Show simple item record

Situation and Lesson Learned for the Role Model of Primary Care via Sam-Mor Policy in Northeast Thailand

dc.contributor.authorเพ็ญนภา ศรีหริ่งth_TH
dc.contributor.authorPennapa Sriringth_TH
dc.contributor.authorเตือนใจ ภูสระแก้วth_TH
dc.contributor.authorThuanjai Poosakaewth_TH
dc.contributor.authorฉวีวรรณ ศรีดาวเรืองth_TH
dc.contributor.authorChaweewan Sridawruangth_TH
dc.contributor.authorพิทยา ศรีเมืองth_TH
dc.contributor.authorPhitthaya Srimuangth_TH
dc.contributor.authorรุจิราลักขณ์ พรหมเมืองth_TH
dc.contributor.authorRuchiralak Prommueangth_TH
dc.contributor.authorไพฑูรย์ พรหมเทศth_TH
dc.contributor.authorPaitoon Promthetth_TH
dc.contributor.authorรัตน์ดาวรรณ คลังกลางth_TH
dc.contributor.authorRatdawan Klungklangth_TH
dc.contributor.authorปณิตา ครองยุทธth_TH
dc.contributor.authorPanita Krongyuthth_TH
dc.contributor.authorรุจี จารุภาชน์th_TH
dc.contributor.authorRujee Charupashth_TH
dc.date.accessioned2023-01-16T08:32:51Z
dc.date.available2023-01-16T08:32:51Z
dc.date.issued2565-11-30
dc.identifier.otherhs2927
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5796
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินสถานการณ์การจัดบริการสุขภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 2) ถอดบทเรียนตัวอย่างหน่วยบริการปฐมภูมิที่ดี จุดเด่น ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคของหน่วยบริการตามบริบทของพื้นที่ 3) ศึกษาการดูแลสุขภาพที่บ้านโดยทีมสามหมอตามบริบทของพื้นที่ และ 4) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง เป็นทีมผู้ให้บริการปฐมภูมิที่คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 468 คน ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข และพยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติงานอยู่ในเขตสุขภาพที่ 7, 8, 9 และ 10 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้บริการมีเจตคติอยู่ในระดับดี ทำผลงานผ่านตามตัวชี้วัดกลางของกระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 80.7 หน่วยบริการปฐมภูมิจำนวนครึ่งหนึ่งไม่มีแพทย์เวียนมาให้บริการ และยังขาดแคลนบุคลากรวิชาชีพอื่น ได้รับงบประมาณจากโรงพยาบาลแม่ข่ายไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ส่วนในด้านกิจกรรมบริการ จากคะแนนเต็ม 3 ได้ค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 2.61 (SD 0.84) เมื่อเรียงอันดับแล้ว พบว่า คะแนนเฉลี่ยโดยรวมน้อยที่สุด คือ การให้คำปรึกษาแก่ประชาชน ช่องทางการสื่อสาร และการจัดบริการตามแนวคิดระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ มีคะแนนเฉลี่ยรายด้านน้อยที่สุด 3 อันดับสุดท้าย คือ การจัดบริการ เท่ากับ 1.73 (SD 0.51) การวางแผนกำลังคน เท่ากับ 1.92 (SD 0.68) และการจัดข้อมูลระบบสุขภาพ เท่ากับ 2.39 (SD 0.52) และหน่วยบริการที่ขึ้นทะเบียนแล้วจัดบริการครบถ้วนทุกครั้งได้มากกว่าเป็น 5.16 เท่า ของหน่วยบริการที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน (p-value 0.018, 95% ช่วงเชื่อมั่น 1.33 ถึง 20.12) หน่วยบริการทั้งในเขตเมือง กึ่งเมือง และชนบท มีค่าเฉลี่ยของคะแนนกิจกรรมและบริการไม่แตกต่างกัน แต่ผลการศึกษาเชิงคุณภาพกลับพบว่า ในเขตเมืองและเขตกึ่งเมือง มีทีมผู้ให้บริการและสามารถจัดบริการตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการเชิงรุก โดยมีแพทย์ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นรูปธรรมได้มากกว่าในชนบท ซึ่งในเขตชนบทมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็งให้การสนับสนุน ทำเลที่ตั้งสะดวก บริการรวดเร็ว ประชาชนเข้าถึงง่ายและคุ้นเคยกับทีมผู้ให้บริการ ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับหมอประจำตัว 3 คน และการขึ้นทะเบียนทีมหมอครอบครัวช่วยเชื่อมโยงการทำงานของทีม 3 หมอได้ดีขึ้น ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ การขาดแคลนบุคลากร อุปกรณ์ชำรุดไม่พร้อมใช้งาน ภาระงานการบันทึกข้อมูลที่มีมากเกินไป และมีภาระการส่งรายงานผ่านหลายโปรแกรม การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี ยังไม่ผ่านเกณฑ์ และการดูแลหญิงมีครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ ยังไม่ต่อเนื่อง สรุปได้ว่า หน่วยบริการในเขตเมืองและกึ่งเมืองมีจุดเด่นในด้านการดูแลผู้ป่วยเชิงรุกด้วยการเยี่ยมบ้านอย่างสม่ำเสมอโดยทีม 3 หมอแบบครบทีม และมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ทำให้สามารถให้บริการดูแลเชิงรุกได้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอและครอบคลุม มีการจัดบริการทุกประเภทครบตามมาตรฐานระบบบริการที่พึงประสงค์ทุกด้าน ส่วนในชนบทมีหน่วยบริการขนาดเล็กมีผลการดำเนินงานผ่านตามตัวชี้วัดในสัดส่วนมากกว่าหน่วยบริการขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พร้อมทั้งมีเครือข่ายในชุมชน และ อสม. ที่เข้มแข็ง แต่ยังคงขาดแคลนแพทย์ ทีมผู้ให้บริการ เครื่องมือและอุปกรณ์ไม่เพียงพอ หน่วยบริการทุกรูปแบบในทุกพื้นที่มีจุดด้อยร่วมกัน คือ ระบบสารสนเทศและระบบการส่งต่อไม่มีประสิทธิภาพ ในชนบทขาดแคลนแพทย์ เวชศาสตร์ครอบครัว จึงควรมีการอบรมพัฒนาศักยภาพของทีม 3 หมอ ให้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามขอบเขตของวิชาชีพให้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศ ระบบการส่งต่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าเป็นภาระ และควรพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้จริงในทุกพื้นที่th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectการสาธารณสุขมูลฐานth_TH
dc.subjectPrimary Health Careth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleสถานการณ์และการถอดบทเรียนต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิยุคสามหมอ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeSituation and Lesson Learned for the Role Model of Primary Care via Sam-Mor Policy in Northeast Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to 1) evaluate the situation of primary care provision in Northeast of Thailand 2) lessons learned for the role model of primary care, strengths, key success factors, problems, and obstacles for the area-based service 3) home care by the three doctors’ team and 4) to make a policy recommendation. A questionnaire and guideline for in dept-interview and brainstorming were used as a research tool. The subjects consisted of 468 primary care team members selected by a simple random sampling method. Most consisted of nursing professional and public health technical officer working in the health region 7, 8, 9 and 10. It was found that the attitude of respondents was at a good level. The most of unit passed in quality outcomes framework (QOF) with 80.7%. Half of total lacked doctor and less than half lacked health personnel. Most of them received a lesser budget than the expense from the Contracting Unit for Primary Care. With a full score of 3, the overall mean of service was 2.61 (SD 0.84). The lowest was 2.29 consisting of consultation and communication channels (SD 0.57), and service system (SD 0.39). The lowest scores consisted of service delivery 1.73 (SD 0.51), health workforce 1.92 (SD 0.68), and health information system 2.39 (SD 0.52). The registered teams showed the statistically significant completion in service more than those with the non-registers (p-value 0.018, Adjusted Odds Ratio 5.16 with 95% confident interval 1.33 to 20.12). The service of primary care unit among urban, semi-urban and rural model were not different. The urban, and semi-urban showed superior in ability of team, a holistic care and advice by family doctors. The community participation, supported by public health volunteers and network of rural model were closer and stronger than of the urban and semi-urban. Key factors for the patients regarding to primary care unit were in a good location, quick service, easy to access and the familiarity of. Most of patient accepted the three doctors. The urban team with more experienced showed completely in the service and activities better than in the rural. The policy and the registration help to link primary care team and support for the patient care. The problems were lack of the family doctors and health personnel. Instrument was broken, and the data results inputting was overload. The Human Papilloma Virus (HPV) screening and Antenatal care (ANC) were not covered. It was concluded that primary care in urban, semi-urban, areas was found to be outstanding in home health care by the family doctors consisting of multidisciplinary teams. The continuing service delivery to patients’ home was duly covered. The small primary care in rural areas proved significantly with a pass in the QOF more than the medium size. Lacking the family doctor and health team, it was supported by the network in the rural areas. Training and knowledge were required to update within the health professionals. The management of health information by technology and reference systems should be improved for the patients’ benefit more than the staff workload. The telemedicine needed to be an innovative for all areas.th_TH
dc.identifier.callnoW84.6 พ887ส 2565
dc.identifier.contactno65-002
dc.subject.keywordนโยบายสามหมอth_TH
dc.subject.keywordนโยบาย 3 หมอth_TH
dc.subject.keyword3-Moh Policyth_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordRegional Health Areath_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 7th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 7th_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 8th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 8th_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 9th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 9th_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพที่ 10th_TH
dc.subject.keywordRegional Health Area 10th_TH
.custom.citationเพ็ญนภา ศรีหริ่ง, Pennapa Sriring, เตือนใจ ภูสระแก้ว, Thuanjai Poosakaew, ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, Chaweewan Sridawruang, พิทยา ศรีเมือง, Phitthaya Srimuang, รุจิราลักขณ์ พรหมเมือง, Ruchiralak Prommueang, ไพฑูรย์ พรหมเทศ, Paitoon Promthet, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง, Ratdawan Klungklang, ปณิตา ครองยุทธ, Panita Krongyuth, รุจี จารุภาชน์ and Rujee Charupash. "สถานการณ์และการถอดบทเรียนต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิยุคสามหมอ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5796">http://hdl.handle.net/11228/5796</a>.
.custom.total_download165
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year60
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs2927.pdf
Size: 6.284Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record