การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยในช่วงการระบาดของโควิด-19
dc.contributor.author | สุภาพ อารีเอื้อ | th_TH |
dc.contributor.author | Suparb Aree-Ue | th_TH |
dc.contributor.author | ยุวดี สารบูรณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Yuwadee Saraboon | th_TH |
dc.contributor.author | อินทิรา รูปสว่าง | th_TH |
dc.contributor.author | Inthira Roopsawang | th_TH |
dc.contributor.author | ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล | th_TH |
dc.contributor.author | Teepatad Chintapanyakun | th_TH |
dc.contributor.author | ศิริรัตน์ อินทรเกษม | th_TH |
dc.contributor.author | Sirirat Intharakasem | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-12-29T03:04:48Z | |
dc.date.available | 2022-12-29T03:04:48Z | |
dc.date.issued | 2565-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 16,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2565) : 421-436 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5786 | |
dc.description.abstract | สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันที่ประชากรทั่วโลกต้องเผชิญ การประกาศมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในวิถีชีวิตใหม่ อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจำแนกตามภูมิภาคของประเทศไทยในช่วงการระบาดของ COVID-19 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจากจังหวัดที่เป็นตัวแทน 5 ภูมิภาคๆ ละ 1 จังหวัด จังหวัดละ 400 ราย รวมผู้สูงอายุเข้าร่วมการศึกษา 2,000 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสุขภาพ และประเมินคุณภาพชีวิต EQ-5D-5L ฉบับภาษาไทย โดยมีรายงานค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจำแนกตามช่วงการระบาดของ COVID-19 ด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีคะแนนคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจต่อสุขภาพในช่วงการระบาดของ COVID-19 ในรอบแรกสูงกว่าช่วงเวลาอื่นๆ ภายหลังรอบแรก ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากเป็นช่วงที่เพิ่งจะเริ่มมีการระบาด และแม้จะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากแต่ก็ยังไม่มีผลกระทบไปยังภูมิภาคอื่นอย่างชัดเจน ทำให้ผู้สูงอายุมีการรับรู้เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความพึงพอใจต่อสุขภาพมากกว่าการระบาดในช่วงต่อๆ มาซึ่งมีการล็อกดาวน์ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุลดลง ในการเปรียบเทียบระหว่างจังหวัดพบว่า บางจังหวัด เช่น สมุทรปราการ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตต่ำกว่าจังหวัดอื่น เช่น แพร่ อาจเนื่องมาจากจังหวัดสมุทรปราการถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ที่มีมาตรการในการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเข้มงวด ในขณะที่แพร่ถูกกำหนดให้เป็นเพียงพื้นที่เฝ้าระวังสูงเท่านั้นจึงมีมาตรการผ่อนปรนมากกว่า นั่นคือความเข้มข้นของมาตรการส่งผลให้กิจกรรมของผู้สูงอายุลดลงและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในที่สุด ผลการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในครั้งนี้ พบการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตในแต่ละช่วงการระบาดของ COVID-19 และแตกต่างกันตามแต่ละภูมิภาค ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญสำหรับทีมสุขภาพและผู้กำกับนโยบายด้านสุขภาพของประชาชนในประเทศจะได้ตระหนักถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการให้บริการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เผชิญกับโรคระบาดนี้ต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | Elderly | th_TH |
dc.subject | Quality of Life | th_TH |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.title | การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยในช่วงการระบาดของโควิด-19 | th_TH |
dc.title.alternative | Changes in Quality of Life among Thai Older Adults during Corona Virus-19 Pandemic | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | According to the situation of COVID-19 pandemic worldwide, policies and strategic measures managing the new normal restrictions may impact the quality of life, especially in the aging population. This study aimed to monitor and compare the quality of life across different periods of the COVID-19 pandemic in older adults stratified by regions in Thailand. Participants comprised 400 older adults living in provinces representing five regions in Thailand with a total number of 2,000 participants. The self-reporting questionnaires were applied for data collection, including personal and health information and the EQ-5D-5L quality of life Thai version (of high reliability 0.89). Descriptive statistics was utilized for overall personal and health information, and one-way analysis of variance was performed to examine the change of quality of life among different pandemic waves. Findings revealed that most of the provinces reported a higher quality of life and satisfaction of health at the first wave of the pandemic than others. The restriction policy decreased mobility in older people. Comparing each province, findings displayed that older people in Samut Prakarn had lower quality of life than others, such as Phrae province. It might be because Samut Prakarn province with high number of cases imposed a maximum infection control under a high restriction policy, while Phrae province with fewer cases enforced less restriction requirement. The findings on quality of life informed that the maximum infection control policy which decreased physical activity and lowered quality of life in older adults. Remarkably, the results of the present study showed that quality of life varied depending on pandemic waves and regions. These findings provided useful information to healthcare personnel and policymakers in Thailand to develop further plans and services for older people to cope with future pandemics properly. | th_TH |
.custom.citation | สุภาพ อารีเอื้อ, Suparb Aree-Ue, ยุวดี สารบูรณ์, Yuwadee Saraboon, อินทิรา รูปสว่าง, Inthira Roopsawang, ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, Teepatad Chintapanyakun, ศิริรัตน์ อินทรเกษม and Sirirat Intharakasem. "การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยในช่วงการระบาดของโควิด-19." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5786">http://hdl.handle.net/11228/5786</a>. | |
.custom.total_download | 1482 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 48 | |
.custom.downloaded_this_year | 812 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 148 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ