Show simple item record

Policy Proposals for the Monitoring and Evaluation of the Performance of the Sub-District Health Promoting Hospital Transferring to the Provincial Administrative Organization Case Study in Maha Sarakham Province

dc.contributor.authorวรพจน์ พรหมสัตยพรตth_TH
dc.contributor.authorVorapoj Promasatayaprotth_TH
dc.contributor.authorสุมัทนา กลางคารth_TH
dc.contributor.authorSumattana Glangkarnth_TH
dc.contributor.authorรัตนสิทธิ์ ทิพย์วงศ์th_TH
dc.contributor.authorRustanasit Tipwongth_TH
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorSurasak Thiabrithith_TH
dc.contributor.authorเทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์th_TH
dc.contributor.authorTerdsak Promarakth_TH
dc.contributor.authorจตุพร เหลืองอุบลth_TH
dc.contributor.authorJatuporn Luangubolth_TH
dc.contributor.authorสิริมาพร นาศพัฒน์th_TH
dc.contributor.authorSirimaporn Nassapatth_TH
dc.contributor.authorวิภาดา คงทรงth_TH
dc.contributor.authorWipada Kongsongth_TH
dc.contributor.authorภัทรพล โพนไพรสันต์th_TH
dc.contributor.authorPhattarapon Ponprisanth_TH
dc.contributor.authorจิรยุทธ์ สุดสังข์th_TH
dc.contributor.authorJirayut Sudsungth_TH
dc.date.accessioned2023-09-08T08:45:34Z
dc.date.available2023-09-08T08:45:34Z
dc.date.issued2566-02
dc.identifier.isbn9789741960965
dc.identifier.otherhs3004
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5920
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ข้อเสนอเชิงนโยบายการกำกับและประเมินผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ได้รับการถ่ายโอนให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กรณีศึกษา จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยแบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 คน ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องในการกำกับและประเมินผลการดำเนินงานของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และ รพ.สต. ที่มีความประสงค์ที่จะถ่ายโอน และไม่ถ่ายโอนให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม (อบจ. มค.) จำนวน 175 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การแสดงความคิดเห็น ผลการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดระบบบริการสุขภาพตามกรอบแนวคิด The Six Building Blocks of Health System พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดระบบบริการสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สถานภาพสมรส (p-value<0.001) ตำแหน่ง (p-value=0.019) การเป็นคณะกรรมการ (p-value=0.023) แหล่งข้อมูลข่าวสาร (p-value=0.024) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการกำกับและประเมินผลการดำเนินงานของ สอน. และ รพ.สต. ที่ได้รับการถ่ายโอน ได้แก่ การถ่ายโอน (p-value=0.027) สถานะการถ่ายโอน (ส่วนบุคคล) (p-value=0.006) เพศ (p-value=0.014) สถานภาพสมรส (p-value<0.001) การศึกษา (p-value=0.0043) ตำแหน่ง (p-value<0.001) ลักษณะงาน (p-value<0.001) และประสบการณ์การฝึกอบรม (p-value=0.001) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการกำกับและประเมินผลการดำเนินงานของ รพ.สต. ระหว่างกลุ่มถ่ายโอน และไม่ถ่ายโอน พบว่า ประเด็นที่มีความแตกต่างกัน (p-value<0.001) ได้แก่ ด้านความเป็นธรรมด้านการตอบสนองความต้องการ ด้านความเสี่ยงทางสังคมและการเงิน และด้านประสิทธิภาพการบริการ ข้อเสนอเชิงนโยบายซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) ด้านความเป็นธรรม ควรให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน รูปแบบควรเป็นการประเมินในแต่ละอำเภอ ต้องการให้มีเวทีแลกเปลี่ยนกันระหว่างทีมประเมิน เพื่อกำหนดแนวทางการประเมินร่วมกัน โดยในระยะแรก ควรประเมินผลกระทบต่อประชาชนจากระบบบริการของ รพ.สต. ที่เปลี่ยนไป เน้นการนิเทศติดตาม และแนะนำการดำเนินงานมากกว่าการประเมินผลลัพธ์ 2) ด้านการตอบสนองความต้องการ ควรเลือกตัวชี้วัดในการประเมิน เฉพาะตัวชี้วัดที่สามารถทำได้ภายใต้ภารกิจการดำเนินงานของ รพ.สต. ที่ได้รับการถ่ายโอนให้แก่ อบจ. 3) ด้านความเสี่ยงสังคมและการเงิน ในช่วงเปลี่ยนผ่านควรกำกับและประเมินผลกระทบต่อระบบบริการสุขภาพหลายด้าน ทั้งด้านกำลังคน วัสดุอุปกรณ์ และการประสานงานกับเครือข่ายบริการสุขภาพ ให้ผู้บริหารกำกับการดำเนินงานทุกอย่างให้มีความคล่องตัว สำหรับบริการแก่ประชาชน และ 4) ด้านประสิทธิภาพการบริการ ควรมีการเพิ่มโครงสร้างบุคลากร เพื่อให้มีการติดต่อประสานงานและมีผู้รับผิดชอบงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การกำกับและประเมินผล ผู้ประเมินควรเป็นผู้แทนของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงสาธารณสุขและองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมไปถึงประชาชนด้วย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและควรมีคู่มือแนวทางการประเมินที่ชัดเจนและสามารถชี้แนวทางในการพัฒนาการทำงานได้ชัดเจนมากขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัดth_TH
dc.subjectโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิ (การแพทย์)th_TH
dc.subjectPrimary Care (Medicine)th_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectHealth--Managementth_TH
dc.subjectการจัดการด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectการกระจายอำนาจด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleข้อเสนอเชิงนโยบายการกำกับและประเมินผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ได้รับการถ่ายโอนให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษา จังหวัดมหาสารคามth_TH
dc.title.alternativePolicy Proposals for the Monitoring and Evaluation of the Performance of the Sub-District Health Promoting Hospital Transferring to the Provincial Administrative Organization Case Study in Maha Sarakham Provinceth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study the policy proposal for monitoring and evaluation of the Sub-district Health Promoting Hospital (SDHP) where have been transferred to Mahasarakham Provincial Administrative Organization (MPAO). The mixed methods research was conducted in 2 phases. Phase 1 was a survey in 500 samples and phase 2 was action research. The target samples were the stakeholders from 175 settings of Health Center in Honor of His Majesty the King’s 60th Birthday Nawamintrachini (HCN) and the SDHP. Data was collected by questionnaires, focus group discussion and commenting record. The results reveled factor affected the health service following the six building blocks of health system framework. The factors related the health services significantly were married status (p-value<0.001), work position (p-value=0.019), committee (p-value=0.023), and information sources (p-value=0.024). The factors affected the monitoring and evaluation of the HCN and the SDHP who transferred to the MPAO statistically significant were transferring (p-value=0.027), personal transferred status (p-value=0.006), gender (p-value=0.014), married status (p-value<0.001), education (p-value=0.0043), work position (p-value<0.001), work type (p-value<0.001), and training experiences (p-value=0.001). The comparing between a transferred group and a non-transferred group found the statistically significant difference (p-value<0.001) in the improved health, the responsiveness and the improved efficiency. The policy proposals will be implemented in 4 domains. First, the improved health domain should involve all stakeholders participate in the evaluation. The format depends on each district and should have a sharing forum. The first phase should evaluate the people impacts rather than outputs, according to the changes of health service system. Second, the responsiveness domain should select the indicators which can be performed under the situation of transferring to the MPAO. Third, the social and financial risk protection domain should monitor and evaluate the health impacts covering manpower, materials and network coordination. The facilities should be flexible for good health services. Lastly, the improved efficiency domain should increase the human resources for the effective coordination and performance. The assessors for the monitoring and evaluation should be the delegates of the health networks of the Ministry of Public Health, Provincial Administrative Organization, and stakeholders. The manual should be development for assessing guideline and improving performance.th_TH
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ว225ข 2566
dc.identifier.contactno65-130
dc.subject.keywordHealth Decentralizeth_TH
dc.subject.keywordHealth Decentralizationth_TH
dc.subject.keywordการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขth_TH
.custom.citationวรพจน์ พรหมสัตยพรต, Vorapoj Promasatayaprot, สุมัทนา กลางคาร, Sumattana Glangkarn, รัตนสิทธิ์ ทิพย์วงศ์, Rustanasit Tipwong, สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์, Surasak Thiabrithi, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, Terdsak Promarak, จตุพร เหลืองอุบล, Jatuporn Luangubol, สิริมาพร นาศพัฒน์, Sirimaporn Nassapat, วิภาดา คงทรง, Wipada Kongsong, ภัทรพล โพนไพรสันต์, Phattarapon Ponprisan, จิรยุทธ์ สุดสังข์ and Jirayut Sudsung. "ข้อเสนอเชิงนโยบายการกำกับและประเมินผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ได้รับการถ่ายโอนให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษา จังหวัดมหาสารคาม." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5920">http://hdl.handle.net/11228/5920</a>.
.custom.total_download252
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month8
.custom.downloaded_this_year172
.custom.downloaded_fiscal_year16

Fulltext
Icon
Name: hs3004.pdf
Size: 6.165Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record