สมรรถนะทางวัฒนธรรมของเภสัชกรโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
dc.contributor.author | อัฐกฤตย์ อุ่นแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | Auttakrit Aunkaew | th_TH |
dc.contributor.author | พักตร์วิภา สุวรรณพรหม | th_TH |
dc.contributor.author | Puckwipa Suwannaprom | th_TH |
dc.contributor.author | ศิริตรี สุทธจิตต์ | th_TH |
dc.contributor.author | Siritree Suttajit | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-09-28T09:01:45Z | |
dc.date.available | 2023-09-28T09:01:45Z | |
dc.date.issued | 2566-09 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,3 (ก.ค. - ก.ย. 2566) : 409-428 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5932 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ของสมรรถนะทางวัฒนธรรมของเภสัชกรโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาศักยภาพในมิติทางวัฒนธรรมแก่เภสัชกรไทยต่อไป วิธีการ: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยใช้แบบประเมินสมรรถนะทางวัฒนธรรมของเภสัชกรไทย (Thai Pharmacists’ Cultural Competency Self-Assessment Scale: TPCCS) สำรวจในกลุ่มเภสัชกรโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศไทย ในรูปแบบประเมินออนไลน์ ช่วงเดือนมีนาคม–สิงหาคม พ.ศ. 2564 ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามเขตบริการสุขภาพ และขนาดโรงพยาบาล เภสัชกรกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 241 คน (อัตราตอบกลับร้อยละ 31.26) แบบประเมินประกอบด้วยสมรรถนะทางวัฒนธรรม 5 มิติ ได้แก่ 1. ความตระหนักรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม 2. ทักษะเกี่ยวกับวัฒนธรรม 3. ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม 4. ความสามารถในการเผชิญและการจัดการกับประเด็นทางวัฒนธรรม และ 5. ความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรม รวม 16 ปัจจัย และ 92 ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วน 5 ระดับ ตามความสามารถในการปฏิบัติ โดยให้เภสัชกรเป็นผู้ประเมินตนเอง ผลการวิจัย: สมรรถนะทางวัฒนธรรมของเภสัชกรโดยเฉลี่ยยังอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยของแต่ละปัจจัยอยู่ระหว่าง 2.39–4.24 ในมิติการตระหนักรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมมีบางปัจจัยที่ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในมิติความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรม สรุปผล: สมรรถนะทางวัฒนธรรมของเภสัชกรควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มากขึ้น โดยเฉพาะในมิติความตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม ส่วนมิติ ความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรมมีค่าเฉลี่ยที่สูง อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีต่อการพัฒนามิติทางวัฒนธรรมของเภสัชกรต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | เภสัชกร | th_TH |
dc.subject | Pharmacists | th_TH |
dc.subject | สมรรถนะ | th_TH |
dc.subject | Competency | th_TH |
dc.subject | Cultural Competency | th_TH |
dc.subject | การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม | th_TH |
dc.title | สมรรถนะทางวัฒนธรรมของเภสัชกรโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข | th_TH |
dc.title.alternative | Cultural Competency of Hospital Pharmacists under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Objective: To study the cultural competency among hospital pharmacists, under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health, Thailand. The findings would serve as an input for cultural competency development plans for Thai pharmacists. Method: The researchers used the online Thai Pharmacists’ Cultural Competency Self-Assessment Scale (TPCCS) developed by the researchers to perform a cross-sectional survey to hospital pharmacists under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health Thailand. Stratified sampling was carried out based on the health service region and the size of the facility. Between March and August 2021, 241 pharmacists responded to the survey (response rate 31.26%). The TPCCS had 16 factors, 92 questions and 5 cultural competency dimensions: 1. cultural awareness, 2. cultural skills, 3. cultural knowledge, 4. cultural encounter, and 5. cultural desire. On a 5-point Likert scale, pharmacists were asked to rate their ability to practice. Results: Thai hospital pharmacists had a moderate level of cultural competency. On the full scale of 5, the mean values for each dimension ranged from 2.39 to 4.24. On average, they had low scores on some cultural awareness dimension. They had the highest score on cultural desire. Conclusion: There was a need to improve pharmacists’ cultural competency, particularly in terms of cultural awareness. A strong desire for cultural competency may be an excellent foundation for continuing growth. | th_TH |
dc.subject.keyword | สมรรถนะทางวัฒนธรรม | th_TH |
.custom.citation | อัฐกฤตย์ อุ่นแก้ว, Auttakrit Aunkaew, พักตร์วิภา สุวรรณพรหม, Puckwipa Suwannaprom, ศิริตรี สุทธจิตต์ and Siritree Suttajit. "สมรรถนะทางวัฒนธรรมของเภสัชกรโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5932">http://hdl.handle.net/11228/5932</a>. | |
.custom.total_download | 230 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 11 | |
.custom.downloaded_this_year | 159 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 20 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ