Show simple item record

Lessons Learnt From an Implementation of 3-Healthcare Provider Team for Primary Care Policy for all Thai in 4 Provinces in Thailand

dc.contributor.authorฑิณกร โนรีth_TH
dc.contributor.authorThinakorn Noreeth_TH
dc.contributor.authorชลิดา พลอยประดับth_TH
dc.contributor.authorChalida Ploypradubth_TH
dc.contributor.authorวิชาวี พลอยส่งศรีth_TH
dc.contributor.authorWichavee Ploysongsrith_TH
dc.date.accessioned2022-10-04T08:59:17Z
dc.date.available2022-10-04T08:59:17Z
dc.date.issued2565-08
dc.identifier.otherhs2888
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5748
dc.description.abstractนโยบายคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน หรือนโยบายสามหมอ เริ่มในปี พ.ศ. 2563 โดยมุ่งเป้าให้คนไทยมีหมอดูแลสุขภาพประจำครอบครัวตั้งแต่ในหมู่บ้าน สถานีอนามัย หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลชุมชนในระดับอำเภอและโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไประดับจังหวัด โดยมีหมอ 3 คน 3 ระดับ คือ หมอคนที่ 1 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นหมอประจำบ้าน, หมอคนที่ 2 เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นหมอสาธารณสุข และหมอคนที่ 3 แพทย์ในโรงพยาบาล เป็นหมอเวชปฏิบัติครอบครัว ซึ่งจะเป็นการต่อยอดการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของประเทศไทย การศึกษานี้มุ่งเน้นการถอดบทเรียนและติดตามการดำเนินนโยบายในพื้นที่ 4 จังหวัดเป้าหมาย ได้แก่ กำแพงเพชร ร้อยเอ็ด สระบุรีและตรัง ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการดำเนินงานปฐมภูมิมาก่อนหน้านี้เป็นอย่างดีและมีเป้าหมายที่จะดำเนินงานตามนโยบายสามหมอให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด การศึกษาใช้วิธีแบบผสมผสาน (mixed method) โดยใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินความเข้าใจและความพึงพอใจนโยบาย มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 644 คน โดยเป็นหมอคนที่ 2 และ 3 จำนวน 47 คน และหมอคนที่ 1 จำนวน 597 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 54 คน แบ่งเป็นผู้บริหารในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล จำนวน 30 คน และ ผู้ให้บริการ จำนวน 24 คน ผลการศึกษาพบว่านโยบายสามหมอเป็นส่วนเสริมที่สำคัญในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 การดำเนินงานนโยบายสามหมอใน 4 จังหวัด สามารถบรรลุผลลัพธ์เชิงปริมาณด้านการขึ้นทะเบียนของประชาชนกับผู้ให้บริการทั้งหมอคนที่ 1, 2 และ 3 แต่อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินการในเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะการมุ่งที่ให้บรรลุเป้าหมาย “รู้จัก รู้ใจ เข้าถึงและพึ่งได้” นั้น ยังต้องมีการดำเนินงานอย่างจริงจังและต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมอีกหลายด้าน ปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานนโยบายสามหมอให้บรรลุผลลัพธ์ ประกอบด้วย การบูรณาการนโยบายระดับกระทรวง การจัดโครงสร้างกลุ่มงานปฐมภูมิและสาธารณสุขมูลฐานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และการเพิ่มจำนวนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่เพียงพอ ปัจจัยท้าทายสำคัญในระยะเวลาอันใกล้นี้ คือ การถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจากกระทรวงสาธารณสุขไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีส่วนอย่างมากต่อความสัมพันธ์และการดำเนินงานนโยบายสามหมอth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านth_TH
dc.subjectVillage Health Volunteersth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการถอดบทเรียนการดำเนินนโยบายคนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน ใน 4 จังหวัดของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeLessons Learnt From an Implementation of 3-Healthcare Provider Team for Primary Care Policy for all Thai in 4 Provinces in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternative3-Moh policy launched in 2020 aims that each family has three doctors at the community, health center (or Health Promoting Hospital) and hospitals (a district hospital and a provincial hospital/regional hospital). The three-doctor policy recognize three doctors at three levels. The first doctor or Moh#1 is a village health volunteer who provide health services at community level. The second doctor or Moh#2 is health workers of a health center or a sub-district health promoting hospital providing health services at Tumbon or sub-district level. The third doctor or Moh#3 is a family medicine at district or provincial hospital. working at district level. Furthermore, 3-Moh policy aims to strengthen primary care development in Thailand. This study aims to explore lesson-learned and implementation process of 3-Moh policy in 4 target provinces namely Kamphaeng Phet, Roi Et, Saraburi and Trung. These provinces have had outstanding primary care development and they target a full-area implementation of 3-Moh policy. Mixed method was employed to capture all information. To assess an understanding and satisfaction on this policy, a total of 644 self-administered questionnaires were completed by 597 respondents who are Moh#1 and47 respondents who are Moh#2 & 3. In-depth interview was conducted among 30 administrators at provincial, district and sub-district level, and 24 healthcare providers. The study demonstrated that 3-Moh policy notably fostered an achievement of Primary Care Act B.E. 2562. In term of quantity, these 4 provinces achieve the target on registration of health and care providers to population. However, the implementation of this policy is still far from achieving its goal in term of quality which consist of “recognition, familiarity, accessibility and trustworthy”. There are rooms for improvement to achieve the goals of this policy. Key enabling factors for success are an integration of primary care-related policies among departments at ministerial level, an establishment of primary care division at provincial health office for integrated implementation and systematical monitoring and evaluation and an increase number of family doctors which is considered as a bottleneck of this policy. In addition, key challenge in the future is decentralization of health centers to local governments which is considered to affect a relationship and implementing of this policyth_TH
dc.identifier.callnoW84.6 ฑ121ก 2565
dc.identifier.contactno64-053
dc.subject.keywordนโยบายสามหมอth_TH
dc.subject.keywordนโยบาย 3 หมอth_TH
dc.subject.keyword3-Moh Policyth_TH
.custom.citationฑิณกร โนรี, Thinakorn Noree, ชลิดา พลอยประดับ, Chalida Ploypradub, วิชาวี พลอยส่งศรี and Wichavee Ploysongsri. "การถอดบทเรียนการดำเนินนโยบายคนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน ใน 4 จังหวัดของประเทศไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5748">http://hdl.handle.net/11228/5748</a>.
.custom.total_download231
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year83
.custom.downloaded_fiscal_year7

Fulltext
Icon
Name: hs2888.pdf
Size: 3.624Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record