แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ปัจจัยการอภิบาลระบบที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชนของประเทศไทย

dc.contributor.authorสุมาลี เฮงสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorSumalee Hengsuwanth_TH
dc.contributor.authorวินัย ลีสมิทธิ์th_TH
dc.contributor.authorVinai Leesmidtth_TH
dc.contributor.authorศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัยth_TH
dc.contributor.authorSupasit Pannarunothaith_TH
dc.date.accessioned2023-03-30T07:35:48Z
dc.date.available2023-03-30T07:35:48Z
dc.date.issued2566-03
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,1 (ม.ค. - มี.ค. 2566) : 39-53th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5855
dc.description.abstractการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาระดับการอภิบาลระบบของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน บทบาทสำคัญของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) ในการอภิบาลระบบและ จัดกลุ่มการอภิบาลระบบของเขตสุขภาพเพื่อประชาชนทั้งประเทศ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัยครอบคลุม 13 เขตสุขภาพเพื่อประชาชน ประชากรศึกษาคือคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) และเลขานุการกิจ 638 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามที่ออกแบบตามองค์ประกอบธรรมาภิบาลของสหประชาชาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การอภิปรายกลุ่ม รายงานการประชุม และ การสังเกต ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ระยะเวลาศึกษา 15 เดือน (ตุลาคม 2561 ถึง ธันวาคม 2562) ผลการศึกษา พบว่า องค์ประกอบทั้ง 8 ของการอภิบาลระบบมีระดับคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยอ้างอิง(มากกว่าคะแนนเฉลี่ย 2.5) องค์ประกอบที่มีคะแนนสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ การปฏิบัติตามหลักนิติธรรม (คะแนนเฉลี่ย 4.01) การสร้างความเท่าเทียมครอบคลุม (คะแนนเฉลี่ย 3.91) และความโปร่งใส (คะแนนเฉลี่ย 3.81) ระดับคะแนนต่ำสุด 3 อันดับ ได้แก่ การสร้างประสิทธิผลและประสิทธิภาพการดำเนินงาน (คะแนนเฉลี่ย 3.65) การมีพันธะความรับผิดชอบต่อประชาชน (คะแนนเฉลี่ย 3.66) และการตอบสนองความต้องการของประชาชนเป้าหมาย (คะแนนเฉลี่ย 3.72) ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ พบว่า บทบาทสำคัญในการอภิบาลของ กขป. มี 20 ประการ บทบาทการจัดบริการแบบองค์รวมและการจัดทำรายงานประชุมสม่ำเสมอ มีคะแนนสูงสุดเท่ากัน (คะแนนเฉลี่ย 4.04) ขณะที่การจัดทำแผนแก้ปัญหานั้น นับว่าบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้คะแนนต่ำสุด (คะแนนเฉลี่ย 3.48) การจัดกลุ่มใหม่สำหรับการอภิบาลระบบทั้งประเทศโดยการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจสามารถจัดแบ่งได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการวางแผนและกลุ่มกระบวนการดำเนินงาน การศึกษานี้เสนอแนะว่าการอภิบาลระบบแบบเครือข่ายสามารถช่วยเสริมความเข้มแข็งของเขตสุขภาพสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเขตบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข การประชาสัมพันธ์ที่ดี การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานโดยอำนาจอ่อนและภาวะผู้นำร่วมจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง จุดอ่อนของการศึกษานี้คือขาดการประเมินผลกระทบของการดำเนินงานth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectธรรมาภิบาลth_TH
dc.subjectGood Governanceth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectParticipatory Health Regionth_TH
dc.titleปัจจัยการอภิบาลระบบที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชนของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeSystem Governance Factors influencing the Implementation of Participatory Health Region of Thailandth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed at analyzing the level of system governance of the participatory health region and the committee roles on system governance; and categorizing system governance of the participatory health regions at national level. Mixed methods of both quantitative and qualitative studies were used. The study covered 13 health regions. The study population consisted of 638 committee members and secretariat teams. Quantitative data were collected by self-administered questionnaires designed according to United Nations’ good governance criteria, and analyzed by descriptive statistics and exploratory factor analysis. Qualitative data were collected by in-depth interview, focus group discussion, report review and observation, and analyzed by content analysis. The study took 15 months from October 2018 to December 2019. Quantitative analysis showed that the participatory health regions had high system governance level since all components got scores greater than 2.5. The top three highest scores consisted of following the rules of law (score 4.01), equity and inclusive coverage (score 3.91) and transparency (score 3.81). The three least scores included efficiency and effectiveness (score 3.65), accountability to people (score 3.66) and responsiveness to target population (score 3.72). Qualitative data analysis revealed 20 important committee roles on the system governance. Holistic care provision and regular meeting reporting got the same highest levels (score 4.04) while the least achievement role was on fulfilling the setup plans (score 3.48). By factor analysis, two categories of system governance were found: the planning and the implementation process. The present study suggests that the network governance can be used to strengthen both the National Health Security Office’s area health and the regional health of the Ministry of Public Health. Public relations, experience sharing in working with soft power, and building collective leadership are recommended for improving system governance. The weakness of the present study was the lack of impact evaluation.th_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordRegional Health Areath_TH
dc.subject.keywordการอภิบาลระบบth_TH
dc.subject.keywordSystem Governanceth_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพเพื่อประชาชนth_TH
.custom.citationสุมาลี เฮงสุวรรณ, Sumalee Hengsuwan, วินัย ลีสมิทธิ์, Vinai Leesmidt, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย and Supasit Pannarunothai. "ปัจจัยการอภิบาลระบบที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชนของประเทศไทย." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5855">http://hdl.handle.net/11228/5855</a>.
.custom.total_download312
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month10
.custom.downloaded_this_year171
.custom.downloaded_fiscal_year23

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v17n ...
ขนาด: 517.4Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย