แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ความรู้และความตระหนักเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพและการจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทย

dc.contributor.authorวันวิสาห์ แก้วขันแข็งth_TH
dc.contributor.authorWanwisa Kaewkhankhaength_TH
dc.contributor.authorฐิติพร หลาวประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorThitiporn Laoprasertth_TH
dc.contributor.authorเสาวภา คชลัยth_TH
dc.contributor.authorSaowapa Khotchalaith_TH
dc.contributor.authorศุภภัทร คีรีวรรณth_TH
dc.contributor.authorSupapat Kirivanth_TH
dc.contributor.authorหทัยรัตน์ โกษียาภรณ์th_TH
dc.contributor.authorHathairat Kosiyapornth_TH
dc.contributor.authorอังคณา เลขะกุลth_TH
dc.contributor.authorAngkana Lekagulth_TH
dc.contributor.authorเจนจิตต์ คงกำเนิดth_TH
dc.contributor.authorJanejit Kongkumnerdth_TH
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรth_TH
dc.contributor.authorViroj Tangcharoensathienth_TH
dc.date.accessioned2022-12-29T04:14:31Z
dc.date.available2022-12-29T04:14:31Z
dc.date.issued2565-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 16,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2565) : 505-522th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5791
dc.description.abstractการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอุตสาหกรรมทางการเกษตรที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหาร และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการผลิตสัตว์น้ำ เกษตรกรอาจใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลเพื่อป้องกันและรักษาโรคในสัตว์ที่เลี้ยง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและการดื้อยาต้านจุลชีพของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพและการจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และความรู้ของเจ้าหน้าที่เรื่องยาปฏิชีวนะและสารเคมีตามกฎหมายให้ใช้สำหรับสัตว์น้ำ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามเรื่องความรู้และความตระหนักเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทำการศึกษาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ข้อคำถามประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) ความรู้เรื่องแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2561-2564 2) ความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะ 3) ความตระหนักต่อปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ และ 4) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและสารเคมีในสัตว์น้ำ มีผู้ตอบแบบสอบถาม 92 คน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพในการจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจาก 61 จังหวัดของประเทศไทย ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งทราบว่าประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 (ร้อยละ 57.6) แต่ส่วนใหญ่ของผู้ที่ทราบนั้น ไม่ทราบเนื้อหาสาระในแผนยุทธศาสตร์ฯ (ร้อยละ 62.3) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับยาปฏิชีวนะผ่านการตอบคำถามทั้งหมด 6 ข้อ อยู่ในระดับสูง โดยร้อยละ 73.9 ตอบถูกมากกว่า 3 ข้อขึ้นไป โดยประเด็นที่มีความเข้าใจถูกต้องมากที่สุด ได้แก่ “ควรหยุดใช้เมื่อได้รับยาฆ่าเชื้อ/ยาปฏิชีวนะครบถ้วน (ตามที่แพทย์/บุคลากรทางการแพทย์แนะนำ)” และ “การใช้ยาฆ่าเชื้อ/ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นทำให้การรักษาไม่ได้ผลหรือเชื้อดื้อยา” ร้อยละ 94.6 และ 90.2 ตามลำดับ ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าร้อยละ 80.0 ตอบถูกเรื่องยาและสารเคมี ที่กรมประมงอนุญาตและไม่อนุญาตให้ใช้สำหรับสัตว์น้ำ อีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนยอมรับว่าเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็นปัญหาที่ควรได้รับการพิจารณา การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวัดระดับความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพและการจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยอ้างอิงข้อคำถามจากแบบการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2562 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่มีความรู้และความตระหนักเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะและการดื้อยาต้านจุลชีพในระดับสูง แต่ควรมีการเผยแพร่นโยบายที่เกี่ยวข้องกับยาปฏิชีวนะ รวมถึงจัดอบรมให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพในการจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถนำความรู้ไปส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectสัตว์น้ำ--การเลี้ยงth_TH
dc.subjectสัตว์เลี้ยงth_TH
dc.subjectยาต้านจุลชีพในสัตว์th_TH
dc.subjectการดื้อยาในสัตว์th_TH
dc.subjectAntibioticsth_TH
dc.subjectAntimicrobialth_TH
dc.subjectDrug Resistanceth_TH
dc.subjectยาต้านจุลชีพth_TH
dc.subjectการดื้อยาต้านจุลชีพth_TH
dc.titleความรู้และความตระหนักเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพและการจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeKnowledge and Awareness of Antibiotic Use and Antimicrobial Resistance: A Survey in Fisheries Officers of Thailandth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeAquaculture plays an important role in global food supply and in national economic development in low and middle income countries. However, during the process of aquaculture production, farmer may inappropriately use antibiotics to prevent and to treat infections. This may lead to antimicrobial resistance in humans and environment. This study aimed to assess fisheries officers’ knowledge and awareness of antibiotic use, antimicrobial resistance, and knowledge on regulations related to antibiotic use in aquaculture sector. A self-administered questionnaire survey was conducted in 92 fisheries officers whose work was related to aquatic animal health and aquaculture management from 61 provinces in February 2019. The questionnaire comprised four parts: 1) knowledge about the Thailand’s National Strategic Plan on Antimicrobial Resistance 2017-2021 (NSP-AMR); 2) knowledge on antibiotics; 3) awareness of antimicrobial resistance; and 4) regulations on chemicals and antibiotic use in aquatic animals. Over half of the respondents (57.6%) had heard about the NSP-AMR, but most of them (62.3%) did not know the content. The level of knowledge of antimicrobial was measured using six true/false statements. Results showed that level of knowledge on AMR and antibiotic use was high, as 73.9% of respondents gave correct answers to more than 3 out of 6. The majority of respondents (more than 80.0%) correctly recognized the importance of antibiotic use and AMR problems, and all of the respondents agreed that AMR was an important problem that needed policy attention. More than half of respondents gave correct answers in all statements regarding the antimicrobial use regulations in aquaculture sector. This study was the first study which assessed knowledge on antibiotic use and antimicrobial resistance among fisheries officers in Thailand. We applied the questionnaire from the National Health and Welfare Survey 2019 and the results showed that respondents had a high level of knowledge about antibiotic use and antimicrobial resistance. But, gaps remain in the dissemination of antibiotic-related policies. Training should be provided to improve knowledge and awareness on AMR and to support fisheries officers in regulating and ensuring rational use of antibiotics in the aquaculture.th_TH
dc.subject.keywordAntimicrobial Resistanceth_TH
dc.subject.keywordAMRth_TH
.custom.citationวันวิสาห์ แก้วขันแข็ง, Wanwisa Kaewkhankhaeng, ฐิติพร หลาวประเสริฐ, Thitiporn Laoprasert, เสาวภา คชลัย, Saowapa Khotchalai, ศุภภัทร คีรีวรรณ, Supapat Kirivan, หทัยรัตน์ โกษียาภรณ์, Hathairat Kosiyaporn, อังคณา เลขะกุล, Angkana Lekagul, เจนจิตต์ คงกำเนิด, Janejit Kongkumnerd, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร and Viroj Tangcharoensathien. "ความรู้และความตระหนักเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพและการจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5791">http://hdl.handle.net/11228/5791</a>.
.custom.total_download929
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month69
.custom.downloaded_this_year570
.custom.downloaded_fiscal_year134

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v16n ...
ขนาด: 1.030Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย