dc.contributor.author | พรทิพย์ วชิรดิลก | th_TH |
dc.contributor.author | Porntip Wachiradilok | th_TH |
dc.contributor.author | สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Suradech Doungthipsirikul | th_TH |
dc.contributor.author | ธีระ ศิริสมุด | th_TH |
dc.contributor.author | Teera Sirisamutr | th_TH |
dc.contributor.author | อัญชุลี เนื่องอุตม์ | th_TH |
dc.contributor.author | Aunchulee Neungaud | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-06-29T06:50:49Z | |
dc.date.available | 2023-06-29T06:50:49Z | |
dc.date.issued | 2566-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,2 (เม.ย. - มิ.ย. 2566) : 264-278 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5894 | |
dc.description.abstract | สถานการณ์ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคจิตเวชเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ในภาพรวมพบว่าประชากร 1 ใน 5 ของประเทศไทยมีปัญหาสุขภาพจิต มีผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการเริ่มต้นถึงรุนแรงร้อยละ 14.3 หรือ 7 ล้านคน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่นและทำลายทรัพย์สิน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบไร้รอยต่อและบูรณาการในพื้นที่ไปสู่การปฏิบัติ และติดตามประเมินผล รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสหสาขาวิชาชีพใน “ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบไร้รอยต่อและบูรณาการในพื้นที่” ทำการศึกษาใน 12 จังหวัด ซึ่งเลือกอย่างเจาะจง กระจายตามเขตสุขภาพที่ 1-12 เครื่องมือประกอบด้วยชุดองค์ความรู้ แบบสำรวจกลุ่มเสี่ยง แบบประเมินความรู้สัญญาณเตือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์กลุ่มเสี่ยงใน 12 ตำบลนำร่อง มี 1,858 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (76.7%) วัยแรงงาน 21-50 ปี (71.4%) มีประวัติเป็นโรคจิตเวชที่รักษาไม่ต่อเนื่อง (43.8%) ในด้านความรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนฯ ในกลุ่มญาติ/ผู้ดูแลนั้น พบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ส่วนระบบของชุมชนจัดการตนเอง พบว่า เกือบทุกพื้นที่นำร่องมีมาตรการต่างๆ ทั้งในระยะก่อน ระหว่างและหลังกลับจากการรักษา โดยมีการจัดทีมเผชิญเหตุในการเข้าประเมินและพูดคุยก่อนทีมภายนอกจะเข้าพื้นที่ เชื่อมต่อกับชุดตำรวจท้องที่ร่วมกับชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น นำส่งระบบบริการสุขภาพไปถึงโรงพยาบาลปลายทางที่เหมาะสม ในส่วนของผลลัพธ์ คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตสามารถเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้รวดเร็วและเพิ่มขึ้น อีกทั้งไม่มีรายงานบาดเจ็บทั้งผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ออกเหตุและบุคคลแวดล้อม ตลอดจนสามารถต่อยอดขยายผลผ่านคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาสุขภาพจิตและสารเสพติด ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิด คือ จะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนและอันตรายที่สามารถป้องกันได้ อีกทั้งยังทำให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ มีความรอบรู้ ในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและจัดการช่วยเหลือเบื้องต้น ตลอดจนทำให้แนวทางปฏิบัติของระบบบริการสุขภาพทั้งระบบ prevention, pre-hospital care, in-hospital care และ inter-facility transfer เป็นไปอย่างไร้รอยต่อและบูรณาการซึ่งกันและกัน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | จิตเวช | th_TH |
dc.subject | สุขภาพจิต | th_TH |
dc.subject | Mental Health | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วยจิตเวช | th_TH |
dc.subject | การพยาบาลฉุกเฉิน | th_TH |
dc.subject | Emergency Care | th_TH |
dc.subject | Emergency Medical Services | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.title | การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบไร้รอยต่อและบูรณาการในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Seamless and Integrated Emergency Medical Services System for Mental Health Crisis Patients in Thailand | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Currently, there has been an increasing number of psychiatric patients. From 1 in 5 people in the country to have mental health problems, Thailand has 14.3% or 7 million psychiatric patients at risk of mental health crisis with a chance of inflicting self-harm or violent behaviors towards people and surrounding property. The present research aimed to implement a seamless locally integrated emergency medical service system for emergency mental health crisis patients, monitor, evaluate, and provide policy recommendations. The mixed methods research comprised quantitative and qualitative analysis. The sample group is a multidisciplinary stakeholder in the field of “Emergency Medical Service Systems for Locally Integrated Emergency Mental Health Patients”. The research is conducted in 12 provinces distributed across Health Region 1-12 using a purposive sampling. The tool consisted of a knowledge set, risk evaluation survey, warning sign knowledge assessment form, and questions for the group discussion. The data were analyzed with descriptive statistics and content analysis. The results showed that 1,858 risk groups in 12 pilot sub-districts were mostly male (76.7%), aged 21-50 years (71.4%), with a history of intermittent treatment for psychiatric disorders (43.8%). From these 2,099 relatives/caregivers, most had good understanding on “warning symptoms and requests for help for emergency mental health patients”. As for the self-management community system, most pilot areas had working guidelines before, during, and post treatment, especially on organizing a response team to assess and mitigate before external teams enter the scene. This is connected to the local police unit in conjunction with the initial emergency operations to bring the health service system to the appropriate destination hospital. As an outcome, patients with mental health crises have faster and more access to emergency medical services. In addition, there were no reports of injuries to patients, officer or surrounding people as well as being able to extend the results through the service plan of the Mental Health and Substance Abuse. The impact for the expected effects, those at risk of mental health crisis can access the health system quickly and appropriately, reducing complications and preventable dangers. In addition, it is expected that the community become more self-reliant, increase in health literacy in promoting, preventing, and providing basic assistance for mental health crisis situation, as well as having established integrated guidelines for the health service system including prevention, pre-hospital care, in-hospital care and inter-facility transfer seamlessly. | th_TH |
dc.subject.keyword | การแพทย์ฉุกเฉิน | th_TH |
dc.subject.keyword | โรคจิตเวช | th_TH |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | Regional Health Area | th_TH |
.custom.citation | พรทิพย์ วชิรดิลก, Porntip Wachiradilok, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, Suradech Doungthipsirikul, ธีระ ศิริสมุด, Teera Sirisamutr, อัญชุลี เนื่องอุตม์ and Aunchulee Neungaud. "การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบไร้รอยต่อและบูรณาการในประเทศไทย." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5894">http://hdl.handle.net/11228/5894</a>. | |
.custom.total_download | 1403 | |
.custom.downloaded_today | 5 | |
.custom.downloaded_this_month | 99 | |
.custom.downloaded_this_year | 1031 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 281 | |