dc.contributor.author | อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี | th_TH |
dc.contributor.author | Achakorn Wongpreedee | th_TH |
dc.contributor.author | ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา | th_TH |
dc.contributor.author | Tatchalerm Sudhipongpracha | th_TH |
dc.contributor.author | กิตติพงษ์ เกิดฤทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Kittipong Kerdrit | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-11-27T03:50:52Z | |
dc.date.available | 2023-11-27T03:50:52Z | |
dc.date.issued | 2566-11 | |
dc.identifier.other | hs3042 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5975 | |
dc.description.abstract | วรรณกรรมและงานวิจัยเกี่ยวกับการกระจายอำนาจได้ส่งสัญญาณเตือนว่า การกระจายอำนาจที่ไม่ได้พิจารณาบริบทเฉพาะของแต่ละประเทศจะก่อให้เกิดโทษมากกว่าประโยชน์ ดังนั้น การออกแบบแนวทางการกระจายอำนาจให้สอดคล้องกับบริบทความจำเป็นของแต่ละประเทศจึงมีความสำคัญต่อการปฏิรูปภาครัฐ ในปี พ.ศ. 2564 รัฐบาลไทยได้ขับเคลื่อนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ครั้งใหญ่ คือ การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 3,263 แห่ง (ร้อยละ 33.21) ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จำนวน 49 แห่ง ทั้งนี้ รพ.สต. มีหน้าที่สำคัญในการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 สำหรับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้รับการถ่ายโอน รพ.สต. จำนวน 40 แห่ง จากกระทรวงสาธารณสุขในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (พ.ศ. 2565) การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหาและอุปสรรคขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองภายหลังได้รับการถ่ายโอน รพ.สต. และเพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา รพ.สต. ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง การศึกษานี้ใช้กรอบแนวคิด “หน่วยโครงสร้างของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ (The Six Building Blocks of a Health System)” ขององค์การอนามัยโลก การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มโดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 62 คน การศึกษานี้พบว่า ภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองประสบปัญหากำลังคนขาดแคลน โดยเฉพาะการขาดแคลนแพทย์และทันตแพทย์ ซึ่งการขาดแคลนกำลังคนนี้เป็นปัญหาเรื้อรังของระบบสาธารณสุขในประเทศไทยที่เกิดขึ้นก่อนการถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง นอกจากนี้ ในระยะเริ่มแรกภายหลังการถ่ายโอน รพ.สต. เกิดความสับสนเนื่องจากรัฐบาลไม่ได้จัดสรรเงินอุดหนุนอย่างเพียงพอให้แก่ อบจ. และไม่ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนให้แก่ อบจ. โดยเฉพาะการบริหารยาและเวชภัณฑ์ การจัดการและส่งต่อข้อมูลสุขภาพประชากร และมาตรฐานการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ อย่างไรก็ตาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการแก้ไขปัญหาโดยพยายามใช้ทรัพยากรและเครือข่ายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้องค์ประกอบสำคัญของ “ตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง” คือ (1) ยุทธศาสตร์ “ซ่อมคู่สร้าง = ระยองโมเดล” (2) การบริหารกำลังคนที่ขาดแคลน (3) กลไกคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ที่มีประสิทธิภาพ (4) ภาคีเครือข่ายแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวที่เข้มแข็ง (5) คณะที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ และ (6) การมีแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้สามารถจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิได้อย่างเบ็ดเสร็จ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | Primary Care (Medicine) | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Service System | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | Health--Management | th_TH |
dc.subject | การจัดการด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Policy | th_TH |
dc.subject | นโยบายสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public Health Administration | th_TH |
dc.subject | การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | th_TH |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนจังหวัด | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง | th_TH |
dc.title.alternative | Developing a Model of a Primary Care System for Provincial Administrative Organizations (PAOs): A Case of Rayong Provincial Administrative Organization | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Current literature raises caution against the indiscriminate application of decentralization and advocates careful formulation of decentralization measures to prevent the unintended perverse consequences. In 2021, Thailand has embarked on a large-scale decentralization reform that resulted in the transfer of 33.21 % of subdistrict health promoting hospitals (SHPHs) to 49 provincial administrative organizations (PAOs). SHPHs serve the important function of providing primary care services as stipulated in the 2017 Constitution. In Rayong—a province along the eastern coast of Thailand, 40 SHPHs were transferred from the Ministry of Public Health (MOPH) to Rayong PAO in 2022. This research sought to understand the problems and obstacles facing Rayong PAO after it became responsible for 40 SHPHs and their primary care function. The research also attempted to analyze how Rayong PAO has managed to solve these problems and planned for the future challenges of primary care. The World Health Organization’s (WHO) six building blocks of a health system was used to guide our research. Data were collected by interviews and focus group discussions. A total of 62 key informants participated in this study. This research found that after decentralization, SHPHs experienced severe staffing shortages, particularly the shortages of physicians and dentists. However, these staffing shortages were chronic organizational problems that existed in the Thai health system prior to decentralization. Confusion arose immediately after SHPHs were transferred to Rayong PAO, as the Thai government did not provide adequate financial resources and clear guidelines on medicines and medical supplies, population health data management, and primary care service provision. Despite all these shortcomings, Rayong PAO demonstrated a coping capacity that enabled it to use all the available resources and networks to ensure the proper functioning of SHPHs. The salient elements of Rayong PAO that contributed to its coping capacity included: (1) the comprehensive health promotion strategy, (2) effective solution for staffing shortages, (3) clear plan for SHPH development, (4) experienced and skilled advisory team, (5) efficient area-based health committee, and (6) strong relationship with the family medical doctors in the area. | th_TH |
dc.identifier.callno | W84.6 อ912ก 2566 | |
dc.identifier.contactno | 65-127 | |
dc.subject.keyword | Health Decentralize | th_TH |
dc.subject.keyword | Health Decentralization | th_TH |
dc.subject.keyword | การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject.keyword | พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 | th_TH |
dc.subject.keyword | Provincial Administrative Organizations | th_TH |
dc.subject.keyword | PAOs | th_TH |
dc.subject.keyword | อปท. | th_TH |
dc.subject.keyword | รพ.สต. | th_TH |
dc.subject.keyword | อบจ. | th_TH |
.custom.citation | อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี, Achakorn Wongpreedee, ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, Tatchalerm Sudhipongpracha, กิตติพงษ์ เกิดฤทธิ์ and Kittipong Kerdrit. "การพัฒนาตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5975">http://hdl.handle.net/11228/5975</a>. | |
.custom.total_download | 292 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 16 | |
.custom.downloaded_this_year | 247 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 35 | |