Show simple item record

Patient Journeys and Proposed Contents for Communication Strategies to Reduce New Cases of Type 2 Diabetes of Thailand

dc.contributor.authorภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนาth_TH
dc.contributor.authorPhirakan Kai-nunnath_TH
dc.contributor.authorพนม คลี่ฉายาth_TH
dc.contributor.authorPhnom Kleechayath_TH
dc.contributor.authorอรุโณทัย วรรณถาวรth_TH
dc.contributor.authorArunothai Wannatawornth_TH
dc.date.accessioned2023-03-30T07:53:46Z
dc.date.available2023-03-30T07:53:46Z
dc.date.issued2566-03
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,1 (ม.ค. - มี.ค. 2566) : 54-67th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5856
dc.description.abstractบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาเส้นทางการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ (2) สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงเนื้อหาเพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารในการลดผู้ป่วยรายใหม่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 26 คนจาก 8 จังหวัดตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ และการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณาข้อเสนอเชิงเนื้อหาในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ ผลการศึกษาพบว่า เส้นทางการเจ็บป่วยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการบริโภคและการเคลื่อนไหวร่างกายที่เอื้อต่อการเป็นเบาหวาน ขาดการตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองเบาหวานในกลุ่มอายุต่ำกว่า 35 ปี มีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งทำให้มีความตระหนักน้อยต่อความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน ระยะที่ 2 ผู้ป่วยตัดสินใจเข้ารับการตรวจเบาหวานเพราะบุคคลในครอบครัว อสม. สื่อมวลชน และตัวผู้ป่วยเองที่มีอาการผิดปกติทางร่างกายจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ส่วนสาเหตุที่ตัดสินใจเข้ารับการรักษาเพราะเชื่อถือต่อผลการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด และคำแนะนำของแพทย์ ผู้ป่วยมีการแสวงหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเบาหวานมากขึ้นจากช่องทางต่างๆ ระยะที่ 3 ผู้ป่วยยอมรับการใช้ชีวิตร่วมกับการเจ็บป่วย สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด คือ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และมีอาการแทรกซ้อน ส่วนข้อเสนอเชิงเนื้อหาในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสาร แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) เนื้อหาพื้นฐานที่จำเป็นต้องสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กลุ่มเนื้อหาด้านการบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มเนื้อหาด้านพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ และกลุ่มเนื้อหาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกาย และ (2) เนื้อหาที่กระตุ้นให้เกิดความตระหนัก ได้แก่ กลุ่มเนื้อหาป่วยเป็นเบาหวานแต่ไม่รู้ตัว กลุ่มเนื้อหาป่วยเป็นเบาหวานแถมโรคแทรกซ้อนอันตรายth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเบาหวานth_TH
dc.subjectDiabetesth_TH
dc.subjectDiabetes Mellitusth_TH
dc.subjectเบาหวานชนิดที่ 2th_TH
dc.subjectType 2 Diabetesth_TH
dc.subjectเบาหวาน--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectDiabetes Mellitus--Prevention & Controlth_TH
dc.subjectDiabetes Patientsth_TH
dc.subjectผู้ป่วยเบาหวานth_TH
dc.subjectการสื่อสารทางการแพทย์th_TH
dc.titleเส้นทางการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทยและข้อเสนอเชิงเนื้อหาในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่th_TH
dc.title.alternativePatient Journeys and Proposed Contents for Communication Strategies to Reduce New Cases of Type 2 Diabetes of Thailandth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research study were to (1) examine the type 2 diabetes patient journeys and (2) synthesize recommendations on communication campaign contents to reduce the number of new type 2 diabetes patients. Two qualitative methodologies were applied in this study. First, 26 purposive samples from 8 provinces in different regions of Thailand were recruited for in-depth interviews. Second, focus group discussion was employed to collect data on the contents of the communication campaign. The results revealed that the type 2 diabetes patient journeys were divided into three stages. In the initial stage, the risk group exhibited habits that contributed to diabetes in terms of consumption and physical activity. The under 35-year-olds also lacked access to diabetes screening and had misconceptions about type 2 diabetes causing them less aware of the risk of developing the disease. The second stage was the beginning of treatment. Patients chose to come for screening after seeking advice from their family member, village health volunteer, the mass media, and after they themselves faced physical conditions interfering with their daily lives. The beliefs in high blood sugar findings and doctor’s advice were the driving force for seeking treatment. Additionally, patients started seeking more information on diabetes through various means. The third stage was to live with diabetes. Patients acknowledged having disease, yet often reported feeling stressed when they were unable to control their blood sugar levels or encountered diabetes-related problems. There were two main categories of content suggestions for developing communication strategies for lowering the number of new cases. The first was the hygiene content for regularly delivery, such as, food and drink risk behaviors, and physical exercise. The second was the hero content to increase awareness on dangerous complications of the disease.th_TH
dc.subject.keywordโรคเบาหวานชนิดที่ 2th_TH
dc.subject.keywordMedical Communicationth_TH
dc.subject.keywordกลยุทธ์การสื่อสารth_TH
dc.subject.keywordCommunication Strategyth_TH
dc.subject.keywordเส้นทางการเจ็บป่วยth_TH
dc.subject.keywordPatient Journeyth_TH
.custom.citationภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา, Phirakan Kai-nunna, พนม คลี่ฉายา, Phnom Kleechaya, อรุโณทัย วรรณถาวร and Arunothai Wannataworn. "เส้นทางการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประเทศไทยและข้อเสนอเชิงเนื้อหาในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5856">http://hdl.handle.net/11228/5856</a>.
.custom.total_download1073
.custom.downloaded_today3
.custom.downloaded_this_month79
.custom.downloaded_this_year474
.custom.downloaded_fiscal_year696

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v17n ...
Size: 293.1Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record