dc.contributor.author | วณิชา ชื่นกองแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | Wanicha Chuenkongkaew | th_TH |
dc.contributor.author | อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร | th_TH |
dc.contributor.author | Apisit Thamrongwaranggoon | th_TH |
dc.contributor.author | วิชัย อัศวภาคย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Wichai Ussavaphark | th_TH |
dc.contributor.author | ดุสิตา กระวานชิด | th_TH |
dc.contributor.author | Dusita Krawanchid | th_TH |
dc.contributor.author | มนัสชนน์ คุณาพรสุจริต | th_TH |
dc.contributor.author | Manuschon Kunapornsujarit | th_TH |
dc.contributor.author | ธนวันต์ กัญญภัส | th_TH |
dc.contributor.author | Tanawan Kanyapas | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-03-30T07:18:47Z | |
dc.date.available | 2023-03-30T07:18:47Z | |
dc.date.issued | 2566-03 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,1 (ม.ค. - มี.ค. 2566) : 28-38 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5854 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติของบุคลากรสาธารณสุขต่อความร่วมมือและรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาแนวทางความร่วมมือที่เหมาะสมระหว่างชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชนในการบริหารจัดการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โดยเป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลในพื้นที่อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณรวมจำนวน 61 คน และคุณภาพรวมจำนวน 44 คน กลุ่มตัวอย่างมาจากภาคชุมชน ภาคเอกชนและภาครัฐบาล ทั้งระดับผู้บริหาร ระดับปฏิบัติการและชาวบ้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนมีเจตคติทางบวกต่อความร่วมมือฯ ในระดับค่อนข้างสูง กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ปัจจัยหนุนเสริมในการสร้างความร่วมมือฯ ได้แก่ 1) นโยบายระดับประเทศ 2) ผู้นำเข้มแข็ง 3) ชุมชนใกล้ชิดและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 4) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุนทางสังคม และปัจจัยขัดขวาง ได้แก่ 1) ระบบราชการ 2) การขาดต้นทุน (คน เงิน ของ องค์ความรู้) โดยมีกระบวนการในการพัฒนาความร่วมมือที่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วย ได้แก่ 1) การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนร่วม 2) การสร้างความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจและความรู้สึกปลอดภัยในการทำงาน 3) การสื่อสารข้อมูลความรู้ที่ต่อเนื่อง 4) การเสริมพลังซึ่งกันและกัน 5) การขยายเครือข่าย 6) การบริหารจัดการความร่วมมือผ่านระเบียบกฎเกณฑ์และคณะกรรมการ โดยมีการพัฒนาเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง และกลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ความร่วมมือฯ ก่อให้เกิดผลลัพธ์ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่รวมถึงการเข้าถึงการบริการสุขภาพในชุมชน 2) ผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้ครัวเรือนมากขึ้น 3) ผลลัพธ์ด้านสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น 4) ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาองค์ความรู้ของคนในชุมชน ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ คือ 1) ผสานรูปแบบความร่วมมือไปในระบบสุขภาพระดับอำเภอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิทั้งในด้านกำลังคน งบประมาณ และทรัพยากรอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายและเจ้าหน้าที่ควรพัฒนาความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อรูปแบบความร่วมมือระหว่าง 3 ภาคส่วน เพื่อการบริหารจัดการการดูแลสุขภาพปฐมภูมิ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | Primary Health Care | th_TH |
dc.subject | การดูแลสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Care | th_TH |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Promotion | th_TH |
dc.subject | Health Administration | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน | th_TH |
dc.subject | Public-Private Sector Cooperation | th_TH |
dc.title | การพัฒนาแนวทางและรูปแบบความร่วมมือที่เหมาะสมระหว่างภาคชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชนในการบริหารจัดการและการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ | th_TH |
dc.title.alternative | The Development of Appropriate People Public Private Partnership for Managing on Primary Health Care | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to study attitude of health workforce toward primary health care management to examine, synthesize, and develop appropriate model of people public private partnership (PPPP) for managing primary health care. Quantitative and qualitative methods were used in this study. Data collection was conducted in two study areas namely Kuchinarai district, Kalasin province and Dansai district, Loei province. Samples in this study included 61 participants for quantitative and 44 participants for qualitative data collection. They were from community, private and government sectors. Nonetheless, they were identified as executives, implementing staff and common people. The result revealed that samples had relatively high positive attitude toward partnership among people, public, and private sectors. The samples thought that contributing factors of partnership model for primary health care management included 1) national policy, 2) strong health leadership, 3) homogeneous and closerelationship community, and 4) natural and man-made environment capitals and social capital. While hindering factors that the samples figured out were 1) the red-tape system, and 2) lack of resources (human, money, material and knowledge). Processes of developing PPPP for primary health care management included 1) developing relationship among partners, 2) building trust and safety zone of working together, 3) having continuing knowledge communication, 4) empowering each other, 5) strengthening and expanding network, and 6) working together under the rules, regulations and committees. The samples believed that this partnership model could contribute to four dominant outcomes including 1) health outcome (not only access to services in the community), 2) economic outcome, 3) environmental outcome, and 4) learning and knowledge outcome. To materialize the model in other areas, the following two broad recommendations are proposed: 1) integration of the partnership model in the district health system (DHS) that could benefit primary health care in terms of human resource, budget and other resources efficiently; 2) all related stakeholders and their staff should acquire knowledge, skills and positive attitude toward partnership model among three sectors for primary health care management. | th_TH |
dc.subject.keyword | People Public Private Partnership | th_TH |
.custom.citation | วณิชา ชื่นกองแก้ว, Wanicha Chuenkongkaew, อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร, Apisit Thamrongwaranggoon, วิชัย อัศวภาคย์, Wichai Ussavaphark, ดุสิตา กระวานชิด, Dusita Krawanchid, มนัสชนน์ คุณาพรสุจริต, Manuschon Kunapornsujarit, ธนวันต์ กัญญภัส and Tanawan Kanyapas. "การพัฒนาแนวทางและรูปแบบความร่วมมือที่เหมาะสมระหว่างภาคชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชนในการบริหารจัดการและการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5854">http://hdl.handle.net/11228/5854</a>. | |
.custom.total_download | 1136 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 66 | |
.custom.downloaded_this_year | 837 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 286 | |