Show simple item record

Thai’s Health Behaviors and Their Associated Factors among Three Age Groups during COVID-19 Pandemic

dc.contributor.authorคนึงนิจ เยื่อใยth_TH
dc.contributor.authorKhanuengnij Yueayaith_TH
dc.contributor.authorโศภิต นาสืบth_TH
dc.contributor.authorSopit Nasuebth_TH
dc.contributor.authorอรทัย วลีวงศ์th_TH
dc.contributor.authorOrratai Waleewongth_TH
dc.date.accessioned2023-09-29T02:24:08Z
dc.date.available2023-09-29T02:24:08Z
dc.date.issued2566-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,3 (ก.ค. - ก.ย. 2566) : 574-598th_TH
dc.identifier.issn2672-9415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5941
dc.description.abstractภูมิหลังและเหตุผล: มาตรการป้องกันและควบคุมโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชน ทำให้มีภาวะเครียด มีพฤติกรรมในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่มากขึ้น มีกิจกรรมทางกายลดน้อยลงหรือมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อายุเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อด้านสุขภาพตามหลักการของ health belief model การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มวัยต่างๆ ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 และเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการระบาด ระเบียบวิธีศึกษา: การศึกษาภาคตัดขวางจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 7,731 คน ที่เป็นตัวแทนของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จากการสุ่มแบบชั้นภูมิหลายขั้นตอนตามเขตสุขภาพ 13 เขต และตามสัดส่วนของประชากรสามกลุ่มอายุ (กลุ่มวัยรุ่น 15-24 ปี กลุ่มวัยทำงาน 25-59 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป) จำแนกปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพตามกลุ่มช่วงอายุเป็นร้อยละ และวิเคราะห์ความเสี่ยงพฤติกรรมสุขภาพเชิงลบ (พฤติกรรมที่ส่งผลให้สุขภาพแย่ลง) ด้วย ordinal logistic regression ผลการศึกษา: ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ประชากรไทยร้อยละ 33.3 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 18.3 สูบบุหรี่ ร้อยละ 73.5 มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ร้อยละ 6.8 มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ร้อยละ 70 รับประทานผักและผลไม้เพียงบางมื้อต่อวัน ร้อยละ 77.0 ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และร้อยละ 57.7 รับประทานอาหารจานด่วน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการระบาด พบว่า พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนดีขึ้นในภาพรวม 3 พฤติกรรม คือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลง ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลลดลง รับประทานอาหารจานด่วนลดลง ส่วนพฤติกรรมที่แย่ลง 5 พฤติกรรม ได้แก่ การสูบบุหรี่ การมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง การมีกิจกรรมทางกาย การรับประทานผักและการรับประทานผลไม้ โดยกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-24 ปีมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงลบมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มผู้สูงอายุ เมื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงของการมีพฤติกรรมสุขภาพเชิงลบต่างๆ โดยใช้กลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มอ้างอิง พบว่า กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ มีความเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มขึ้น และการมีกิจกรรมทางกายลดลงน้อยกว่ากลุ่มวัยรุ่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารจานด่วนในกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มวัยรุ่น นอกจากนี้ กลุ่มผู้สูงอายุยังมีพฤติกรรมการรับประทานผักและผลไม้ลดลงมากกว่ากลุ่มวัยรุ่นอีกด้วย กลุ่มวัยรุ่นรายงานพฤติกรรมสุขภาพไปในเชิงลบเทียบระหว่างช่วงระบาดและก่อนการระบาดของโควิด-19 คิดเป็นสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ ใน 4 พฤติกรรม ได้แก่ การมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มขึ้น การมีกิจกรรมทางกายลดลง การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเพิ่มขึ้น และการรับประทานอาหารจานด่วนเพิ่มขึ้น สรุปผลการศึกษา: ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพในเชิงลบในกลุ่มวัยรุ่นมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุมีความเสี่ยงของการรับประทานอาหารจานด่วนเพิ่มขึ้นมากกว่าวัยรุ่น รัฐควรมีมาตรการที่เฉพาะเจาะจงต่อกลุ่มวัยรุ่นเพื่อจัดการปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพและโอกาสการสร้างสุขภาพใหม่ ตลอดจนมาตรการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Behaviorth_TH
dc.subjectCOVID-19 (Disease)th_TH
dc.subjectโควิด-19 (โรค)th_TH
dc.subjectCoronavirusesth_TH
dc.subjectไวรัสโคโรนาth_TH
dc.subjectCoronavirus Infectionsth_TH
dc.subjectการติดเชื้อไวรัสโคโรนาth_TH
dc.titleพฤติกรรมสุขภาพกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในสามกลุ่มวัยของประชากรไทย ระหว่างการระบาดของโควิด-19th_TH
dc.title.alternativeThai’s Health Behaviors and Their Associated Factors among Three Age Groups during COVID-19 Pandemicth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground and Rationale: COVID-19 control measures impacted on stress, alcohol, and tobacco consumption, including physical inactivity and sedentary lifestyle among populations. As age is a factor in the health belief model that affected individual beliefs throughout life-course, this study aimed to explore health-related behaviors by age groups during the COVID-19 pandemic, compared to the pre-pandemic. Methodology: A cross-sectional study was done among 7,731 Thai people aged 15 years and older, through multistage sampling of the total 13 health regions and proportionate to population size of selected provinces by three age groups (adolescent: 15-24 years, working age group: 25-59 years, and elderly: 60 years and older). Face-to-face interview captured changes in health-related behaviors (increase, no change, and decrease) then analyzed by ordinal logistic regression. Results: During the COVID-19 pandemic 33.3% of Thai people were current drinker, 18.3% were current smoker, 73.5% had sedentary behavior, 6.8% were physical inactive, more than 70% had vegetable and fruit in some meal/day, 77.0% had sugar drink, and 57.7% ate fast-food. Compared to pre-pandemic, 3 out of 8 behaviors were going in positive direction - alcohol consumption (27.0%), sugar drink (11.1%), and fast-food eating (12.7%) - whereas tobacco consumption, sedentary life, physical activity, and eating vegetable and fruit were going in the opposite direction. Negative directions happened among age group 15-24 years the most, followed by the 60 years and older. Taking the 15-24 years as the reference group, the working age and the elderly had less sedentary and physical inactivity, the working age ate fast-food more frequently and the elderly even more than among adolescent group. Also, elderly group had higher risk of eating less vegetable and fruit compared to adolescent group. The 15-24 years had the most 4 highest negative health behavior changes compared to pre-pandemic including sedentary life, less physical activity, more sugar-drink (p < 0.01), and more fast-food. Conclusion: During the COVID-19 pandemic, the adolescent had most negative health-related behaviors, whereas the working age and the older persons had higher risk of having fast-food than the adolescent. Government should further develop interventions specific to age groups. New interventions should create enabling healthy environments to adolescent and the vulnerable groups during the pandemic.th_TH
.custom.citationคนึงนิจ เยื่อใย, Khanuengnij Yueayai, โศภิต นาสืบ, Sopit Nasueb, อรทัย วลีวงศ์ and Orratai Waleewong. "พฤติกรรมสุขภาพกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในสามกลุ่มวัยของประชากรไทย ระหว่างการระบาดของโควิด-19." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5941">http://hdl.handle.net/11228/5941</a>.
.custom.total_download415
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year335
.custom.downloaded_fiscal_year61

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v17n ...
Size: 1.187Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record