บทคัดย่อ
วัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงหากมีการติดเชื้อโควิด-19 เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ จากการศึกษาพบว่า การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังมีประสิทธิภาพเทียบเท่าการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ หรือฉีดใต้ผิวหนัง อีกทั้ง ยังลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ส่งผลต่อความลังเลใจในการเข้ารับวัคซีนของผู้สูงอายุ โดยการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยภายหลังการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังและการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อของวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอนเอในผู้สูงอายุไทย โดยศึกษาแบบสุ่มตัวอย่างแบบเปิด ดำเนินการศึกษาที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่ได้รับวัคซีนสองเข็มแรกเป็น ChAdOx1 โดยการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ เป็นระยะเวลา 12-24 สัปดาห์ก่อนเข้าโครงการ โดยจำนวนกลุ่มของวัคซีนสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วย 6 กลุ่ม ได้แก่: mRNA-1273 ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง (20 ไมโครกรัม; 0.1 มล., n=35), mRNA-1273 ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ (100 ไมโครกรัม; 0.5 มล., n=35), BNT162b2 ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง (10 ไมโครกรัม; 0.1 มล., n=35 สำหรับกลุ่มอายุ 65-79 และ ≥ 80 ปี) หรือ BNT162b2 ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ (30 ไมโครกรัม; 0.3 มล., n=35 สำหรับกลุ่มอายุ 65-79 และ ≥ 80 ปี) สำหรับการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จะถูกรวบรวมเป็นระยะเวลา 7 วัน หลังจากการฉีดวัคซีน โดยใช้รูปแบบบันทึกอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนของผลการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจะถูกวิเคราะห์โดยระดับของแอนติบอดี พร้อมทั้ง pseudotype-based neutralization assays (PVNT50) ต่อสายพันธุ์ต่างๆ และการตอบสนองของ T-cell ชนิด S-peptide และ NMO-peptide stimulation ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครของโครงการมีจำนวนทั้งสิ้น 210 คน โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 70.5 เป็นเพศหญิง อายุมัธยฐานคือ 77.5 ปี (ค่าพิสัยควอไทล์ที่ 1-3: 71.0-84.0 ปี) ที่ 4 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ระดับแอนติบอดีโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มวัคซีนอยู่ที่ 45.11 (95%CI 38.82, 52.41) เท่า จากก่อนได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับ mRNA-1273 โดยการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อจะให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันสูงที่สุดและสูงกว่าการได้รับ BNT162b2 โดยการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (GMC ของ mRNA-1273 โดยการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ = 3,837.12 BAU/mL, GMC ของ BNT162b2 โดยการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ = 2,530.58 BAU/mL, p=0.021) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตามการได้รับวัคซีนชนิดเดียวกัน พบว่า การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังมีแนวโน้มที่ให้ระดับแอนติบอดีต่ำกว่าการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ พบว่าระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอไมครอนสูงที่สุดในกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับ mRNA-1273 โดยการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ (616.8) ตามด้วย mRNA-1273 โดยการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (213.9), BNT162b2 โดยการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ (144.6) และ BNT162b2 โดยการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง (82.1) สำหรับการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ พบว่า กลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังมีสัดส่วนของการเกิดอาการข้างเคียงเฉพาะที่บริเวณที่ฉีดวัคซีนมากกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข้าชั้นกล้ามเนื้อ แต่เกิดผลข้างเคียงทั่วร่างกายที่น้อยกว่า สรุปผล: การฉีดวัคซีน mRNA-1273 เข้ากล้ามเนื้อให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันสูงที่สุดและเกิดผลข้างเคียงชนิดทั่วร่างกายน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับ BNT162b2 แต่ถึงแม้ว่าการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังมีแนวโน้มที่จะให้ผลทางภูมิคุ้มกันต่ำกว่าการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ แต่ระดับภูมิคุ้มกันที่ได้ก็ยังคงอยู่ในระดับสูงและผลข้างเคียงตามระบบน้อยกว่าการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ การให้วัคซีน mRNA-1273 ด้วยการฉีดเข้าในผิวหนังจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการให้วัคซีนเข็มกระตุ้นในผู้สูงอายุ
บทคัดย่อ
Background: The booster vaccination for Covid-19 prevention has been specifically recommended among high-risk populations such as older people. Previous studies have reported that intradermal (ID) vaccination could be as effective as intramuscular (IM) or subcutaneous (SC) vaccination In addition, ID vaccination causes less systemic adverse effects which are much concerned by older people giving rise to lower vaccination rate in this particular age group. Therefore, this study aims to compare the immunogenicity and adverse effects following ID and IM booster vaccination of mRNA vaccines against COVID-19 in older populations. Methods: This randomized, open-label study was conducted at a single center, Siriraj Hospital, Bangkok, Thailand, which was completed in July 2022. The eligible participants were individuals aged 65 years or older who already had received 2-dose IM primary series of ChAdOx1 vaccine within 12-24 weeks. Participant were randomly assigned to six vaccine groups: ID mRNA-1273 (20 mcg; 0.1 ml, n=35), IM mRNA-1273 (100 mcg; 0.5 ml, n=35), ID BNT162b2 (10 mcg; 0.1 ml, n=35 for each group of 65-79 and ≥ 80 years of age) and IM BNT162b2 (30 mcg; 0.3 ml, n=35 for each group of 65-79 and ≥ 80 years of age). Self-reported adverse events (AEs) were collected for 7 days consecutively following each vaccination using an electronic diary application. The immunogenicity was determined by the level of IgG antibodies against receptor binding domain (RBD) of the SARS-CoV-2 spike protein (S1 subunit). The pseudotype-based neutralization assays (PVNT) were used to measure neutralizing antibodies against SARS-CoV-2 variants. The T-cell response was measured using S-peptide and NMO-peptide stimulation. Results: Of 210 participants, the majority (70.5%) were female, median age was 77.5 years old (Interquartile range (IQR): 71.0-84.0 years old). At 4 weeks after booster vaccination, the geometric mean concentration (GMC) of anti-RBD IgG increased in all groups by overall of 45.11 (95% CI: 38.82, 52.41) folds from baseline. The GMC among participants who received IM mRNA-1273 had gained the highest immunogenic responses and significantly higher than IM BNT162b2 (GMC of IM mRNA-1273: 3,837.12 BAU/mL, GMC of IM BNT162b2: 2,530.58 BAU/mL, p=0.021). ID vaccination had significantly lower GMC than IM of the same vaccine type. Across vaccine groups, the geometric mean titer against Omicron variant BA.1 was the highest among participants who received IM mRNA-1273 boosting (616.8), followed by ID mRNA-1273 (213.9), IM BNT162b2 (144.6), and ID BNT162b2 (82.1). The ID route had significantly more frequent local AEs than IM with the highest rate among ID mRNA-1273 and the lowest in ID BNT162b2 group. Conclusion: The IM mRNA-1273 group gained the highest immunogenic responses as well as experienced less systemic AEs than BNT162b2. Although ID route achieved lower level of antibody than IM route, the immunologic responses were highly enough to create vaccine efficacy and caused less systemic AEs. Therefore, the ID mRNA-1273 could be the alternative type of Covid-19 vaccination for older people.