dc.contributor.author | ภัทรพร คงบุญ | th_TH |
dc.contributor.author | Pattaraporn Khongboon | th_TH |
dc.contributor.author | สุวิณี วิวัฒน์วานิช | th_TH |
dc.contributor.author | Suvinee Wivatvanit | th_TH |
dc.contributor.author | ชาตินัย หวานวาจา | th_TH |
dc.contributor.author | Chatinai Wanwacha | th_TH |
dc.contributor.author | จิราพร เกศพิชญวัฒนา | th_TH |
dc.contributor.author | Jiraporn Kespichayawattana | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-09-28T09:21:35Z | |
dc.date.available | 2023-09-28T09:21:35Z | |
dc.date.issued | 2566-09 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,3 (ก.ค. - ก.ย. 2566) : 455-472 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5935 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจ้างงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวในชุมชน ผ่านหน่วยบริการ/ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการจ้างงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวในชุมชน หลังการประกาศปรับการจ่ายค่าจ้างผู้ช่วยเหลือดูแล (caregiver) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยเป็นการศึกษาภาคตัดขวาง ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2565 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ช่วยเหลือดูแล จำนวน 563 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวในชุมชน ภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (long term care, LTC) จาก ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร โดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คือร้อยละ 95.4 และมีอายุระหว่าง 40-59 ปี คือร้อยละ 62.3 มีระยะเวลาการทำงานเป็นผู้ช่วยเหลือดูแล 3-5 ปี ร้อยละ 47.2 ผ่านการอบรมหลักสูตร 70 ชั่วโมง ร้อยละ 89.6 ด้านการทำสัญญาจ้างพบว่าร้อยละ 31.3 ทำสัญญาจ้างกับหน่วยบริการ, ร้อยละ 30.6 ทำสัญญาจ้างกับ อปท., และร้อยละ 17.6 ไม่ได้ทำสัญญาจ้าง ขณะที่ความถี่ของการได้รับค่าจ้างพบว่า ร้อยละ 25.8 ได้รับค่าจ้างทุกเดือน, ร้อยละ 17.9 ได้รับค่าจ้างทุกๆ 3 เดือน โดยร้อยละ 48.7 เคยประสบกับการจ่ายค่าจ้างล่าช้า รวมถึงไม่ได้รับการจ่ายค่าจ้าง ผู้ช่วยเหลือดูแลได้รับค่าจ้างโดยเฉลี่ย 1,620 บาท (สูงสุด 3,054 บาทต่อเดือน/ต่ำสุด 764 บาทต่อเดือน) และพบว่ามีค่าเดินทางที่ผู้ช่วยเหลือดูแลต้องจ่ายเอง เพื่อไปทำงาน 214 บาทต่อเดือน (สูงสุด 356 บาทต่อเดือน/ต่ำสุด 115 บาทต่อเดือน) ระดับความพึงพอใจต่อการจ้างงานของผู้ช่วยเหลือดูแลพบว่า ร้อยละ 51.6 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมาร้อยละ 26.3 มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อการจ้างงานคือคุณภาพชีวิตในการทำงาน (B=1.433, p<0.01) การสนับสนุนการทำงาน (B=0.923, p<0.01) และ ค่าจ้างที่ได้รับจากการทำงาน (B=0.001, p<0.01) ส่งผลทางบวกต่อความพึงพอใจต่อการจ้างงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านค่าจ้าง ควรปรับเพิ่มค่าจ้างของผู้ช่วยเหลือดูแลให้ไม่น้อยกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำ หรือปรับเพิ่มค่าจ้างแบบขั้นบันไดตามอายุงานของผู้ช่วยเหลือดูแล กรณีที่ไม่เพิ่มค่าจ้างก็ควรให้ค่าเดินทาง ค่าป่วยการต่างๆ ด้านปัจจัยสนับสนุนการทำงาน ควรจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงาน เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต ให้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลทุกคน, จัดอบรมฟื้นฟูความรู้และทักษะเพิ่มเติมให้ผู้ช่วยเหลือดูแลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ, จัดหาเสื้อทีม บัตรประจำตัวหรือสัญลักษณ์เพื่อแสดงตัวตนให้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลเพื่อสร้างการรับรู้แก่ประชาชนทั่วไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การจ้างงาน | th_TH |
dc.subject | Employment | th_TH |
dc.subject | ผู้ดูแล | th_TH |
dc.subject | Caregivers | th_TH |
dc.subject | การดูแลระยะยาว | th_TH |
dc.subject | Long-Term Care | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อการจ้างงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Factors Influencing Employment Satisfaction of Caregivers Taking Care of Dependent Person in Thailand | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to measure the satisfaction of caregivers employed by service units/centers to improve the quality of life of the elderly/local governments to give care to dependent persons in the communities; and to determine the factors that influenced caregivers’ satisfaction with the employment after wage adjustment made since 2017. This was a cross-sectional study in January and February 2022. Data were collected using questionnaires from 563 caregivers who worked under the long-term care funds for dependent elderly from the north, the south, the east, the northeast, and Bangkok. Samples were selected using the simple random sampling method. Data were analyzed descriptively and the relationships between variables were tested using multiple regression analysis. The results showed that the majority of the samples were female (95.4%), age between 40 and 59 years (62.3%), worked as a caregiver for 3 to 5 years (47.2%), and had completed 70 hours of training (89.6%). Regarding employment contracts, 31.3% contracted through service units, 30.6% contracted through local governments, and 17.6% had no contracts. In terms of frequency of payment, 25.8% were paid monthly and 17.9% paid every three months. This study revealed that 48.7% of caregivers experienced late or no payment at all. In this regard, caregivers earned an average wage of 1,620 baht per month (maximum 3,054/minimum 764), but had to pay for travel to work at 214 baht per month (maximum 356/minimum 115). In terms of satisfaction with employment, 51.6% of caregivers had a high level of satisfaction, followed by 26.3% with the highest level. The factors affecting employment satisfaction were quality of work life (B = 1.433, p < 0.01), job support (B = 0.923, p < 0.01), and wages (B = 0.001, p < 0.01). Policy recommendations on wages are: wages should not be lower than the minimum wage, or wages should be increased as step ladder based on experience of the caregivers. If wages cannot be increased, travel expenses, or opportunity losses should be covered. Policies to support the work of caregivers are: equipment such as blood pressure monitors, refresh trainings to improve caregiver knowledge and practices, and caregiver uniforms or team vests, recognition badges, or symbols should be provided to caregivers for public recognition. | th_TH |
.custom.citation | ภัทรพร คงบุญ, Pattaraporn Khongboon, สุวิณี วิวัฒน์วานิช, Suvinee Wivatvanit, ชาตินัย หวานวาจา, Chatinai Wanwacha, จิราพร เกศพิชญวัฒนา and Jiraporn Kespichayawattana. "ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อการจ้างงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงในประเทศไทย." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5935">http://hdl.handle.net/11228/5935</a>. | |
.custom.total_download | 353 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 10 | |
.custom.downloaded_this_year | 284 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 38 | |