แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การถอดบทเรียนการบริหารจัดการกำลังคนด้านการพยาบาลและสมรรถนะของพยาบาลเพื่อตอบสนองภาวะวิกฤตโควิด-19 ในระบบบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ เขตสุขภาพที่ 10

dc.contributor.authorจรูญศรี มีหนองหว้าth_TH
dc.contributor.authorJaroonsree Meenongwahth_TH
dc.contributor.authorปัทมา ผ่องศิริth_TH
dc.contributor.authorPattama Phongsirith_TH
dc.contributor.authorสาดี แฮมิลตันth_TH
dc.contributor.authorSadee Hamiltonth_TH
dc.contributor.authorสุเพียร โภคทิพย์th_TH
dc.contributor.authorSupian Pokathipth_TH
dc.contributor.authorวิโรจน์ เซมรัมย์th_TH
dc.contributor.authorWirote Semrumth_TH
dc.contributor.authorเอมอร บุตรอุดมth_TH
dc.contributor.authorAimon Butudomth_TH
dc.contributor.authorพนัชญา ขันติจิตรth_TH
dc.contributor.authorPhanatchaya Khantichitrth_TH
dc.contributor.authorปัฐมาพร ใจกล้าth_TH
dc.contributor.authorPattamaporn Jaiklath_TH
dc.contributor.authorรัตนา บุญพาth_TH
dc.contributor.authorRattana Boonphath_TH
dc.contributor.authorเชาวลิต ศรีเสริมth_TH
dc.contributor.authorChaowalit Srisoemth_TH
dc.contributor.authorอรดี โชคสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorOradee Choksawatth_TH
dc.date.accessioned2022-11-22T08:05:11Z
dc.date.available2022-11-22T08:05:11Z
dc.date.issued2565-06
dc.identifier.otherhs2911
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5768
dc.description.abstractผู้ป่วย COVID-19 ที่เพิ่มมากขึ้นทำให้มีการขยายบริการสุขภาพ ซึ่งพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยและบริการสุขภาพด้านอื่นๆ ทำให้มีการบริหารอัตรากำลังและพัฒนาสมรรถนะที่แตกต่างกันตามบริบทของโรงพยาบาล การวิจัยแบบถอดบทเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถอดบทเรียนการบริหารจัดการกำลังคนด้านการพยาบาลและสมรรถนะของพยาบาลเพื่อตอบสนองภาวะวิกฤต COVID-19 ในระบบบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ เขตสุขภาพที่ 10 และ 2) เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการกำลังคนด้านการพยาบาลและสมรรถนะของพยาบาล เก็บข้อมูลช่วงตุลาคม พ.ศ. 2564 - เมษายน พ.ศ. 2565 ใช้วิธีเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูล จำนวน 293 คน ได้แก่ ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 10 ผู้แทนสภาการพยาบาล ผู้แทนกองการพยาบาล นายแพทย์สาธารณสุข กรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operations Center, EOC) ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล แพทย์ผู้รักษาผู้ป่วย COVID-19 พยาบาล IC และพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย COVID-19 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อค้นพบมี 2 ประเด็น คือ 1) การจัดอัตรากำลังพยาบาลในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิใช้วิธีการที่คล้ายกัน คือ 1.1) การเกลี่ยอัตรากำลังจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งในรูปแบบการขอความร่วมมือหรือสั่งการและขอจิตอาสา 1.2) มีการใช้ระบบ mixed-skill staff และ 1.3) หัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีภาระงานน้อยได้รับมอบหมายให้ช่วยนิเทศควบคุมกำกับการปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วย COVID-19 ส่วนที่แตกต่าง คือ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิมีการปรับชั่วโมงการทำงานจาก 8 ชั่วโมง เป็น 12 ชั่วโมง และ 2) การพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิเหมือนกันในเรื่อง รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะมีความหลากหลายทั้งใช้การสอนทักษะหน้างานเป็นหลัก การจับคู่แบบพี่เลี้ยงและมีการสืบค้นหาความรู้จากสื่อออนไลน์ด้วยตนเอง โดยพยาบาลป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อของโรงพยาบาล ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนทักษะการป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อให้กับบุคลากรทุกคนและติดตามการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดูแลผู้ป่วยและเผยแพร่ให้บุคลากรทราบ นอกจากนี้ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิเน้นการสอนทักษะสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ซับซ้อนมาก การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง การใช้ห้องแรงดันลบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 ทักษะที่สอนมาก คือการใส่และถอดชุด PPE/PAPR การช่วยใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วย COVID-19/Auto CPR/การจัดท่านอนคว่ำในผู้ป่วย ARDS และการดูแลผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น ความสำเร็จในการดำเนินการเกิดจากความร่วมมือของพยาบาลและหลายภาคส่วน สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ กำหนด Protocol ในการจัดอัตรากำลังและสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลในสถานการณ์วิกฤต ระบบและกลไกการจัดอัตรากำลังที่ชัดเจนมีการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลอย่างต่อเนื่องและจัดให้พยาบาลได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่มากขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical Personnelth_TH
dc.subjectHealth Manpowerth_TH
dc.subjectHealth Workerth_TH
dc.subjectHealth Workforceth_TH
dc.subjectพยาบาลth_TH
dc.subjectNursesth_TH
dc.subjectพยาบาลวิชาชีพth_TH
dc.subjectProfessional Nursesth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectสมรรถภาพในการทำงานth_TH
dc.titleการถอดบทเรียนการบริหารจัดการกำลังคนด้านการพยาบาลและสมรรถนะของพยาบาลเพื่อตอบสนองภาวะวิกฤตโควิด-19 ในระบบบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ เขตสุขภาพที่ 10th_TH
dc.title.alternativeExploring Nursing Workforce Management and Competencies during the COVID-19 Crisis at the 10th Public Health Region Focusing on the Secondary and Tertiary Care Levelth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe increasing number of COVID-19 patients during the pandemic posed a great challenge for health care services. Nurses play a vital role in in providing care to these patients and managing other health care services, which created a significant challenge in regard to work force management and competency varied with a hospital’s resources. This qualitative research aimed to discover the lessons we can learn from the COVID-19 crisis experience which can lead to policy suggestions regarding workforce management and nurse competency at the secondary and tertiary care levels in the 10th Public Health Region of Thailand. Document analysis, in-depth interviews, and focus group discussions were used to collect data from October 2021 to April 2022. The 293 key informants included the Ministry of Public Health (MoPH) inspector for the 10th Public Health Region, representatives of the Thailand Nursing and Midwifery Council and the Nursing Division of the Ministry of Public Health, the Provincial Chief Medical Officer, a group from the Emergency Operations Center (EOC) Committee, hospital directors, heads of nursing departments, physicians, infection control (IC) nurses, and nurses engaged in COVID-19 patient care. The data were analyzed using content analysis. The study revealed two major findings as follow: First, workforce management in responses to the Covid-19 crisis in both the secondary and tertiary care setting included several similar strategies, namely: 1) implementation of pooled staffing using personnel from different units including nurses who volunteered when asked or were given direct ordereds, 2) using mixed-skill nursing staffing, and 3) assigning the head nurses of the units with lower workloads as supervisors in the COVID-19 cohort wards. However, some different strategies were implemented at the secondary care setting, including modifying working hours from 8-hour shifts to 12-hour shifts Last, having different nursing competency development models for COVID-19 care, which varied from setting to setting. The majority of competency development was on-the-job training, followed by pair-mentoring and self-directed learning strategies where staff searched the internet for available COVID-19 related resources to improve their knowledge about how to provide care for their patients. The IC nurses played a major role in increasing the hospital staff’s infection control competency, as well as updating and distributing the COVID-19 practice guidelines. Moreover, in the tertiary care settings, nurse competency development was focused on the essential skills required to care for critically ill and complicated patients and the technical skills related to using advanced technology medical equipment, negative pressure rooms, and other equipment related to COVID-19 patient care. The most common education and training conducted in the hospitals were related to the donning (putting on) and doffing (removing) of personal protection equipment (PPE) or powered air purifying respirators (PAPR), intubation of COVID-19 patients, Auto CPR, prone positioning of COVID-19 patients experiencing Adult Respiratory Distress Syndrome (ARDS), and mechanical ventilator care. The key to the success of the response to the crisis was the collaboration from all of the partners and stakeholders. The policy suggestions focus on designing and planning a comprehensive nursing workforce management and competency policy to handle crisis situations, developing the nursing workforce system and mechanisms in order to retain nurses in the system, implementing education and training programs to promote the continuous maintenance and improvement of nurses’ competencies, and creating a working environment which allows nurses to maintain their roles in providing direct patient care.th_TH
dc.identifier.callnoW76 จ182ก 2565
dc.identifier.contactno64-217
dc.subject.keywordกำลังคนด้านสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordHealthcare Workersth_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordRegional Health Areath_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 10th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 10th_TH
.custom.citationจรูญศรี มีหนองหว้า, Jaroonsree Meenongwah, ปัทมา ผ่องศิริ, Pattama Phongsiri, สาดี แฮมิลตัน, Sadee Hamilton, สุเพียร โภคทิพย์, Supian Pokathip, วิโรจน์ เซมรัมย์, Wirote Semrum, เอมอร บุตรอุดม, Aimon Butudom, พนัชญา ขันติจิตร, Phanatchaya Khantichitr, ปัฐมาพร ใจกล้า, Pattamaporn Jaikla, รัตนา บุญพา, Rattana Boonpha, เชาวลิต ศรีเสริม, Chaowalit Srisoem, อรดี โชคสวัสดิ์ and Oradee Choksawat. "การถอดบทเรียนการบริหารจัดการกำลังคนด้านการพยาบาลและสมรรถนะของพยาบาลเพื่อตอบสนองภาวะวิกฤตโควิด-19 ในระบบบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ เขตสุขภาพที่ 10." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5768">http://hdl.handle.net/11228/5768</a>.
.custom.total_download192
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year28
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2911.pdf
ขนาด: 4.520Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย