9% of respondents reported an intra-organizational agreement, 40.9% pinpointed the overwhelming burden of basic treatments over advance procedures. 18.2% reported low number of patients wanting specialized care, and 15.9% reported a shortage of general practitioners compared to work burden. Regarding health facility environments; 4.6% of dental specialists indicated lack of equipment for their advanced skills, while 31.8% mentioned absence of clear guidelines and systems for consultation or referral within a provincial dental service network. Regarding administrative environments; 38.6% and 43.2% of dental specialists pointed to a lack of policy and monitoring systems that support specialized dental services at provincial and regional levels, respectively. In conclusion, dental specialists in MOPH were responsible for basic and specialized services at similarly high proportions (41% vs. 48%), with additional documentary and administrative works. There are still rooms for development in terms of equipment adequacy, consultation and referral guidelines, policy direction and monitoring system.th_TH
dc.subject.keywordทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญth_TH
dc.subject.keywordDental Specialiststh_TH
.custom.citationวรารัตน์ ใจชื่น, Wararat Jaichuen, เทอดศักดิ์ อุตศรี, Terdsak Utasri, ธนศักดิ์ ถัมภ์บรรฑุ and Thanasak Thumbuntu. "สัดส่วนงานของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5746">http://hdl.handle.net/11228/5746</a>.
.custom.total_download475
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month21
.custom.downloaded_this_year236
.custom.downloaded_fiscal_year50

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v16n ...
Size: 896.0Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record