Show simple item record

The Study of Health Service System Pertaining to Medication Use for Non-communicable Chronic Diseases Patients in Practice Level from the Perspectives of Health Care Providers and Clients

dc.contributor.authorอุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์th_TH
dc.contributor.authorUraiwan Chaichanawiroteth_TH
dc.contributor.authorยุวยงค์ จันทรวิจิตรth_TH
dc.contributor.authorYuwayong Juntarawijitth_TH
dc.contributor.authorณิชกานต์ ทรงไทยth_TH
dc.contributor.authorNichakarn Songthaith_TH
dc.date.accessioned2023-10-30T04:52:32Z
dc.date.available2023-10-30T04:52:32Z
dc.date.issued2566-06
dc.identifier.otherhs3031
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5956
dc.description.abstractความร่วมมือในการรักษาด้วยยามีความสำคัญต่อการควบคุมการดำเนินโรคของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การส่งเสริมความร่วมมือในระดับปฏิบัติการเป็นกลไกสำคัญของการรักษาและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วย การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 11 คน และบุคลากรด้านสุขภาพ จำนวน 12 คน แล้วนำผลการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในบุคลากรด้านสุขภาพ จำนวน 76 คน ที่ปฏิบัติงานที่คลินิกโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งและหน่วยบริการปฐมภูมิที่อยู่ในเครือข่าย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยรับรู้เส้นทางการเข้ารับบริการว่ามี 5 ขั้นตอน คือ 1) การลงทะเบียนตรวจเลือด วัดความดันโลหิต 2) การรอรับการตรวจ 3) รับการตรวจรักษา 4) รอรับยา และ 5) รับยา ในขณะที่บุคลากรด้านสุขภาพรับรู้ว่าในระหว่างที่ผู้ป่วยรอรับการตรวจและรอรับยา ผู้ให้บริการมีการประเมินสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนของโรค และการให้ความรู้เพื่อปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย ระบบบริการที่เกี่ยวข้องกับการบริการด้านสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมความร่วมมือด้วยยา นอกจากนี้ บุคลากรด้านสุขภาพมีการปฏิบัติการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยา 3 ด้าน คือ 1) ด้านการประเมินความร่วมมือ 2) ด้านการสื่อสารเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และ 3) ด้านการตัดสินใจทางคลินิกเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ โดยมีปัจจัยเงื่อนไขของการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยา แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ปัจจัยด้านผู้ป่วย ปัจจัยด้านบุคลากรและปัจจัยด้านระบบ การศึกษาการปฏิบัติการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของบุคลากรด้านสุขภาพ พบว่า มีการสื่อสารเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และน้อยที่สุดในด้านการประเมินความร่วมมือ มีการส่งเสริมความร่วมมือ ด้านการสื่อสารเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากทุกมิติ (การรับยา/เติมยา ความเข้าใจเกี่ยวกับยา การบริหารจัดการยา การใช้ยา การติดตามผลของการใช้ยาและการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง) ส่วนการประเมินความร่วมมืออยู่ในระดับปานกลางและการตัดสินใจทางคลินิกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้มิติที่มีการประเมินมากที่สุดคือมิติการใช้ยาและประเมินมิติการบริหารจัดการยาน้อยที่สุด มีการสื่อสารมากที่สุดในมิติการรับยา/เติมยา น้อยที่สุดคือมิติความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยา มีการตัดสินใจทางคลินิกเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยามากที่สุดในมิติความเข้าใจเกี่ยวกับยา และมีการตัดสินใจทางคลินิกเพื่อส่งเสริม การรับยา/เติมยาน้อยที่สุด การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยเงื่อนไขด้านผู้ป่วย ด้านบุคลากรและด้านระบบกับการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยา โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียลและสถิติ สหสัมพันธ์ลำดับที่ของสเปียร์ แมน พบว่า การอบรมที่เกี่ยวข้อง (rpb = .32, p = < .01) ปัจจัยด้านผู้ป่วย ได้แก่ ลักษณะของยาที่ผู้ป่วยได้รับ (rs = .21, p < .05) ศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วย (rs = .21, p < .05) และปัจจัยด้านบุคลากร คือ ความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับโรค ยา และความร่วมมือ (rs = .24, p < .05) มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมความร่วมมือในการรักษาด้วยยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectDrug Utilizationth_TH
dc.subjectยา--การใช้รักษาth_TH
dc.subjectการรักษาด้วยยาth_TH
dc.subjectการใช้ยาอย่างสมเหตุผลth_TH
dc.subjectRational Drug Useth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectโรคไม่ติดต่อth_TH
dc.subjectNon-Communicable Diseasesth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาระบบบริการสุขภาพด้านการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระดับปฏิบัติการในมุมมองของผู้ให้บริการและผู้รับบริการth_TH
dc.title.alternativeThe Study of Health Service System Pertaining to Medication Use for Non-communicable Chronic Diseases Patients in Practice Level from the Perspectives of Health Care Providers and Clientsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.publicationภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง เครือข่ายวิจัยความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเพื่อประเทศไทยใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Medication Adherence Research Network for Rational Drug Use in Thailand)th_TH
dc.description.abstractalternativeMedication adherence is crucial for managing the progression of chronic non communicable diseases among patients. Promoting medication adherence at the operational level serves as a significant mechanism for both treatment and enhancing patients' quality of life. This research employed a mixed method approach, beginning with qualitative data collection through in depth interviews involving 11 patients with chronic non communicable diseases and 12 healthcare personnel. The findings then served as a conceptual framework for the subsequent quantitative research. Quantitative data were collected via questionnaires distributed to 76 healthcare personnel working in the Non communicable chronic disease NCD) clinic of a community hospital and primary service units within the network The research findings indicated that patients perceived journey through the service process as having five steps: 1) registration, blood examination, and blood pressure measurement; 2) waiting for the examination; 3) receiving treatment; 4) waiting for medication; and 5) receiving medication. Conversely, healthcare professionals perceived their role during the examination waiting period and medicine waiting period as involving health assessment services, addressing disease complications, and health education to improve patient self care behaviors The health service systems related to patients with chronic non communicable diseases lacked clear guidelines for promoting medication adherence. Healthcare personnel, however, actively engaged in promoting medication adherence across three areas: 1) assessing medication adherence, 2) communication for effective treatment, and 3) clinical decision making to support adherence Various factors and conditions influencing medication adherence, categorized into three areas: patient factors, personnel factors, and system factors The study of healthcare providers' promotion of medication adherence revealed that they practiced the most in communication for effective treatment, whereas assessing medication adherence received the least attention. Operation through communication for effective treatment was robust across all dimensions Fill Refill, Understand, Organize, Take, Monitor, and Sustain). On the other hand, assessing medication was moderately rated, and overall clinical decision making scores was high. Notably, Take’ was the most assessed dimension, while Organize’ was the least assessed. Communication was highest in the dimension of Fill refill’’, while the Understand dimension received the least attention. Clinical decision making to promote medication adherence was highest in the dimension of Understand’ dimension and lowest in the Fill refill’ dimension The analysis of the relationships between personal factors, patient condition factors, healthcare personnel factors, and system factors with the promotion of medication adherence, utilizing Point biserial correlation statistics and Spearman's rank correlation statistics, indicated several significant relationships. Notably, related training exhibited a significant relationship (rpb = .32, p < .01). Patient factors, including the feature of medications (rs = .21, p < .05) and the patient's self care potential (rs = .24, p < .05), as well as healthcare personnel factors, particularly personnel's understanding of disease, medication, and adherence (rs = .24, p < .05), demonstrated statistically significant relationships with the promotion of medication adherenceth_TH
dc.identifier.callnoQV55 อ858ก 2566
dc.identifier.contactno63-119
dc.subject.keywordNCDsth_TH
dc.subject.keywordRDUth_TH
dc.subject.keywordโรคไม่ติดต่อเรื้อรังth_TH
.custom.citationอุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, Uraiwan Chaichanawirote, ยุวยงค์ จันทรวิจิตร, Yuwayong Juntarawijit, ณิชกานต์ ทรงไทย and Nichakarn Songthai. "การศึกษาระบบบริการสุขภาพด้านการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระดับปฏิบัติการในมุมมองของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5956">http://hdl.handle.net/11228/5956</a>.
.custom.total_download31
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year28
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs3031.pdf
Size: 3.865Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record