• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง

อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี; Achakorn Wongpreedee; ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา; Tatchalerm Sudhipongpracha; กิตติพงษ์ เกิดฤทธิ์; Kittipong Kerdrit;
วันที่: 2566-11
บทคัดย่อ
วรรณกรรมและงานวิจัยเกี่ยวกับการกระจายอำนาจได้ส่งสัญญาณเตือนว่า การกระจายอำนาจที่ไม่ได้พิจารณาบริบทเฉพาะของแต่ละประเทศจะก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ ดังนั้น การออกแบบแนวทางการกระจายอำนาจให้สอดคล้องกับบริบทความจำเป็นของแต่ละประเทศจึงมีความสำคัญต่อการปฏิรูปภาครัฐ ในปี พ.ศ. 2564 รัฐบาลไทยได้ขับเคลื่อนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ครั้งใหญ่ คือ การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 3,263 แห่ง (ร้อยละ 33.21) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จำนวน 49 แห่ง ทั้งนี้ รพ.สต. มีหน้าที่สำคัญในการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 สำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้รับการถ่ายโอน รพ.สต. จำนวน 40 แห่ง จากกระทรวงสาธารณสุขในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (พ.ศ. 2565) การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหาและอุปสรรคขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองภายหลังได้รับการถ่ายโอน รพ.สต. และเพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา รพ.สต. ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง การศึกษานี้ใช้กรอบแนวคิด “หน่วยโครงสร้างของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ (The Six Building Blocks of a Health System)” ขององค์การอนามัยโลก การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มโดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 62 คน การศึกษานี้พบว่า ภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองประสบปัญหากำลังคนขาดแคลน โดยเฉพาะการขาดแคลนแพทย์และทันตแพทย์ ซึ่งการขาดแคลนกำลังคนนี้เป็นปัญหาเรื้อรังของระบบสาธารณสุขในประเทศไทยที่เกิดขึ้นก่อนการถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง นอกจากนี้ ในระยะเริ่มแรกภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. เกิดความสับสนเนื่องจากรัฐบาลไม่ได้จัดสรรเงินอุดหนุนอย่างเพียงพอให้แก่ อบจ. และไม่ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนให้แก่ อบจ. โดยเฉพาะการบริหารยาและเวชภัณฑ์ การจัดการและส่งต่อข้อมูลสุขภาพประชากร และมาตรฐานการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการแก้ไขปัญหาโดยพยายามใช้ทรัพยากรและเครือข่ายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้องค์ประกอบสำคัญของ “ตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง” คือ (1) ยุทธศาสตร์ “ซ่อมคู่สร้าง = ระยองโมเดล” (2) การบริหารกำลังคนที่ขาดแคลน (3) กลไกคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ที่มีประสิทธิภาพ (4) ภาคีเครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่เข้มแข็ง (5) คณะที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ และ (6) การมีแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้สามารถจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิได้อย่างเบ็ดเสร็จ

บทคัดย่อ
Current literature raises caution against the indiscriminate application of decentralization and advocates careful formulation of decentralization measures to prevent the unintended perverse consequences. In 2021, Thailand has embarked on a large-scale decentralization reform that resulted in the transfer of 33.21 % of subdistrict health promoting hospitals (SHPHs) to 49 provincial administrative organizations (PAOs). SHPHs serve the important function of providing primary care services as stipulated in the 2017 Constitution. In Rayong—a province along the eastern coast of Thailand, 40 SHPHs were transferred from the Ministry of Public Health (MOPH) to Rayong PAO in 2022. This research sought to understand the problems and obstacles facing Rayong PAO after it became responsible for 40 SHPHs and their primary care function. The research also attempted to analyze how Rayong PAO has managed to solve these problems and planned for the future challenges of primary care. The World Health Organization’s (WHO) six building blocks of a health system was used to guide our research. Data were collected by interviews and focus group discussions. A total of 62 key informants participated in this study. This research found that after decentralization, SHPHs experienced severe staffing shortages, particularly the shortages of physicians and dentists. However, these staffing shortages were chronic organizational problems that existed in the Thai health system prior to decentralization. Confusion arose immediately after SHPHs were transferred to Rayong PAO, as the Thai government did not provide adequate financial resources and clear guidelines on medicines and medical supplies, population health data management, and primary care service provision. Despite all these shortcomings, Rayong PAO demonstrated a coping capacity that enabled it to use all the available resources and networks to ensure the proper functioning of SHPHs. The salient elements of Rayong PAO that contributed to its coping capacity included: (1) the comprehensive health promotion strategy, (2) effective solution for staffing shortages, (3) clear plan for SHPH development, (4) experienced and skilled advisory team, (5) efficient area-based health committee, and (6) strong relationship with the family medical doctors in the area.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3042.pdf
ขนาด: 7.255Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 3
ปีงบประมาณนี้: 146
ปีพุทธศักราชนี้: 83
รวมทั้งหมด: 403
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2470]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การประเมินศักยภาพของระบบสุขภาพในความพร้อมรับมือการระบาดโรค COVID-19 ในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย 

    อนุสรณ์ อุดปล้อง; Anusorn Udplong; ธวัชชัย อภิเดชกุล; Tawatchai Apidechkul; ฟาติมา ยีหมาด; Fartima Yeemard (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-10)
    การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของบุคลากรและระบบสุขภาพในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ของหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ในพื้นที่อำเภอชายแดนจังหวัดเชียงราย คือ ...
  • การเปรียบเทียบสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติระหว่างคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอนไปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 

    นภชา สิงห์วีรธรรม; Noppcha Singweratham; ตวงรัตน์ โพธะ; Tuangrat Phodha; วิน เตชะเคหะกิจ; Win Techakehakij; ธีระศักดิ์ วงศ์ใหญ่; Dherasak Wongyai; อำพล บุญเพียร; Aumpol Bunpean; พัลลภ เซียวชัยสกุล; Pallop Siewchaisakul (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-12)
    การถ่ายโอนภารกิจด้านการให้บริการปฐมภูมิที่อยู่กับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำให้เกิดความเป็นธรรม ความเสมอภาคและเท่าเทียม ...
  • การพัฒนาแบบจำลองทำนายความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประเทศไทยเพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อระบบหลักประกันสุขภาพและระบบสุขภาพ 

    ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย; Piya Hanvoravongchai; เสกสรร เกียรติสุไพบูลย์; Seksan Kiatsupaibul; วิฐรา พึ่งพาพงศ์; Vitara Pungpapong; อรลักษณ์ พัฒนาประทีป; Oraluck Pattanaprateep; มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์; Montarat Thavorncharoensap; วศิน เลาหวินิจ; Wasin Laohavinij; จิดาภา หาญวรวงศ์ชัย; Jidapa Hanvoravongchai (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-10)
    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบจำลองทำนายความเสี่ยง 2 แบบจำลองหลัก คือ 1.1 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรทั่วไป และ 1.2 แบบจำลองทำนายความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสีย ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1282]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV