บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ: ประเทศไทยมีการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์และการดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลมาอย่างต่อเนื่อง จากการมีนโยบายการพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระดับประเทศ (Rational Drug Use Country indicators หรือ RDUCI) เพื่อติดตามระดับความก้าวหน้าและประเมินผลในระดับประเทศ วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อพัฒนากรอบการพัฒนาตัวชี้วัด RDUCI และพัฒนาชุดตัวชี้วัด RDUCI ตามกรอบที่กำหนดสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ติดตามระดับความก้าวหน้าและประเมินผลในระดับประเทศ วิธีการวิจัย: การพัฒนากรอบการพัฒนาตัวชี้วัดและการพัฒนาชุดตัวชี้วัด ใช้การวิจัยด้วยการทบทวนเอกสารและการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ และการสำรวจความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประเทศ ในด้านความตรงเชิงเนื้อหาและประโยชน์ในการนำตัวชี้วัดไปใช้และมีต้นแบบเครื่องมือประมวลผลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ของการประมวลผลตัวชี้วัดโดยตรวจสอบจากการส่งข้อมูลรายงานการสั่งยาจากโรงพยาบาลขนาดกลางและขนาดใหญ่ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และการทดสอบการประมวลผลข้อมูลจากฐานข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศของกระทรวงสาธารณสุข ผลการวิจัย: ตัวชี้วัด RDU Country 24 ตัวชี้วัด ที่พัฒนาขึ้นจากหลักการนโยบายการพัฒนาประเทศสู่การใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามประเด็นสำคัญตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล สถานการณ์และทิศทางการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประเทศไทย ประกอบด้วย ตัวชี้วัดด้านโครงสร้างระบบยาเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล สถานพยาบาลมีคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาล มีการจัดการศึกษาต่อเนื่องด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ การมีจังหวัดผ่านเกณฑ์การพัฒนาสู่จังหวัดใช้ยาอย่างสมเหตุผล ด้านการสั่งยาในสถานพยาบาลประกอบด้วยตัวชี้วัดการสั่งในบัญชียาหลัก การสั่งยาด้วยชื่อสามัญทางยา ตัวชี้วัดการสั่งยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นในผู้ป่วยนอก การสั่งยาที่ไม่เหมาะสมในโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยเด็ก การสั่งยาจำเป็นเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในโรคเรื้อรังที่พบบ่อย คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง และการสั่งยาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยไม่จำเป็นในผู้ป่วยความเสี่ยงต่ำ ด้านผลลัพธ์ต่อสุขภาพจากการสั่งยาอย่างสมเหตุผลในโรคเรื้อรังประกอบด้วยการควบคุมภาวะโรค และการเข้าโรงพยาบาลจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาที่หลีกเลี่ยงได้ ในด้านผลกระทบของการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในผู้ป่วยนอกต่ออัตราการติดเชื้อดื้อยา และผลกระทบด้านความเท่าเทียมด้านค่าใช้จ่ายด้านยาระหว่างกองทุนประกันสุขภาพ ตัวชี้วัด RDU Country ชุดนี้มีองค์ประกอบของตัวชี้วัดปัจจุบันของกระทรวงสาธารณสุขและตัวชี้วัดปัจจุบันของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ปี พ.ศ. 2565 และตัวชี้วัดอื่นๆ ที่คัดเลือกจากกระบวนการวิจัยในครั้งนี้ จากการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากแฟ้มรายงานมาตรฐาน 43 แฟ้มที่ส่งออกจากโรงพยาบาล พบว่า ยังมีปัญหาด้านความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูลรหัสยา ด้านการทดสอบในการประมวลผลข้อมูลจากข้อมูลเปิดเผยภาครัฐด้านตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและเชื้อดื้อยาของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีความเป็นไปได้ในการประมวลผลเพื่อติดตามการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สรุป: ตัวชี้วัด RDU Country ชุดนี้เน้นการใช้ยาในมนุษย์และการสั่งใช้ยาในสถานพยาบาล ซึ่งเป็นนโยบายที่ดำเนินการเป็นหลักและมีผลเห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดของประเทศไทย อย่างไรก็ตามยังขาดตัวชี้วัดเรื่องการเงินการคลัง ผู้ผลิตและจำหน่ายยา และแหล่งข้อมูลด้านยา ส่วนด้านบัญชียาหลักปรากฏอยู่ในตัวชี้วัดผลผลิตด้านการสั่งยาในบัญชียาหลัก ตัวชี้วัดที่ควรมีการพิจารณาเพิ่มเติม คือ ด้านความครอบคลุมของบริการด้านยาที่จำเป็น เช่น การให้คำปรึกษา การประสานรายการยา การทบทวนรายการยา ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ยาและความคุ้มค่า ในด้านความคลอบคลุมมิติการใช้ยา ควรมีการเพิ่มตัวชี้วัดและการติดตามด้านจริยธรรมการส่งเสริมการขายยาของผู้ผลิตและจำหน่ายยา การขึ้นทะเบียนและการกำกับให้มีข้อมูลยาสำหรับประชาชน การควบคุมการกระจายยาในชุมชน การใช้ยาและความปลอดภัยจากการใช้ยาของประชาชนด้วยตนเองและการใช้ยาในภาคปศุสัตว์และเกษตรกรรม การพัฒนาตัวชี้วัด RDU Country ในระยะต่อไปจำเป็นต้องทดลองเก็บข้อมูลและกำหนดค่าเป้าหมายที่เหมาะสม และกำหนดแนวทางในการนำตัวชี้วัดไปใช้ในการพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลางต่อไป
บทคัดย่อ
Background: Thailand has continued to develop strategies and actions to promote rational drug use. In 2019, a policy in promoting Rational Drug Use Country was issued and implemented nationwide. It is therefore necessary to develop national rational drug use country indicators (RDUCI) to monitor progress and assess national levels. Objectives: The objectives of this research were to develop a framework for developing RDUCI indicators and to develop a set of RDUCI indicators according to the specified framework for relevant agencies to use these indicators for monitoring progress and evaluation of RDU at the national level. The development of the indicator development framework and the development of a set of indicators were conducted by using desk review, literature reviews, conducting several meetings of experts for drafting and reviewing process. A survey of experts from different agencies involved in the policy and implementation of rational drug use promotion in Thailand was conducted. Content validity and usefulness of the indicators were rated by the experts. RDUCI templates had been developed and tested for their feasibility for data collection and processing from two sources, one from hospital databases of medium and large hospitals under the Ministry of Public Health (MOPH), and another from the Health Data Center of MOPH. Results: A set of 24 RDU Country indicators was selected based on the RDUCI Development Framework, addressing the National Strategy on RDU and the directions of RDU Country. The selected RDU Country indicators were consisted of 4 drug system structure indicators; a national body responsible for the development of RDU guidelines, establishment and action of pharmacy and therapeutic committee responsible for RDU in public and private healthcare settings, continuing education for prescribers and healthcare providers, and the establishment of RDU Province based on specific criteria. The RDU Country output indicators consisted of 14 indicators related the rational drug prescribing in health facilities, including prescribing of medications in the NLEM, antibiotic prescribing in outpatients, antidiarrhea drugs prescribing in children age <5 years, and prescribing of necessary drugs for treatment and prevention of disease complications in diabetes, cerebrovascular and cardiovascular diseases, and prescribing of non-necessary medicine. Health outcome indicators consisted of 4 indicators, 3 indicators suggesting the effectiveness of medicine in disease control, and 1 indicator for hospitalization related to preventable adverse event related to medicine in diabetes type 2. RDU Country indicators for impact of RDU consisted of 2 indicators, antimicrobial resistant rates, and equity of health expenditure among health insurance schemes. The RDUCIs consisted of the existing indicators of the Ministry of Public Health, the RDU Service Plan and the new indicators developed in the process of this study. The validity test of the data from the 43 standard report data from public hospitals indicated issues of inaccurate and incomplete drug codes. The feasibility test of the selected RDUCI templates on the Open Data of the Ministry of Public Health on RDU Service Plan indicators and AMR suggested that it was feasible to use the data from these sources for national RDU monitoring using the selected RDUCIs. Conclusion: This set of RDU Country indicators developed in this study focuses on the use of drugs in humans and the drug prescribing in hospitals, representing the ongoing RDU policies that have been implemented and have the most concrete results in Thailand. However, there is still a lack of financial indicators, pharmaceutical manufacturer and distributor, and drug information resources. Regarding the availability of the NLEM, it appears to integrate in the NLEM prescribing indicator. Another indicator that should be considered to add to the set of the RDUCI is the coverage of necessary pharmaceutical services such as medication counselling, medication reconciliation, and medication review, responsiveness, and efficiency of RDU. To improve the coverage of RDUCI, additional indicators should be considered, such as monitoring of ethical drug promotion of drug manufacturers and distributors, drug registration, availability of drug information for public, drug distribution control in community, self-medication behavior and its safety, and drug use in farms and agricultures. For the development of RDCI in the next phase, it is suggested that data collection using RDUCI, determination of the target goals, and the application of the RDUCI data for promoting RDU Country should be conducted.