แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลในภาวะที่มีการระบาดของ COVID-19: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา

dc.contributor.authorศิริวรรณ ชูกำเนิดth_TH
dc.contributor.authorSiriwan Chukumnirdth_TH
dc.contributor.authorศักรินทร์ สุวรรณเวหาth_TH
dc.contributor.authorSakkarin Suwanwahath_TH
dc.contributor.authorผาณิต หลีเจริญth_TH
dc.contributor.authorPhanit Leecharoenth_TH
dc.contributor.authorจารุณี วาระหัสth_TH
dc.contributor.authorJarunee Warahutth_TH
dc.contributor.authorอภิสิทธิ์ เชื้อคำเพ็งth_TH
dc.contributor.authorApisit Chuakompength_TH
dc.contributor.authorนัยนันต์ เตชะวณิชth_TH
dc.contributor.authorNaiyanan Tejavanijath_TH
dc.contributor.authorดารารัตน์ ดำรงกุลชาติth_TH
dc.contributor.authorDararat Dumrongkullachartth_TH
dc.date.accessioned2023-09-29T01:53:13Z
dc.date.available2023-09-29T01:53:13Z
dc.date.issued2566-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,3 (ก.ค. - ก.ย. 2566) : 510-530th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5938
dc.description.abstractการวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์ (emancipatory action research) ร่วมกับกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 และพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 ของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ กรณีศึกษาจังหวัดสงขลาที่มีองค์ประกอบของการทำงานตามนโยบายการจัดการของรัฐ โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิจำนวน 10 คน พยาบาลวิชาชีพหน่วยบริการสุขภาพทุติยภูมิจำนวน 31 คน พยาบาลวิชาชีพหน่วยบริการสุขภาพตติยภูมิจำนวน 12 คน รวมพยาบาลวิชาชีพทั้งสิ้นจำนวน 53 คน และแพทย์จำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย แบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลด้านผู้ป่วย COVID-19 แบบประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการพยาบาลด้านผู้ป่วย COVID-19 และ แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะด้านการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 2) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย (1) แบบสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม (2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ (3) แนวคำถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพทั่วไป มีค่าคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 โดยรวมเพิ่มขึ้นในแต่ละวงรอบของการวิจัย และได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทั้งสมรรถนะเฉพาะวิชาชีพ และสมรรถนะเชิงเทคนิค 2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ แนวทางการปฏิบัติ วิธีการพัฒนาสมรรถนะ และปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะ โดยแนวทางการปฏิบัติ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การกำหนดสมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน 2) การพัฒนาระบบการติดตาม สนับสนุนและเสริมพลัง 3) การกำหนดแนวทางพัฒนาสมรรถนะตนเอง 4) การดำเนินการตามแผนพัฒนาสมรรถนะ และ 5) การสรุปและรายงานผลการพัฒนา วิธีการพัฒนาสมรรถนะ ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) การอบรมสัมมนา 2) การเรียนรู้จากการปฏิบัติ 3) การเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ 4) การสอนงานด้วยระบบพี่เลี้ยง 5) การศึกษาด้วยตนเอง และ 6) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะ ประกอบด้วย บทบาทผู้นำทางการพยาบาล นโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจน และทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ สรุป: ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการพยาบาล ที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ให้มีทักษะและความสามารถในการพยาบาลผู้ป่วย COVID-19 และสามารถใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อรองรับการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ในอนาคตอีกด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectสมรรถนะth_TH
dc.subjectCompetencyth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical Personnelth_TH
dc.subjectHealth Manpowerth_TH
dc.subjectHealth Workerth_TH
dc.subjectHealth Workforceth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.titleการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลในภาวะที่มีการระบาดของ COVID-19: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลาth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Essential Nursing Competencies for COVID-19 Pandemic: A Case Study of Songkhla Provinceth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThis emancipatory action research with action research aimed to develop essential nursing competencies for COVID-19 and nursing competency development models for primary, secondary, and tertiary health service units through the case study of Songkhla province where strong government management policy existed in collaboration with stakeholders. A total sample of 53 registered nurses (10 from primary, 31 secondary and 12 tertiary health service units) and 6 physicians were recruited. Research instruments consisted of 1) quantitative data collection tools including the questionnaire of essential nursing competencies for emerging infectious disease COVID-19 and the questionnaire of satisfaction on nursing competency development models for COVID-19. 2) Qualitative data collection tools included the behavioral-based interview, the in-depth interview, and the focus group discussion guidelines. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics and qualitative data were analyzed using content analysis. Research results revealed that 1) registered nurses had an overall higher mean score of essential nursing competencies for COVID-19 at each loop of research. Higher mean scores were found on both professional and technical competencies. 2) Nursing competency development model consisted of 3 components including practice guidelines, competency development method, and factors promoting competency development. Practice guidelines consisted of 5 main steps including 1) specification of essential performance competencies; 2) development of monitoring system, support, and empowerment; 3) specification of self-competency development guideline; 4) implementation of the competency development plan; and 5) summarization and report of development result. The competency development method consisted of 6 activities including 1) workshop, 2) on-the-job training, 3) learning from experts, 4) coaching, 5) self-study, and 6) knowledge sharing. Factors promoting competency development included the role of nursing leaders, explicit policy and practice guidelines, and a good attitude towards the profession. Conclusion: research findings could be used as guidelines for the competency development of nursing staff working in primary, secondary and tertiary health service units to have skill and nursing competency for patients with COVID-19 and emerging diseases in the future.th_TH
.custom.citationศิริวรรณ ชูกำเนิด, Siriwan Chukumnird, ศักรินทร์ สุวรรณเวหา, Sakkarin Suwanwaha, ผาณิต หลีเจริญ, Phanit Leecharoen, จารุณี วาระหัส, Jarunee Warahut, อภิสิทธิ์ เชื้อคำเพ็ง, Apisit Chuakompeng, นัยนันต์ เตชะวณิช, Naiyanan Tejavanija, ดารารัตน์ ดำรงกุลชาติ and Dararat Dumrongkullachart. "การพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลในภาวะที่มีการระบาดของ COVID-19: กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5938">http://hdl.handle.net/11228/5938</a>.
.custom.total_download664
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month13
.custom.downloaded_this_year527
.custom.downloaded_fiscal_year48

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v17n ...
ขนาด: 2.071Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย