• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล (Personal Health Record : PHR) เชื่อมต่อโปรแกรมการจัดการข้อมูลวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9

มานิตา พรรณวดี; Manita Phanawadee; สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช; Suppachoke Wetchaphanphesat; เดือนเพ็ญ โยเฮือง; Duanpen Yohuang;
วันที่: 2566-01
บทคัดย่อ
โครงการพัฒนาระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล (Personal Health Record: PHR) เชื่อมต่อโปรแกรมการจัดการข้อมูลวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์และพัฒนาระบบระเบียนสุขภาพส่วนบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ที่พึงประสงค์กับระบบสุขภาพของคนไทย โดยการเชื่อมต่อข้อมูลประชาชนกับฐานข้อมูลของโปรแกรมการจัดการข้อมูลวัคซีนโควิด-19 เลือกเขตสุขภาพที่ 9 เป็นพื้นที่เป้าหมายในการศึกษา และกำหนดกรอบการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางต้นแบบและเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการแลกเปลี่ยนระบบระเบียนสุขภาพส่วนบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างประชาชนกับหน่วยบริการ การพัฒนาระบบเชื่อมต่อและเรียกใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อแสดงผลผ่าน Smart Phone และการพัฒนาระบบคลาวด์กลาง เพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างฐานข้อมูลที่มาจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งออกแบบหน้าจอแสดงผลข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลบนแอปพลิเคชันหมอพร้อม ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ระบบระเบียนสุขภาพส่วนบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ที่พึงประสงค์กับระบบสุขภาพของคนไทย ควรเป็นแบบ Hybrid หรือ Interconnected ที่สามารถแสดงข้อมูลการรักษาจากหน่วยบริการและสามารถบันทึกข้อมูลสุขภาพเพิ่มได้ด้วยตนเอง พัฒนาโปรแกรม PHR บนแพลตฟอร์มหมอพร้อม ซึ่งรองรับการทำงานร่วมกันจากหลายหน่วยงานได้ กำหนดมาตรฐานชุดข้อมูลสุขภาพและระดับชั้นของข้อมูล เพื่อแสดงบนแอปพลิเคชันเป็น 3 ระดับ คือ 1) ข้อมูลทั่วไป เป็นข้อมูลพื้นฐานของประชาชน แสดงให้เห็นได้ทันทีหลังลงทะเบียนใช้งานแอปพลิเคชันหมอพร้อม 2) ข้อมูลสุขภาพสำหรับประชาชน เป็นข้อมูลสุขภาพเฉพาะบุคคล ที่ต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนก่อนการเข้าถึง และ 3) ข้อมูลการรักษาสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อดูประวัติการรักษาจากหน่วยบริการอื่นโดยต้องได้รับการอนุญาตจากประชาชนเจ้าของข้อมูลก่อนการเข้าถึง มีการเชื่อมต่อและเรียกใช้ข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลระหว่างฐานข้อมูลโปรแกรมการจัดการข้อมูลวัคซีนโควิด-19 และระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลต่างๆ ผ่าน Application Program Interface (API) เพื่อแสดงผลบนแอปพลิเคชันหมอพร้อมได้มากกว่า 1,000 หน่วยบริการ ครอบคลุมทั้งกลุ่มเป้าหมายหน่วยบริการในเขตสุขภาพที่ 9 และเขตสุขภาพอื่นๆ และมีการจัดทำธรรมาภิบาลของข้อมูลโดยคำนึงถึงการเก็บ รวบรวม ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างจำกัดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในส่วนการประเมินแอปพลิเคชันแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านคุณภาพทางเทคนิคและเนื้อหาของแอปพลิเคชัน และด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ผลการประเมินจากกลุ่มผู้ใช้แอปพลิเคชันในเขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 100 คน ผลการพัฒนาแอปพลิเคชันด้านคุณภาพทางเทคนิคและเนื้อหาของแอปพลิเคชัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.14) และผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อฟังก์ชันระบบ PHR บนแอปพลิเคชัน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (X = 4.89) คะแนนโดยรวมสำหรับแอปพลิเคชันจาก 1-5 คะแนน พบว่า ผู้ใช้แอปพลิเคชันให้คะแนนเฉลี่ย 4.22 และมีความพึงพอใจต่อเมนูระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคลบนแอปพลิเคชันหมอพร้อมในเกณฑ์ดีมาก ผู้ใช้แอปพลิเคชัน ร้อยละ 95 ต้องการใช้ และจะแนะนำให้ผู้อื่นใช้เมนู PHR บนหมอพร้อม และให้ความเห็นว่าควรเพิ่มการบันทึกข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพอื่นๆ ด้วยตนเอง

บทคัดย่อ
This study is a developmented research with the objectives as analysis purposes. synthesis and development electronic Personal Health Record (PHRs) systems that are desirable to the health system of Thai people by connecting the database of the COVID-19 Vaccine Information Management Program. Health Region 9 was selected as the target area. and establishing a framework for the development of a prototype central platform and an information network for the exchange of PHR systems between people and healthcare unit. Development system for connecting and retrieving data for display on smart phone. And central cloud development for interoperability between the different databases. Including designing user interface on the Mohpromt application. The results showed that The electronic personal health record should be Hybrid or Interconnected that can display the healthcare treatment and able to record health data by themselves. Developing program on Mohpromt platform which supports collaboration from multiple departments. Standards data and level of information to be displayed on the application in 3 levels: 1.) General information is the basic that shown immediately after registering Mohpromt application. 2.) Health information for individual That must go through a verification process and verify their identity before accessing and 3.) Treatment information for Healthcare Provider to view history treatment from others and must be obtained permission from the data’s owner before accessing. Personal health data is connected and retrieved between the COVID-19Vaccine management program and various hospital information systems via API to display on the Mohpromt application with more than 1,000 healthcare units. covering both the target group in region 9 and others. Established data governance regarding to the collection and use of personal data in limited According to the Personal Data Protection Act. Application evaluation divided into two aspects: satisfaction on technical quality and application content. Evaluation results from 100 users in region 9 in terms of technical quality and application content. Application development results in terms of technical quality and application content overall, it was a high level (x = 4.14) and users were satisfied with the PHR on the application overall, it was at a very good level (x = 4.89). The overall rating for the application, from 1 to 5 points, users gave an average score of 4.22 and satisfaction with the PHR menu on the application very favorably. 95 percent of users want to use PHR menu and will recommend the others. and suggested that other health behavior data should be recorded manually.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2947.pdf
ขนาด: 16.87Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

แจ้งปัญหาการดาวน์โหลด | คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 12
ปีงบประมาณนี้: 12
ปีพุทธศักราชนี้: 12
รวมทั้งหมด: 12
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2186]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [528]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [86]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [272]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [89]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [129]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1095]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [207]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [19]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV