dc.contributor.author | นารีรัตน์ ผุดผ่อง | th_TH |
dc.contributor.author | Nareerut Pudpong | th_TH |
dc.contributor.author | ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Rapeepong Suphanchaimat | th_TH |
dc.contributor.author | ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Titiporn Tuangratananon | th_TH |
dc.contributor.author | สตพร จุลชู | th_TH |
dc.contributor.author | Sataporn Julchoo | th_TH |
dc.contributor.author | พิกุลแก้ว ศรีนาม | th_TH |
dc.contributor.author | Pigunkaew Sinam | th_TH |
dc.contributor.author | หทัยรัตน์ โกษียาภรณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Hathairat Kosiyaporn | th_TH |
dc.contributor.author | วาทินี คุณเผือก | th_TH |
dc.contributor.author | Watinee Kunpeuk | th_TH |
dc.contributor.author | ศรวณีย์ อวนศรี | th_TH |
dc.contributor.author | Sonvanee Uansri | th_TH |
dc.contributor.author | มธุดารา ไพยารมณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Mathudara Phaiyarom | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-12-16T04:47:33Z | |
dc.date.available | 2022-12-16T04:47:33Z | |
dc.date.issued | 2565-12-14 | |
dc.identifier.other | hs2919 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5781 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กประถมศึกษา และสุขภาวะของครอบครัวในช่วงการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย โดยมุ่งหวังว่าการศึกษานี้จะเป็นพื้นฐานต่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย เพื่อการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กประถมศึกษา รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาวะของครอบครัว โดยใช้บทเรียนจากการที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำเนินชีวิต เนื่องจากต้องปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตและการเรียนการสอนแบบปกติ เป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายและการติดเชื้อโรคโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลให้มีการเตรียมพร้อมที่ดีต่อสถานการณ์โรคระบาดอื่นๆ ที่อาจมีขึ้นในอนาคต การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีคู่ขนาน (parallel mixed method design) ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งประกอบด้วย 1) การศึกษาเชิงปริมาณ ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้ปกครองเด็กประถมศึกษาที่กำลังศึกษาในโรงเรียน ที่ตั้งอยู่ใน 5 จังหวัด (รัฐ 1 แห่ง, เอกชน 1 แห่ง) ในแต่ละภาคของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงราย อุดรธานี ชลบุรีและสงขลา รวม 10 โรงเรียน ซึ่งมีผู้ปกครองที่ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น จำนวน 701 คน (แบบกระดาษ จำนวน 231 คน, แบบออนไลน์ จำนวน 470 คน) 2) การศึกษาเชิงคุณภาพโดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม โดยการเลือกแบบเจาะจงในผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น จำนวน 56 คน ผลจากการศึกษา พบว่า เด็กประถมศึกษา ผู้ปกครอง และครอบครัวได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากการที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านและเรียนทางไกลเป็นหลัก โดยเป็นผลกระทบด้านลบเป็นส่วนใหญ่ทั้งต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตของเด็กและผู้ปกครอง รวมไปถึงสุขภาวะครอบครัวโดยรวม และนอกจากนี้ยังมีผลกระทบด้านลบต่อการเรียนรู้ของเด็กที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่เท่ากับการเรียนการสอนที่โรงเรียน อย่างไรก็ตาม มีผลกระทบในเชิงบวกอยู่บ้างในแง่ของการส่งเสริมความสัมพันธ์ใกล้ชิดของคนในครอบครัวที่ต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น และการที่พ่อแม่ต้องให้ความช่วยเหลือเด็กในการเรียนที่บ้าน การที่พ่อแม่ผู้ปกครองมีการติดต่อประสานงานกับครูมากขึ้น และการที่ครูทุกคนต้องปรับตัวเรียนรู้ช่วยเหลือกันในเรื่องการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เป็นต้น จากบทเรียนของการรับมือกับโรคโควิด-19 เพื่อให้ประเทศไทยตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการศึกษา ดังนี้ 1. ในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข การปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบทางไกลโดยเน้นรูปแบบแบบประสานเวลาที่ผู้เรียนและผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นนโยบายทางเลือกที่ดีในการแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ในระยะยาว การทำให้เด็กสามารถกลับเข้าไปเรียนที่โรงเรียนได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วที่สุดเป็นนโยบายที่เหมาะสม 2. กระทรวงศึกษาธิการควรจัดสิ่งสนับสนุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนให้มากขึ้น และเพิ่มสาระการเรียนรู้เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อหรือโรคอุบัติใหม่ต่างๆ เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้และความตื่นตัวกับโรคระบาดซึ่งอาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มีดังนี้ 1. กระทรวงสาธารณสุขควรมีนโยบายแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อและการสื่อสารที่ชัดเจนและทันต่อเหตุการณ์ มีการกระจายอำนาจและทรัพยากรลงไปในระดับพื้นที่ 2. กระทรวงสาธารณสุขควรร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกให้ความสำคัญและประสานความร่วมมือกันในการช่วยเหลือสนับสนุนครอบครัวเด็กประถมศึกษา รวมถึงการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนและการติดตามภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของทั้งเด็กและผู้ปกครอง และการช่วยเหลือให้คำปรึกษา โดยเฉพาะในเด็กและผู้ปกครองกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ปกครองที่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียวหรือผู้ปกครองที่ดื่มสุรา 3. กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดให้มีครูอนามัยประจำทุกโรงเรียนและร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในการกำหนดคุณสมบัติและการฝึกอบรมที่ควรมีแก่ครูอนามัยทุกคน 4. ในระยะพื้นฟูหรือภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้อ กรมอนามัยและกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรมีการทำงานร่วมกันเป็นทีมสหสาขา เพื่อติดตามแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาด นอกจากนี้ การศึกษานี้ยังมีข้อเสนอแนะในภาพรวมทั้งในด้านการศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ คือ การทำงานเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งร่วมกันอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับกระทรวง ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ เนื่องจากหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคมและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งยังมีกระทรวงอื่นๆ อาทิ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการแก่เด็กและครอบครัว เป็นต้น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โรงเรียน | th_TH |
dc.subject | Schools | th_TH |
dc.subject | สถานศึกษา | th_TH |
dc.subject | Educational Institutions | th_TH |
dc.subject | นักเรียน | th_TH |
dc.subject | Students | th_TH |
dc.subject | เด็ก | th_TH |
dc.subject | Children | th_TH |
dc.subject | ครอบครัว | th_TH |
dc.subject | Family | th_TH |
dc.subject | Families | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค)--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | COVID-19--Prevention and Control | th_TH |
dc.subject | โรคติดต่อ, การควบคุม | th_TH |
dc.subject | Communicable Disease Control | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กประถมศึกษา และสุขภาวะของครอบครัว ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Development of Policy Recommendations and Situation Analysis of Education Management, Health Promotion and Prevention for Primary School Children, and Family’s Well-Being During Covid-19 Pandemic in Thailand | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Since the year 2019 till present (2022), all countries around the world have confronted with the Covid-19 pandemic. The Government of each country has launched several public health measures in responsive to the changes of the Covid situation as well as its own country context. The main objectives of this study were to prevent the spread of the disease and to reduce the infected cases and deaths. Public health measures included social distancing, city lockdown, travel restriction, and closure of public service places, restaurants, or schools. Those measures could cause negative impacts in several sectors, such as economic, environmental, and educational sectors. The Covid impact on education was of het concern as education is the foundation of human capital development. It has been found that approximately 1.6 billion children and adolescents (more than 90% of the total learners) in 190 countries could not physically attend their schools for several months due to school closure. In addition, above 100 million teachers and school staff had been affected by the rapid closures of schools. School closures resulted in the dropouts of about 24 million students. During the pandemic, many countries had adopted the online education approach in order to k continue the study activities for children. This study aimed to investigate the education management and health promotion and prevention activities for primary school children during the Covid-19 pandemic, and to develop policy recommendations for improving the quality of primary school education management and health promotion and prevention activities for children and parents for better preparation and responsiveness given any outbreaks in the future. | th_TH |
dc.identifier.callno | WC503 น488ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 64-199 | |
.custom.citation | นารีรัตน์ ผุดผ่อง, Nareerut Pudpong, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, Rapeepong Suphanchaimat, ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์, Titiporn Tuangratananon, สตพร จุลชู, Sataporn Julchoo, พิกุลแก้ว ศรีนาม, Pigunkaew Sinam, หทัยรัตน์ โกษียาภรณ์, Hathairat Kosiyaporn, วาทินี คุณเผือก, Watinee Kunpeuk, ศรวณีย์ อวนศรี, Sonvanee Uansri, มธุดารา ไพยารมณ์ and Mathudara Phaiyarom. "การพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กประถมศึกษา และสุขภาวะของครอบครัว ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5781">http://hdl.handle.net/11228/5781</a>. | |
.custom.total_download | 50 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 15 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |