Show simple item record

Equity in Research: Learning from COVID

dc.contributor.authorศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัยth_TH
dc.contributor.authorSupasit Pannarunothaith_TH
dc.date.accessioned2023-06-29T06:45:41Z
dc.date.available2023-06-29T06:45:41Z
dc.date.issued2566-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2566) : 201-202th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5891
dc.description.abstractบทบรรณาธิการฉบับนี้เป็นการค้นหามุมมองความเป็นธรรมในระบบงานวิจัยที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิดที่เป็นโอกาสของการค้นหาความรู้และมีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นมากในการวิจัยค้นหาความรู้ รายจ่ายการวิจัยและพัฒนาประเทศไทยปี พ.ศ. 2563 ตามฐานข้อมูลของ United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) เป็นร้อยละ 1.33 ของ GDP ขณะที่พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ปรับการจัดการงบประมาณการวิจัยระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เริ่มตั้งแต่สภานโยบายฯ กำหนดทิศทาง ถ่ายทอดนโยบาย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) บริหารกองทุนส่งเสริม ววน. ที่ตอบโจทย์ทิศทางการพัฒนาประเทศ สกสว. ตั้งเป้าระยะยาวให้รายจ่ายการวิจัยประเทศไทยเป็นร้อยละ 2.3-2.5 ของ GDP เพราะจะทำให้ผลิตภาพประเทศเติบโตสูงสุดในปี พ.ศ. 2565 รายจ่ายการวิจัยเริ่มสะท้อนทิศทาง เช่น กองทุนส่งเสริม ววน. ได้รับงบประมาณจากรัฐ 14,176 ล้านบาท เป็นงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ เป็นร้อยละ 60 และงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน เป็นร้อยละ 40 ซึ่งมีการจัดการแก้ปัญหาวิกฤตเร่งด่วนของประเทศเกือบร้อยละ 5 และงานวิจัยโควิดที่ได้รับทุนสนับสนุนสองถึงสามโครงการสามารถปิดโครงการได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2565 เมื่อมองระบบบริหารงานวิจัยในสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ระยะเวลาเดียวกันที่สามารถสืบค้นได้ พบว่า Medical Research Council (MRC) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1913 ภายใต้พระราชบัญญัติ National Insurance Act (ค.ศ. 1911) ภายหลังการระบาดทั่วโลกของไข้หวัดสเปนเมื่อร้อยกว่าปีก่อน MRC มารับบทบาทวิจัยต่อสู้การระบาดทั่วโลกของโควิด ภายใต้โครงสร้าง UK Research and Innovation (UKRI) ที่ก่อตั้งโดยพระราชบัญญัติ Higher Education and Research Act 2017 การพิจารณาอนุมัติทุนสนับสนุนงานวิจัยโควิดช่วงสองเดือนแรกที่โลกรู้ว่ามีโรคนี้ใช้เวลาเฉลี่ย 18 วัน มีโครงการส่งเข้าเพื่อการพิจารณา 272 โครงการ อนุมัติให้การสนับสนุน 26 โครงการ ช่วง 3 เดือน ระหว่างเมษายน-มิถุนายน 2563 ที่มีการระบาดมากระลอกแรก มีโครงการส่งเข้าเพื่อการพิจารณา 3,026 โครงการ อนุมัติให้การสนับสนุน 208 โครงการ การพิจารณาอนุมัติที่เร็วที่สุดใช้เวลาเพียง 14 วัน ส่วนการสนับสนุนการวิจัยวัคซีน เนื่องจากมีองค์ความรู้เดิมจากวัคซีนป้องกันโรค MERS (Middle East Respiratory Syndrome) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดจึงได้งบวิจัยจาก UKRI และ NIHR (National Institute of Healthcare Research) ที่เป็นกลไกวิจัยของกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนงบประมาณ 2.6 ล้านปอนด์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ทำให้การวิจัยวัคซีนได้งบเพิ่มจากภาคเอกชนอีก 100 ล้านปอนด์ ดังนั้น ถึงเดือนธันวาคม 2563 วัคซีนโควิด AstraZeneca ก็ได้รับการรับรองจาก Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA) ให้ใช้ในยุโรป การค้นหาคำตอบเพื่อตอบคำถามความเป็นธรรมในระบบงานวิจัยที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิดจึงดูเหมือนไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เพราะการให้เงินวิจัยสนับสนุนต้องหวังผลอย่างชัดเจนว่าทีมวิจัยที่ชนะต้องเป็นทีมที่ไม่ล้มเหลว การเกลี่ยงบวิจัยให้ทั่วถึงเป็นธรรมอาจไม่ใช่วัตถุประสงค์แรกแต่การพิจารณาด้านโครงสร้างของหน่วยวิจัยเป็นเป้าหมายผลิตภาพระยะยาว ดังนั้น องค์กรสนับสนุนการวิจัยในยุโรปก็จะพิจารณาประเด็น gender equality ในโครงร่างที่เสนอด้วย การทบทวนเป้าหมายของระบบวิจัยในประเทศไทยทำให้รู้ว่ารายจ่ายด้านวิจัยของไทยสูงถึงร้อยละ 1.3 ของ GDP ซึ่งเป็นรายจ่ายที่มาจากภาคเอกชนถึงร้อยละ 70 และตัวอย่างการลงทุนในงานวิจัยวัคซีนโควิดจากภาครัฐในสหราชอาณาจักรสามารถระดมทุนจากภาคเอกชนอีกเกือบ 50 เท่า อีกทั้งโครงสร้างขององค์กรวิจัยที่จะก่อให้เกิดผลิตภาพสูงสุด ลดความเหลื่อมล้ำ และบรรลุเป้าหมายพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นข้อคิดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยควรใช้ประเมินการบริหารจัดการรายจ่ายด้านการวิจัยของประเทศไทยที่ตั้งเป้าหมายว่าจะสูงถึงร้อยละ 2.5 ของ GDP ในอนาคตให้เกิดผลิตภาพสูงสุดอย่างแท้จริงth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Equityth_TH
dc.subjectความเท่าเทียมth_TH
dc.subjectEqualityth_TH
dc.titleความเป็นธรรมในงานวิจัย: เรียนรู้จากสถานการณ์โควิดth_TH
dc.title.alternativeEquity in Research: Learning from COVIDth_TH
dc.typeArticleth_TH
.custom.citationศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย and Supasit Pannarunothai. "ความเป็นธรรมในงานวิจัย: เรียนรู้จากสถานการณ์โควิด." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5891">http://hdl.handle.net/11228/5891</a>.
.custom.total_download166
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year43
.custom.downloaded_fiscal_year78

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v17n ...
Size: 127.6Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record