dc.contributor.author | ดาราวรรณ รองเมือง | th_TH |
dc.contributor.author | Daravan Rongmuang | th_TH |
dc.contributor.author | อินทิรา สุขรุ่งเรือง | th_TH |
dc.contributor.author | Intira Sukrungruang | th_TH |
dc.contributor.author | จีราพร ทองดี | th_TH |
dc.contributor.author | Jeraporn Thongdee | th_TH |
dc.contributor.author | ลลิตา เดชาวุธ | th_TH |
dc.contributor.author | Lalita Dechavoot | th_TH |
dc.contributor.author | กฤษณี สุวรรณรัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Kritsanee Suwannarat | th_TH |
dc.contributor.author | อติญาณ์ ศรเกษตริน | th_TH |
dc.contributor.author | Atiya Sarakshetrin | th_TH |
dc.contributor.author | ภัทร์พงศ์ อุดมพัฒน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Patpong Udompat | th_TH |
dc.contributor.author | จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jirachart Reungwatcharin | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-01-19T08:44:24Z | |
dc.date.available | 2023-01-19T08:44:24Z | |
dc.date.issued | 2565-12 | |
dc.identifier.other | hs2925 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5810 | |
dc.description.abstract | พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องจัดให้บริการสุขภาพตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 สำหรับประชาชนให้ตามมาตรฐานการบริการ วิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามาตรฐานและความพร้อมในการบริการตามมาตรฐานการบริการปฐมภูมิและการรับรองมาตรฐานการบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 2) วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะตามมาตรฐานการบริการปฐมภูมิ และการรับรองมาตรฐานการบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาจากเอกสาร วิเคราะห์สถานการณ์ นโยบาย และกฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ แนวทางการประเมินคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และการดำเนินงานตามมาตรฐานการบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระยะที่ 2 วิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาสถานการณ์การบริการตามมาตรฐานบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และประเมินความสามารถในการดำเนินงานมาตรฐานบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภายหลังการถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อทราบช่องว่างของความสามารถการบริการตามมาตรฐานบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภายหลังการถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ ระยะที่ 3 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริการตามมาตรฐานบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบของมาตรฐานการบริการสุขภาพปฐมภูมิประกอบด้วย 1) ปัจจัยกำหนดระบบสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยด้านโครงสร้าง กำลังคนสุขภาพ สารสนเทศด้านสุขภาพ ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ และดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ 2) การให้บริการสุขภาพที่ครอบคลุม 5 ภารกิจ ได้แก่ การป้องกัน การส่งเสริม การรักษา (ทั้งในภาวะเฉียบพลันและเรื้อรัง) การฟื้นฟูสุขภาพ และการดูแลแบบประคับประคองโดยให้การดูแลครอบคลุมในทุกช่วงวัย และ 3) การบรรลุวัตถุประสงค์ของระบบสุขภาพ ประกอบด้วย การวัดผลลัพธ์และผลกระทบจากการบริการ 2. แนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว) เป็นมาตรฐานที่มีคุณภาพมากที่สุด แต่ก็ยังพบข้อจำกัดบางประการ ได้แก่ เกณฑ์การประเมินบางข้อไม่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การประเมินประกอบด้วยทีมระดับภายในอำเภอ/จังหวัดประเมินกันเองทำให้การประเมินบางครั้งเป็นการประเมินแบบให้การช่วยเหลือเพื่อให้คะแนนผ่านส่งผลให้ไม่เกิดการพัฒนาคุณภาพตามความเป็นจริง และมาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานครที่พัฒนาโดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดและขยายให้ใช้กับหน่วยบริการปฐมภูมิทั่วประเทศไทยได้ 3. สถานบริการสุขภาพปฐมภูมิควรมีการรับรองจากองค์กรภายนอกที่มีสหวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัช ที่มีองค์ความรู้ในการประเมิน เข้าใจระบบการทำงานและไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยมีรูปแบบทั้งการประเมินโดยผู้ประเมินภายในองค์กร (internal audit) และการรับรองจากองค์กรภายนอก (external audit) อาจใช้รูปแบบภาคีเครือข่ายรูปแบบเดิมโดยทีมพี่เลี้ยงสนับสนุน ให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาคุณภาพและให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมิน 4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่กำลังจะถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีความพร้อมทางด้านโครงสร้างในการให้บริการอยู่ในระดับพอดีหรือมากแต่ความพร้อมของจำนวนบุคลากรสายวิชาชีพและสายสนับสนุนยังมีความพร้อมในระดับน้อย 5. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่คิดว่ามีความสามารถในการบริการตามมาตรฐานการบริการปฐมภูมิภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่าเดิมและมากขึ้นในทุกๆ งาน ยกเว้นบริการทันตสาธารณสุข/ทันตกรรมและกายภาพบำบัดที่สามารถให้บริการได้ลดลง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การให้บริการตามมาตรฐานการให้บริการปฐมภูมิและการรับรองมาตรฐานการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.title.alternative | Standard of Primary Care and Accreditation of Health Promotion Hospital under Provincial Administrative Organization | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The act determining plans and procedures for the decentralization of power to local government organizations in B.E. 2542, requires the transfer of public health missions to local government organizations. Health promotion hospitals under the local government organization should provide health services for people based on the Primary Health System Act B.E.2562. The purpose of this mixed methods research was to 1) explore the standard of primary care, availability of primary care services, and the accreditation process of health promotion hospitals under the local government organization and 2) to analyze, synthesize and then provide recommendations for the standard delivery in primary health care and standard service delivery of health promotion hospitals under the local government organization. The participants were recruited using purposive sampling. The study was composed of 3 phases: phase 1 was documentary research to identify situation analysis of policy and law related to the decentralization and primary care act, health promotion hospital quality assessment guideline and standard health care service of health promotion hospitals; phase 2 was quantitative research to identify standard service delivery of health promotion hospitals and to determine availability and gap of primary care services after the transfer to a local government organization, and phase 3 was qualitative research using in-depth interview and focus group discussion with the stakeholder who is involved with standard health care service of health promotion hospitals. The research instruments were a semi-structured interview. The characteristic information from health promotion hospitals and local government organizations was collected by a questionnaire. All the questionnaires were developed and validated by five experts. The qualitative data were analyzed using content analysis and the quantitative data were analyzed using descriptive statistics. The results of this study revealed that: 1. The component of standard primary health care service includes: 1) determinants of health such as infrastructure, health workforce, health information, medicine, other medical supply, and digital health technology; 2) service delivery including prevention, promotion, treatment (acute and chronic) rehabilitation and palliative care in all age groups; and 3) health system objective such as outcomes and impact of service delivery 2. The improvement criteria of Tambon Health promoting hospital (star hospital) is the highest quality standard for primary health care service delivery accreditation. However, there were some limitations. For example, some assessment criteria were inconsistent with the local context, and the audit team from the district and provincial level assessed and helped to pass. There for no actual quality improvement in some areas. Another standard evaluation criteria for primary health service in Bangkok was developed by The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization) that can be extended to use with primary care units throughout Thailand. 3. Primary care units should be accredited by an external organization composed of healthcare teams that include physicians, nurses, and pharmacists, who know quality assessment, apprehend the working system and are not a stakeholder. The audit includes both internal and external audits. The process of audit may use the same method as the previous year which is using the network partners and mentor teams to provide support and advice for quality improvement and participation of people in the community. 4. Health promotion hospitals that are going to transfer to local government organization state that the structural readiness to provide services were at the right level or higher. However, the number of health professionals and supportive personal readiness was at a low level. 5. Most of the health promotion hospital rate their availability to provide standard service delivery after transfer to the local government organization were the same and more quality in all health services except dental care and physiotherapy which is reduced. | th_TH |
dc.identifier.callno | W84.6 ด426ก 2565 | |
dc.identifier.contactno | 65-056 | |
.custom.citation | ดาราวรรณ รองเมือง, Daravan Rongmuang, อินทิรา สุขรุ่งเรือง, Intira Sukrungruang, จีราพร ทองดี, Jeraporn Thongdee, ลลิตา เดชาวุธ, Lalita Dechavoot, กฤษณี สุวรรณรัตน์, Kritsanee Suwannarat, อติญาณ์ ศรเกษตริน, Atiya Sarakshetrin, ภัทร์พงศ์ อุดมพัฒน์, Patpong Udompat, จิรชาติ เรืองวัชรินทร์ and Jirachart Reungwatcharin. "การให้บริการตามมาตรฐานการให้บริการปฐมภูมิและการรับรองมาตรฐานการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5810">http://hdl.handle.net/11228/5810</a>. | |
.custom.total_download | 409 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 15 | |
.custom.downloaded_this_year | 188 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 39 | |