แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาการปนเปื้อนและแพร่กระจายของเชื้อ Acinetobacter baumannii ที่ดื้อยาหลายขนานในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตเด็กและหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด

dc.contributor.authorนนทพรรณ ผาสุกth_TH
dc.contributor.authorNonthapan Phasukth_TH
dc.contributor.authorเอื้อมพร หมวดเมืองth_TH
dc.contributor.authorAuemphon Mordmuangth_TH
dc.contributor.authorชลธิชา รมยะสมิตth_TH
dc.contributor.authorChonticha Romyasamitth_TH
dc.contributor.authorกุลวดี กาญจนะth_TH
dc.contributor.authorKulwadee Karnjanath_TH
dc.contributor.authorจันทมณี จิ้วบุญชูth_TH
dc.contributor.authorJuntamanee Jewboonchuth_TH
dc.date.accessioned2023-02-28T03:43:48Z
dc.date.available2023-02-28T03:43:48Z
dc.date.issued2565-12
dc.identifier.otherhs2944
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5824
dc.description.abstractเชื้อ Acinetobacter baumannii (A. baumannii) เป็นแบคทีเรียแกรมลบที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล (nosocomial infection) การติดเชื้อ A. baumannii ในโรงพยาบาลเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย เนื่องจากเชื้อชนิดนี้มีการพัฒนาตนเองให้มีการดื้อยาต้านจุลชีพได้หลากหลายกลไกทำให้เกิดเชื้อ A. baumannii ที่ดื้อยาหลายชนิด (multi-drugs resistant A. baumannii) หากผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อนี้ พบว่า ผู้ป่วยมีอัตราการตายที่สูงทั้งในกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่และเด็กรวมถึงทารกแรกเกิด การแพร่กระจายของเชื้อ A. baumannii ในโรงพยาบาลเกิดขึ้นผ่านการสัมผัส (Contact transmission) ซึ่งเป็นการสัมผัสโดยตรง (direct contact) ผ่านมือของบุคลากรทางการแพทย์หรือสัมผัสทางอ้อมผ่านการสัมผัสเชื้อที่อยู่ตามสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในหอผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการแพร่กระจายของเชื้อ Acinetobacter baumannii ในหอผู้ป่วยเด็กและทารกแรกเกิดวิกฤตของโรงพยาบาลทุ่งสง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และโรงพยาบาลท่าศาลา โดยการเก็บสิ่งส่งตรวจ แยกเป็น 1) จุดสัมผัสของผู้ป่วยแต่ละราย ประกอบด้วย เตียงหรือตู้ให้ความอบอุ่นของผู้ป่วย เตียงหรือตู้ให้ความอบอุ่นที่อยู่ใกล้ชิด จอมอนิเตอร์ มือ เสื้อผ้าของผู้ปฏิบัติงานและชุดให้สารน้ำ 2) จุดสัมผัสร่วมในหอผู้ป่วย ประกอบด้วย แฟ้มบันทึกการรักษา โต๊ะทำงานภายในหอผู้ป่วย ลูกบิดประตู คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ อ่างล้างมือและอ่างอาบน้ำ เพื่อนำไปเพาะแยกเชื้อ บ่งชี้เชื้อสายพันธุ์ A. baumannii และทดสอบความไวของเชื้อ ซึ่งได้เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564–กันยายน พ.ศ. 2565 พบว่า ในช่วงระยะเวลา 12 เดือน มีผู้ป่วยที่มีผลเพาะเชื้อยืนยันเชื้อ A. baumannii ทั้งหมดจำนวน 27 ราย โดยเป็นผู้ป่วยจากหอผู้ป่วยทารกวิกฤตของโรงพยาบาลทุ่งสง จำนวน 15 ราย ผู้ป่วยจากหอผู้ป่วยทารกวิกฤตของโรงพยาบาลมหาราช จำนวน 5 ราย และผู้ป่วยจากหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตของโรงพยาบาลมหาราช จำนวน 7 ราย จากการวิเคราะห์เชื้อ ผลจากทั้งสองโรงพยาบาล พบว่า บริเวณจุดสัมผัสของผู้ป่วยแต่ละรายพบการปนเปื้อนของเชื้อดื้อยา A. baumannii มากที่สุด ได้แก่ บริเวณเตียงของผู้ป่วย (29.63%) และเตียงข้างเคียง (29.63%) โดยพบมากถึง 8 ราย จากผู้ป่วยที่มีการยืนยันเชื้อทั้งหมดจำนวน 27 ราย บริเวณที่พบการปนเปื้อนของเชื้อรองลงมา คือ เสื้อผ้าของผู้ปฏิบัติงาน (22.22%) ชุดให้สารน้ำ (14.81%) จอมอนิเตอร์ (11.11%) และมือของผู้ปฏิบัติงาน (11.11%) สำหรับจุดสัมผัสร่วมในหอผู้ป่วย พบว่า บริเวณอ่างอาบน้ำ (25.93%) พบเชื้อมากที่สุด 8 ราย ลำดับถัดมาเป็นแฟ้มผู้ป่วย (18.52%) และโต๊ะทำงานภายในหอผู้ป่วย (18.52%) โดยพบเชื้อ 5 ราย ส่วนบริเวณอ่างล้างมือ (14.81%) คอมพิวเตอร์ (11.11%) และลูกบิดประตู (3.70%) พบการกระจายของเชื้อลดลงตามลำดับ ในขณะที่บริเวณโทรศัพท์ ไม่พบเชื้อ A. baumannii จากทั้งสองโรงพยาบาลth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectAcinetobacter Baumanniith_TH
dc.subjectBacteriath_TH
dc.subjectแบคทีเรียth_TH
dc.subjectเชื้อแบคทีเรียth_TH
dc.subjectDrug Resistancesth_TH
dc.subjectAnti-Bacterial Agentsth_TH
dc.subjectAntibioticth_TH
dc.subjectเชื้อดื้อยาth_TH
dc.subjectยาปฏิชีวนะth_TH
dc.subjectเด็กแรกเกิดth_TH
dc.subjectทารกแรกเกิดth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลth_TH
dc.subjectHospitalth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาการปนเปื้อนและแพร่กระจายของเชื้อ Acinetobacter baumannii ที่ดื้อยาหลายขนานในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตเด็กและหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิดth_TH
dc.title.alternativeA Multicenter Study of Contamination and Spreading Due to Multidrug-Resistant Acinetobacter Baumannii in Pediatric and Neonatal Intensive Care Unitsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeAcinetobacter baumannii (A. baumannii) is a gram-negative bacterium that is the leading cause of nosocomial infections. This organism usually develops antimicrobial resistance, resulting in multi-drugs resistant A. baumannii. Adult and pediatric patients, including neonates with A. baumannii infections have a high mortality rate. The spread of A. baumannii in hospitals occurs through contact transmission, which could be direct contact with the hands of healthcare professionals, or indirect contact through contacts with the bacteria in various environments in the ward. This study aims to study the pattern of A. baumannii transmission in the Pediatric and Neonatal Intensive Care Unit of Thung Song Hospital, Maharaj Nakhon Si Thammarat Hospital and Tha Sala Hospital. Specimens were collected in 1) each patient's touch points, consisting of a bed or a cabinet of A. baumannii infected patients, an adjacent bed or cabinet, healthcare providers' hands and clothing. 2) Common touch points in the ward consisted of treatment record files, work desks in the ward, doorknobs, computers, telephones, sinks and bathtubs. The specimens were collected from October 2021 – September 2022. During the 12-month period, there were 27 patients with confirmed cultures of A. baumannii, of which 15 were from the infant intensive care unit of Thung Song Hospital, 5 patients from the pediatric intensive care unit of Maharaj Hospital and 7 patients from the pediatric intensive care unit of Maharaj Hospital. The results from both hospitals showed that the most contaminated areas of A. baumannii were each patient's bed (29.63%) and adjacent beds (29.63%). The other contaminated areas in the ward were healthcare providers' clothing (22.22%), infusion set (14.81%), monitor (11.11%) and healthcare providers' hands (11.11%). Regarding common touch points, the bathtub area (25.93%) was the most contaminated, followed by the patient's file (18.52%) and the desk in the ward (18.52%).th_TH
dc.identifier.callnoQV350 น155ก 2565
dc.identifier.contactno64-108
dc.subject.keywordการดื้อยาต้านจุลชีพth_TH
dc.subject.keywordเชื้อดื้อยาหลายขนานth_TH
dc.subject.keywordA. Baumanniith_TH
.custom.citationนนทพรรณ ผาสุก, Nonthapan Phasuk, เอื้อมพร หมวดเมือง, Auemphon Mordmuang, ชลธิชา รมยะสมิต, Chonticha Romyasamit, กุลวดี กาญจนะ, Kulwadee Karnjana, จันทมณี จิ้วบุญชู and Juntamanee Jewboonchu. "การศึกษาการปนเปื้อนและแพร่กระจายของเชื้อ Acinetobacter baumannii ที่ดื้อยาหลายขนานในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตเด็กและหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5824">http://hdl.handle.net/11228/5824</a>.
.custom.total_download82
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year44
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2944.pdf
ขนาด: 4.790Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย