• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

พฤติกรรมการขอรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่ประกอบอาชีพขับรถรับจ้างในภาคการขนส่ง: การวิเคราะห์จากฐานข้อมูลผู้ประกันตน ของสำนักงานประกันสังคม ระหว่างปี 2561–2563

สายชล คล้อยเอี่ยม; Saichon Kloyiam; พิสิฐ ศรีรัตนวงศ์; Phisit Srirattanawong;
วันที่: 2565-12
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการขอรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่ประกอบอาชีพขับรถรับจ้างในภาคการขนส่งที่อาจเป็นภาพสะท้อนแนวโน้มการใช้บริการประกันสังคมของแรงงานแพลตฟอร์มที่มีแนวโน้มเป็นที่นิยมของแรงงานนอกระบบในช่วงการระบาดของโควิด–19 โดยนำข้อมูลผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่ประกอบอาชีพในภาคการขนส่งที่ขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคมของสำนักงานประกันสังคมระหว่างปี 2561–2563 จำนวน 417,135 คน นำเสนอสถิติเชิงพรรณนาด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกี่ยวกับการใช้บริการจำแนกตามจำนวนครั้ง ประโยชน์ทดแทน และเวลาเฉลี่ยในการขอรับประโยชน์ทดแทนครั้งแรกหลังจากขึ้นทะเบียนแล้ว ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่ประกอบอาชีพขับรถรับจ้างในภาคการขนส่งร้อยละ 4.1 ขอรับประโยชน์ทดแทน ระยะเวลาขอรับประโยชน์ทดแทนครั้งแรกหลังจากเป็นผู้ประกันตนแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี ส่วนประโยชน์ทดแทนที่ขอรับบริการมากที่สุด คือ ประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายและเจ็บป่วย และกรณีทุพพลภาพมีอัตราของผู้ประกันตนที่ไม่ได้รับอนุมัติมากที่สุด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อกระตุ้นและจูงใจในการเข้าสู่ระบบประกันสังคมของกลุ่มแรงงานแพลตฟอร์ม โดยนำลักษณะทางประชากรของผู้ประกันตนที่มีแนวโน้มจะใช้บริการประกันสังคมในช่วง 1-3 ปี มาประยุกต์ใช้

บทคัดย่อ
The present study’s objective was to investigate the claim behaviors of the insured persons under Social Security Act’s Article 40 who had transportation related occupations. This would provide lessons for other platform workers being prevalent during COVID-19 pandemic who chose to register under Social Security Act’s Article 40. The Social Security Office’s administrative database between 2018–2020 provided a total of 417,135 insured persons for analysis. Descriptive statistics of number, percentage, mean, and standard deviation were presented to reflect insured persons’ claim frequencies, benefits and averaged days from registration dates to first claim dates by benefits. The analysis showed that 4.1 percent of insured persons submitted claims. The average duration from the registration dates to the first claim dates exceeded a year. The most benefit claims came from the sickness benefit. The highest rate of denied claims came from the disability benefit. Developing effective communication strategies for platform workers should consider potential claimants and their needs as found by this study.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v16n ...
ขนาด: 313.5Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 109
ปีพุทธศักราชนี้: 64
รวมทั้งหมด: 399
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อจัดทำข้อเสนอ การปฎิรูประบบบริการสุขภาพ และการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย 

    วรรณภา ศรีธัญรัตน์; Wannapa Srithanyarat; ผ่องพรรณ อรุณแสง; อัมพร เจริญชัย; สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ; กัลยา พัฒนศรี (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    เอกสารนี้นำเสนอผลการสังเคราะห์องค์ความรู้ เพื่อจัดทำข้อเสนอการปฏิรูประบบบริการสุขภาพและการสร้างหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย ในกระบวนการสังเคราะห์ได้มีการศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงานด้านระบบบริการสุขภาพและหลักประกันส ...
  • รูปแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลเพื่อผู้ประกันตน 

    นิพิฐ พิรเวช; ถาวร สกุลพาณิชย์; ครรชิต สุขนาค; สถาพร ปัญญาดี; บุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ; อุทุมพร วงษ์ศิลป์; ณัฏฐ์นิธิมา แจ้งประจักษ์ (สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2559)
    การวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อผู้ประกันตนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานและความเป็นไปได้ทางการเงินในการจัดตั้งโรงพยาบาลประกันสังคม โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การทบทวนเอกสารเกี่ยวกั ...
  • การวิเคราะห์ผลกระทบและประเมินผลของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 

    จิระวัฒน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์; กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์; ฐิติมา พุฒิทานันท์; ทัศนีย์ ปิยนิรันดร์ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2551)
    โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค) ได้รับความสนใจอย่างมากจากทั้งภาครัฐและภาคประชาชนตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นโครงการที่มีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการรักษาพยาบาลอย่างกว้างขวาง ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV