Show simple item record

Social Returns on Investment from Employment Innovation Initiatives to Enhance Community Capacity to Provide Well-Being Support Amidst Emerging Health-Related Incidences

dc.contributor.authorเกียรติอนันต์ ล้วนแก้วth_TH
dc.contributor.authorKiatanantha Lounkaewth_TH
dc.contributor.authorทนงศักดิ์ ศิริยงค์th_TH
dc.contributor.authorTanongsak Siriyongth_TH
dc.contributor.authorวรกฤษณ์ นุ้ยพินth_TH
dc.contributor.authorWorakrit Nuypinth_TH
dc.contributor.authorสรัลพร รอดลอยth_TH
dc.contributor.authorSarunporn Rodloyth_TH
dc.contributor.authorนฤมล หนูบ้านเกาะth_TH
dc.contributor.authorNarumon Noobankhoth_TH
dc.contributor.authorกนกพร ดวงเสาร์th_TH
dc.contributor.authorKanokpond Duangsaoth_TH
dc.contributor.authorปาริษา มณีรัตน์th_TH
dc.contributor.authorParisa Maneeratth_TH
dc.date.accessioned2022-12-07T09:16:38Z
dc.date.available2022-12-07T09:16:38Z
dc.date.issued2565-10
dc.identifier.otherhs2890
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5776
dc.description.abstractสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้มีจำนวนผู้ว่างงานมากขึ้น เป็นผลมาจากการที่สถานประกอบการหยุดดำเนินการหรือลดจำนวนพนักงาน จึงก่อให้เกิดการตกงาน การลดเวลาทำงานส่งผลให้รายได้และเงินออมของแรงงานลดลง ทำให้เกิดความเครียดและปัญหาสุขภาพตามมา โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มแรงงานไร้ฝีมือ แรงงานที่ไม่ได้ทำงานประจำและแรงงานสูงวัย สำหรับประเทศไทยผู้ตกงานจากการระบาดของโรคโควิด-19 มีทางเลือกว่าจะเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง หรือหางานอื่นทำต่อไป ในกรณีผู้ที่กลับไปยังภูมิลำเนาอาจไม่สามารถหางานทำได้ เนื่องจากชุมชนไม่มีอาชีพรองรับ นอกเหนือไปจากการช่วยเหลืองานของครอบครัว ที่ผ่านมามีโครงการที่เป็นนวัตกรรมในการสร้างงานของหน่วยงานภาครัฐหลายโครงการที่มุ่งแก้ปัญหาการว่างงานของบัณฑิตและการยกระดับสุขภาวะของชุมชนไปควบคู่กันด้วยการจ้างงานบัณฑิตให้กลับไปทำงานในชุมชน สำหรับโครงการการสร้างงาน สร้างอาชีพเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของหน่วยงานภาครัฐ นอกจากจะวัดด้วยตัวชี้วัดระดับผลผลิตของโครงการแล้ว การประเมินความคุ้มค่าในเชิงสังคมที่เป็นผลรวมของมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการประเมินความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการ รวมถึงเป็นแนวทางในการยกระดับโครงการเหล่านี้และโครงการลักษณะเดียวกันให้มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้นต่อไป ผลการศึกษา วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งต่างประเทศและในประเทศ สรุปได้ว่า การระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ส่งผลให้บัณฑิตจบใหม่และบัณฑิตเก่าเกิดการว่างงาน เนื่องจากสถานประกอบการบางแห่งเริ่มมีการปิดตัวหรือลดจำนวนการจ้างงานลงและสถานประกอบการมีจำนวนไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ว่างงาน ซึ่งผลกระทบดังกล่าวทำให้แรงงานเดินทางกลับภูมิลำเนา แต่ภายในชุมชนไม่มีอาชีพที่รองรับ ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานของคนภายในชุมชน วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ผลการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของนวัตกรรมการสร้างงานเพื่อยกระดับความสามารถในการดูแลสุขภาวะของชุมชนภายใต้สถานการณ์โรคอุบัติใหม่ ทั้ง 5 โครงการ คือ (1) โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม (Social Return on Investment: SROI) เท่ากับ 1: 4.23 (2) โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI) เท่ากับ 1: 7.13 (3) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มีมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมด 54,695,113,361 บาท ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI) เท่ากับ 1: 5.15 (4) โครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI) เท่ากับ 1: 3.55 และ (5) โครงการสร้างงาน สร้างอาชีพด้วยการนวดไทยในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI) เท่ากับ 1: 22.70 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนารูปแบบของนวัตกรรมการสร้างงานเพื่อยกระดับความสามารถในการดูแลสุขภาวะของชุมชน คือ การ “จับคู่” ระหว่างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ผู้รับเห็นประโยชน์ กับความรู้เดิมที่ผู้รับมีอยู่แล้วจะส่งผลให้เกิดความคุ้มค่า การทำโครงการควรมี Exit Strategy ในการส่งต่อผู้เข้าร่วมโครงการระหว่างรองาน และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการมีงานทำ การเตรียมความพร้อมของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะ Mindset + Soft Skills + Leadership Skills + Communication Skills + Digital Skills + Financial Skills เป็นสิ่งสำคัญ Outputs + Outcomes ของโครงการแต่ละประเภทมีระยะเวลาไม่เท่ากัน การประเมินความสำเร็จจึงต้องวางกรอบเวลาในการประเมินให้สอดคล้องกับลักษณะของโครงการ การบริหารความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ทราบถึงขอบเขตการดำเนินการ ความรับผิดชอบ และ Do’s and Don’ts ของโครงการ การถอดบทเรียนการทำโครงการ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงโครงการในระยะต่อไป การเลือกพื้นที่/กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ ควรเน้นความเหมาะสมและความพร้อมของประชาชน ผู้รับผลประโยชน์กับหน่วยงานในพื้นที่เป็นหลักและความต่อเนื่องของโครงการในระยะยาวมีความสำคัญ เพราะหากถูกมองว่าเป็นเพียงโครงการระยะสั้น ระบบการทำงานก็จะถูกออกแบบมาเพื่อการทำงาน “ชั่วคราว” ทำให้ยากที่จะเกิดความยั่งยืน จากโครงการการสร้างงาน สร้างอาชีพของทั้ง 5 โครงการ สามารถช่วยลดอัตราการว่างงาน ช่วยให้แรงงานที่เคยทำงานนอกพื้นที่ ที่ประสบปัญหาการว่างงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 เมื่อกลับคืนถิ่นมีงานทำ อีกทั้งผู้ที่เข้าร่วมโครงการยังสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการทำการตลาดได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectCommunityth_TH
dc.subjectCommunity-Basedth_TH
dc.subjectชุมชน--การร่วมมือth_TH
dc.subjectCommunity Participationth_TH
dc.subjectการมีส่วนร่วมของชุมชนth_TH
dc.subjectSocial Developmentth_TH
dc.subjectการพัฒนาสังคมth_TH
dc.subjectวิจัย--แง่เศรษฐกิจth_TH
dc.subjectการประเมินโครงการth_TH
dc.subjectQuality of Lifeth_TH
dc.subjectการพัฒนาคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของนวัตกรรมการสร้างงานเพื่อยกระดับความสามารถในการดูแลสุขภาวะของชุมชนภายใต้สถานการณ์โรคอุบัติใหม่th_TH
dc.title.alternativeSocial Returns on Investment from Employment Innovation Initiatives to Enhance Community Capacity to Provide Well-Being Support Amidst Emerging Health-Related Incidencesth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe outbreak of COVID-19 had caused businesses to shut down. As a result, unemployment incidences soared. Being unemployed not only affected ones’ incomes, Physical and psychological well-being were also adversely affected as well. These undesirable effects were more predominant among new graduates, unskilled workers, part-time workers and elderly workers. In Thailand, some of those affected were fortunate to be able to return to their original provincial residences. There were also those who decided to stay due to lack of jobs in the communities or nearby areas to support them if they were to return home. These lack of employment opportunity issues were known to the government both at the national and provincial levels. Thus there were several initiatives on area-based job creation project to ensure that those who returned would find an employment to support them until the breakout subsided. Many of these initiatives tided their program to the improvement of community well-being. While employment benefits were apparent, other indirect social and economic benefits were more subtle. Assessing the success of these publicly-funded programs based only on apparent employment benefits would grossly underestimate the programs’ contributions. This study aimed at providing a broader view as to how such initiatives generated both direct and indirect social and economics benefits. With the use of Social Rates of Returns (SROI) as the key empirical workhorse, the study provided supplementary information of the magnitude of programs’ contributions whose values could be used as financial measure against the resources spent on the program; therefore, the benefit and cost ratios would be closer to their true boundaries. Five projects were chosen as case studies. SROI calculation based on primary and secondary sources had yielded the followings: 1. For Khok Nong Na Sufficiency Economy project, the SROI was 1 : 4.23; 2. For 1 Subdistrict 1 New Theory Agriculture Group project the SROI was 7.13; 3. For U2T Project, the SROI was 1 : 5.15; 4. For Local Volunteer Care-Takers, the SROI was 1 : 3.55; and 5. For Traditional Thai Massage Training, the SROI was 1 : 22.70. By and large, based on the above empirical findings, it could be concluded that these initiatives were sound investment of the public fund. There were three essential lessons learned from these projects. The first being finding the right match between the project participants and the need of communities. It was found that when the skills of participants matched with communities’ needs, participants would receive considerably more support from communities; this would increase the chance of the participant to successfully meet the requirements of the project. The second lesson was designing exit strategy prior to the implementation of the project. There were cases whose community capacity deteriorated significantly after the project participants were withdrew. This would not had happened if there were properly designed exit strategy to pass on all the responsibilities held by project participants to the designated persons in the communities. The third lesson was on enhancing participants’ soft skills, digital skills and communication skills so they could work more effectively with community members. This skill enhancement should be part of the pre-project orientation of the participants. The last one was integrating monitoring and evaluation process as a part of the project. This was because the project of this nature required certain time period before outcomes and impacts could be felt and measured. Without having a proper M&E process, there would be no way to collect required data to measure the true success of these endeavors.th_TH
dc.identifier.callnoW84.6 ก855ก 2565
dc.identifier.contactno64-131
dc.subject.keywordSocial Return on Investmentth_TH
dc.subject.keywordSROIth_TH
dc.subject.keywordการประเมินผลตอบแทนทางสังคมth_TH
.custom.citationเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว, Kiatanantha Lounkaew, ทนงศักดิ์ ศิริยงค์, Tanongsak Siriyong, วรกฤษณ์ นุ้ยพิน, Worakrit Nuypin, สรัลพร รอดลอย, Sarunporn Rodloy, นฤมล หนูบ้านเกาะ, Narumon Noobankho, กนกพร ดวงเสาร์, Kanokpond Duangsao, ปาริษา มณีรัตน์ and Parisa Maneerat. "การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของนวัตกรรมการสร้างงานเพื่อยกระดับความสามารถในการดูแลสุขภาวะของชุมชนภายใต้สถานการณ์โรคอุบัติใหม่." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5776">http://hdl.handle.net/11228/5776</a>.
.custom.total_download161
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year13
.custom.downloaded_fiscal_year18

Fulltext
Icon
Name: hs2890.pdf
Size: 4.937Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record