dc.contributor.author | กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มอนามัยเด็กวัยเรียนวัยรุ่น สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-12-27T09:15:52Z | |
dc.date.available | 2022-12-27T09:15:52Z | |
dc.date.issued | 2565-02 | |
dc.identifier.isbn | 9786161148270 | |
dc.identifier.other | hs2920 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5784 | |
dc.description.abstract | สำหรับในประเทศไทย โดยกรมอนามัยได้ดำเนินการสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียน ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2551 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณและการสนับสนุนทางวิชาการจากองค์การอนามัยโลก ดำเนินการโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและแบบสำรวจมาตรฐานที่ใช้ร่วมกันทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา (US-CDC) ร่วมกับ องค์การอนามัยโลก การสำรวจกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มนักเรียนอายุระหว่าง 13-15 ปี โดยศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต การเจ็บป่วยในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ การสำรวจดังกล่าว ครอบคลุมองค์ประกอบทั้งหมด 10 ด้าน ที่มีส่วนสัมพันธ์กับปัจจัยและสาเหตุของการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ทั่วโลก ได้แก่ (1) การดื่มแอลกอฮอล์ (2) พฤติกรรมการบริโภค (3) การใช้สารเสพติด (4) พฤติกรรมด้านสุขอนามัย (5) สุขภาพจิต (6) กิจกรรมการออกกำลังกาย (7) ปัจจัยด้านการป้องกัน (8) พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ (9) การสูบบุหรี่ (10) ความรุนแรงและการบาดเจ็บโดยไม่เจตนา ซึ่งผลการสำรวจในครั้งแรก พบว่า พฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนที่สำคัญ ได้แก่ การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ รวมถึงด้านความรุนแรงและการบาดเจ็บ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชน และในปี พ.ศ. 2558 องค์การอนามัยโลกได้สนับสนุนให้ดำเนินการสำรวจภาวะสุขภาพในนักเรียนอายุระหว่าง 13-17 ปี เป็นครั้งที่ 2 ในประเทศไทย ซึ่งได้มีการดำเนินงานในลักษณะโครงการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและแบบสำรวจเดียวกันกับการสำรวจครั้งแรก ผลการสำรวจครั้งที่สอง พบว่า ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกันกับความชุกของพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ เช่น การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ความรุนแรงและการบาดเจ็บ พฤติกรรมทางเพศ รวมถึงภาวะสุขภาพจิต ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน และในการสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนในประเทศไทยเป็นครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ.2564 นี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภาวะสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชนทั้งด้านพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยการป้องกันและนำข้อมูลที่ได้มาใช้เพื่อการจัดทำนโยบายและมาตรการที่เหมาะสม รวมทั้งติดตามทิศทาง หรือแนวโน้มความชุกของพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยการป้องกันในเด็กวัยเรียนและเยาวชนไทยโดยเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนหน้า และเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลภาวะสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชนของประเทศต่างๆ โดยการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลพฤติกรรมนักเรียนในโรงเรียนสังกัดรัฐบาลและสังกัดเอกชน ที่มีนักเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 การสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่าง ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเพื่อการสร้างกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ทั่วประเทศ เก็บข้อมูลภาคสนามในช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม พ.ศ. 2564 ผลการสำรวจประชากรกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 รวมทั้งสิ้นจำนวน 5,661 คน จากจำนวน 59 โรงเรียน เป็นโรงเรียนสังกัดรัฐบาลและสังกัดเอกชนทั่วประเทศ แบ่งเป็นนักเรียนชาย จำนวน 2,504 คน (ร้อยละ 46.9) และนักเรียนหญิง จำนวน 3,135 คน (ร้อยละ 53.1) ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 13-17 ปี จำนวน 4,801 คน (ร้อยละ 86.5) รองลงมาอายุ 18 ปี หรือมากกว่า จำนวน 624 คน (ร้อยละ 10.6) และมีอายุ 12 ปี หรือน้อยกว่า จำนวน 232 คน (ร้อยละ 2.8) สรุปผลการสำรวจในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นถึงภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนของนักเรียนไทย เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปี พ.ศ. 2551-2564 ซึ่งเด็กนักเรียนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนและยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง นอกจากนั้น พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กนักเรียนก็ยังน่ากังวล โดยพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ ดื่มน้ำอัดลมและรับประทานอาหารฟาสต์ฟูดเป็นประจำในขณะที่ระดับการบริโภคผักและผลไม้นั้นค่อนข้างตํ่า นอกจากนี้ พบว่า นักเรียนมีกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพออยู่ในดับตํ่า ขณะที่พฤติกรรมเนือยนิ่งนั้นสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล ภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้น ยกเว้น ประเด็นไม่มีห้องส้วมสะอาดที่โรงเรียนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการระบาดใหญ่ครั้งล่าสุดได้เน้นยํ้าถึงความสำคัญของการสุขาภิบาลน้ำและสุขอนามัย (WASH) การเข้าถึงน้ำ การสุขาภิบาลและการปฏิบัติ ด้านสุขอนามัยที่ดี ผลการสำรวจ พบนักเรียนมีพฤติกรรมเสี่ยงในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้สารเสพติดและการสูบบุหรี่ ทั้งนี้พบว่าในกลุ่มนักเรียนเริ่มเสพครั้งแรกก่อนอายุ 14 ปี หรือน้อยกว่านั้น ความชุกของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเสพสารเสพติดและการสูบบุหรี่ในกลุ่มนักเรียนลดลงเพียงเล็กน้อยตลอดหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ นักเรียนยังเสี่ยงต่อการบาดเจ็บโดยไม่เจตนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอุบัติเหตุรถยนต์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บรุนแรง ผลการสำรวจยังพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่เคยหรือนานๆ ครั้งที่จะใช้เข็มขัดนิรภัย เมื่อนั่งรถยนต์และสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่จักรยานยนต์ จึงเป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในปัญหานี้ เพื่อลดความรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ด้านพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ สัดส่วนของนักเรียนที่ระบุว่า เคยมีเพศสัมพันธ์นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2551-2564 แต่พบว่า ในกลุ่มของนักเรียนที่เคยมีเพศสัมพันธ์เริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกก่อนอายุ 14 ปี มีแนวโน้มลดลง และยังพบว่า นักเรียนใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำเสมอระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ยังมีสัดส่วนเพียงครึ่งเดียวของจำนวนนักเรียนในกลุ่มนี้ ผลการสำรวจพบว่า นักเรียนมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตในหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยว มีความวิตกกังวลจนทำให้นอนไม่หลับบ่อยครั้งหรือเป็นประจำ และพบว่า นักเรียนเคยมีความคิดจริงจังในการพยายามฆ่าตัวตาย เคยวางแผนและพยายามฆ่าตัวตาย โดยพบว่า มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นถึง ปัจจัยสนับสนุน รวมทั้งการเอาใจใส่ของผู้ปกครองและครอบครัวที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนั้นไม่เพียงพอที่จะป้องกันนักเรียนจากความเสี่ยงด้านสุขภาพต่างๆ กายและจิตได้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, World Health Organization, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, WHO Country Cooperation Strategy on NCDs และ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | นักเรียน | th_TH |
dc.subject | Students | th_TH |
dc.subject | การตรวจสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | อนามัย, การสำรวจ | th_TH |
dc.subject | Health Surveys--Thailand | th_TH |
dc.subject | Health Surveys--Statistics | th_TH |
dc.subject | Non-Communicable Disease | th_TH |
dc.subject | โรคไม่ติดต่อ | th_TH |
dc.subject | โรคไม่ติดต่อ--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนในประเทศไทย พ.ศ. 2564 | th_TH |
dc.title.alternative | Thailand Global School-based Student Health Survey, 2021: GSHS | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | WA900.JT3 ก536ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 64-138 | |
dc.subject.keyword | Health Examination | th_TH |
.custom.citation | กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มอนามัยเด็กวัยเรียนวัยรุ่น สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. "การสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนในประเทศไทย พ.ศ. 2564." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5784">http://hdl.handle.net/11228/5784</a>. | |
.custom.total_download | 312 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 3 | |
.custom.downloaded_this_year | 111 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 11 | |